svasdssvasds

นวัตกรรม เก้าอี้กอด OTO ที่ถูกกล่าวถึงในซีรีส์ฮิต Extraordinary Attorney Woo

นวัตกรรม เก้าอี้กอด OTO ที่ถูกกล่าวถึงในซีรีส์ฮิต Extraordinary Attorney Woo

เก้าอี้กอด OTO ถูกกล่าวถึงในซีรีส์เกาหลีฮิต Extraordinary Attorney Woo ที่นอกจากตัวบทและการแสดงจะเป็นที่กล่าวถึง การหาข้อมูลเชิงลึกในเรื่องคนออทิสติกก็มีความใส่ใจในรายละเอียดและเชื่อมโยงกับยุคสมัย ทำให้ผู้เองก็ได้รับความรู้หรือข้อมูลอัปเดตใหม่ๆ ไปค้นหาเพิ่ม

OTO THE HUGGING CHAIR เก้าอี้นวัตกรรมใหม่นี้ออกแบบมาสำหรับคนออทิสติก มีผนังด้านในที่พองเข้า-ออกได้ซึ่งใช้แรงกดทับไปบนร่างกาย ซึ่งแรงนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ที่มีความผิดปกติทางประสาทสัมผัส เพื่อให้พวกเขารู้สึกสงบขึ้น และสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนรู้หรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 

เก้าอี้กอด OTO ที่สร้างขึ้นโดยนักออกแบบชาวฝรั่งเศส Alexia-Audrain

เก้าอี้กอด OTO ได้รับการออกแบบโดยผ่านการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานร่วมกับกลุ่มคนออทิสติกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2021 เริ่มใช้งานในศูนย์ความเป็นเลิศด้านออทิสติกและพัฒนาการทางระบบประสาทในเมืองตูร์ ประเทศฝรั่งเศส

โดยในฉากหนึ่งของซีรีส์เกาหลีที่กำลังฮิตอยู่ในหลายประเทศรวมทั้งได้อย่าง Extraordinary Attorney Woo EP.11 ได้มีการกล่าวถึง เก้าอี้กอด จากฝรั่งเศส ไว้ด้วยเช่นกัน ในช่วงสุดท้ายของ ตอนที่ชื่อว่า "Mr.Salt, Ms. Pepper and Attorney Soy Sauce ทนายอูยองอู กล่าวขอบคุณที่อีจุนโฮ (รับบทโดย คังแทโอ) ช่วยกอดไว้ในช่วงเวลาที่มีความรู้สึกท่วมท้นทางด้านอารมณ์ 

นวัตกรรม เก้าอี้กอด OTO ที่ถูกกล่าวถึงในซีรีส์ฮิต Extraordinary Attorney Woo

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักออกแบบผลงานชิ้นนี้ที่ชื่อ Alexia Audrain จึงคิดค้นด้วยการอ้างอิงจากหลักการใช้แรงกอดรัดทาง หรือ การบำบัดด้วยการให้สัมผัสแบบลึกและแนบแน่น (deep pressure stimulation)ที่จะช่วยคนออทิสติกทำให้คลายกังวล ลดความตึงเครียด รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว และทำให้จิตใจสงบลงได้ โดยผ่านกระบวนการคิดร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานกับกลุ่มคนออทิสติกและนักจิตวิทยาเพื่อให้เข้าใจชีวิตประจำวันและความต้องการของคนออทิสติกได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 

แรงบันดาลใจในการออกแบบผลงานเก้าอี้กอด OTO THE HUGGING CHAIR เกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่ เรียนดีไซน์เนอร์ และได้พบกับนักการศึกษาที่ทำงานกับกลุ่มคนออทิสติกที่มีความต้องการเฉพาะคนออทิสติกหลายคนมีความผิดปกติทางประสาทสัมผัส การสัมผัสทางเสียง แสง หรือการสัมผัสทางกายภาพ จึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะใช้ชีวิตประจำวันในที่สาธารณะที่มีสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่สามารถกระตุ้นความอ่อนไหวและไม่สบายใจในการรับสัมผัสต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งอาจมีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม  

การทำงานของเก้าอี้
ภายในเก้าอี้จะมีผนังด้านในที่สามารถพองตัวและสร้างแรงกดทับที่ขาและหน้าอกของผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกระดับการตอบสนองที่เหมาะสมกับตัวเองได้ การใช้งานง่ายๆ ผ่านรีโมตคอนโทรล

รูปทรงและการออกแบบ

  • ทำจากไม้บีช สักหลาดขนสัตว์และเรซินที่อ่อนนุ่ม เลือกสีที่ผ่อนคลาย เบาะสามารถรูดซิปได้ และผ้ากำมะหยี่สามารถถอดซักได้สะดวก 
  • รูปทรงเป็นลักษณะเป็นรังไหมทำให้ผู้ใช้งานมีความเป็นส่วนตัว มั่นใจและรู้สึกปลอดภัย ตัวเบาะจะช่วยกันเสียงจากโลกภายนอกทำให้ผู้ใช้มีสมาธิกับตัวเองมากขึ้น

รางวัลที่ได้รับ

  • ตุลาคมปี 2020 คว้ารางวัล "canopée"
  • ธันวาคมปี 2020 รางวัลนวัตกรรมสุขภาพเด็ก จากมูลนิธิ "St Pierre"
  • ในปี 2021 ได้รับรางวัลชนะเลิศจาก James Dyson award (และเข้ารอบสุดท้ายเป็นหนึ่งใน 20 นวัตกรรมระดับนานาชาติ)

ขณะนี้ยังไม่มีวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการโมเดลรุ่นแรกสำหรับ เก้าอี้กอด OTO มีใช้ในโรงพยาบาลของเมืองตูร์เท่านั้น โดยเริ่มต้นใช้งานจริงตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2564ในแผนกจิตเวชเด็ก โดยผ่านการปรับปรุงจากประสบการณ์การใช้งานที่เป็นเสียงสะท้อนกลับมาให้ต้องใส่ใจในเรื่องของเสียงและสีของเฟอร์นิเจอร์ให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการและใช้งานได้ในระยะยาว หลังจากที่มีการใช้งานได้รับฟีดแบ็กนำมาปรับปรุงต่อ(เสียง, รีโมทสำหรับผู้ใช้งาน,เนื้อผ้า) โดยร่วมมือกับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเพื่อปรับดีไซน์ให้ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับผู้ใช้มากขึ้น ทั้งนี้วางแผนเริ่มจัดจำหน่ายให้คนทั่วไปในเดือนกันยายนนี้ 

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ที่สนใจที่มีคนใกล้ชิดอยู่ในกลุ่มคนออทิสติกมาครอบครองไม่ได้ แต่การกอดก็สามารถแบ่งปันให้คนรอบตัวที่เรารักได้ทุกวัน และเป็นการแสดงออกที่เรียบง่ายแต่มีคุณค่าต่อจิตใจและร่างกาย

จากข้อมูลเพจ ตามใจนักจิตวิทยา เผยว่ามีงานวิจัยระบุว่า การกอด ทางประสาทวิทยาค้นพบหลักฐานมากมายว่า “การกอด” สามารถช่วยให้มนุษย์เติบโตและได้รับการเยียวยาโดยประโยชน์ของการกอด ประกอบด้วย 

  • การกอดช่วยเพิ่มความสุข ลดความเครียดและความวิตกกังวล
  • การกอดช่วยสร้างสายสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดูส่งผลให้เด็กมีความมั่นคงทางอารมณ์
  • การกอดช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นในเด็กคลอดก่อนกำหนดและเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง
  • การกอดช่วยเยียวยาจิตใจ และบรรเทาความเจ็บปวดของร่างกาย
  • การกอดช่วยเติมเต็มคุณค่าให้กันและกัน
  • การกอดสิ่งที่เรารักหรือการกอดตัวเองสามารถส่งผลในรูปแบบเดียวกันกับการกอดใครสักคน

โดยระบุเพิ่มเติมว่าการกอดด้วยท่า Butterfly Hug (แขนทั้งสองข้างไขว้กัน มือขวาวางบนบ่าซ้าย มือซ้ายวางบนบ่าขวา)ตามระยะเวลาที่ต้องการ ประมาณ 3-4 นาทีต่อครั้ง ควรทำทุกวันต่อเนื่อง จะช่วยให้รู้สึกดี และสร้างจิตใจให้แข็งแกร่งได้

การกอดระหว่างแม่และลูก ภาพประกอบจาก freepik

ทั้งนี้ยังกล่าวเสริมว่าไม่มีงานวิจัยใด ระบุว่า การกอดที่มากเกินไปจะส่งผลทางลบ มีแต่งานวิจัยที่ส่งเสริมให้ครอบครัว คู่รัก และเราทุกคนควรกอดกันบ่อยมากขึ้น