svasdssvasds

ปลานกแก้ว สีสันที่มาพร้อมกับประโยชน์เพื่อท้องทะเล-ปะการัง

ปลานกแก้ว สีสันที่มาพร้อมกับประโยชน์เพื่อท้องทะเล-ปะการัง

ปลานกแก้ว ตัวชี้วัดสุขภาพของแนวปะการัง รักษาสมดุลระบบนิเทศทางทะเล กินสาหร่าย เพิ่มพื้นที่ปะการังให้เติบโต ขับถ่ายเป็นทรายให้แก่ชายฝั่ง

จากกรณี ฝรั่งจับปลานกแก้ว ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวบริเวณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี และได้ที่แชร์คลิปลงใน TikTok จนทำให้คนไทยหลายคนแสดงความไม่พอใจที่บุคคลดังกล่าว ในมือมีพวงปลานกแก้วที่จับมาได้จำนวนหนึ่งถืออยู่ โดยในแคปชั่นได้อธิบายวิธีการจับไว้ว่า ต้องดำน้ำ 30 เมตรเพื่อจับตัวนี้ ใช้วิธีการจับปลา แบบสเปียร์ฟิชชิ่ง (spearfishing) ซึ่งเป็นวิธีการตกปลา ที่ใช้ปืนลูกซองและสลิงแบบยืดหยุ่นหรือปืนสเปียร์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊สอัดเพื่อโจมตีปลา

เนื่องจากเคยได้มีการรณรงค์มาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเรื่องการขอความร่วมมือไม่ให้รับประทาน จับ หรือจำหน่าย ปลานกแก้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเทศทางทะเล ช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์แก่ปะการังใต้น้ำ  

โดยความคืบหน้าล่าสุด อธิบดี อส. สั่งตรวจสอบคลิปต่างชาติล่าปลานกแก้ว พบว่าอยู่ในเขตอุทยานฯ ทำการรวบรวมหลักฐานเพื่อเร่งดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำนักอุทยานแห่งชาติ - National Parks of Thailand เคยได้โพตส์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปลานกแก้ว ไว้เมื่อปี 2019 ดังนี้ 
ปลานกแก้ว (Parrotfish) เป็นปลาทะเลขนาดกลางชนิดหนึ่ง มีเกล็ดขนาดใหญ่ จะงอยมีปากยืดหดได้ ปากคล้ายนกแก้ว (เป็นที่มาของชื่อปลานกแก้ว) เนื่องจากปลานกแก้วมีรูปร่าง ลักษณะและสีสันสวยงาม จึงมีผู้นิยมจับมาดูเล่นและนำมาเป็นอาหาร ทำให้ประชากรปลานกแก้วลดลง ส่งผลกระทบระบบนิเวศโดยรวมของทะเลบริเวณนั้นก็จะเสียสมดุลไปอย่างมาก ปะการังตายมากขึ้น ฟื้นตัวช้า และเมื่อเกิดการฟอกสีเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ก็จะฟื้นตัวยากหรือตายไปอย่างถาวร  

สำนักอุทยานแห่งชาติ ขอรณรงค์ทุกท่านร่วมกัน ไม่สนับสนุน ไม่ซื้อ ไม่รับประทานปลานกแก้ว หากพบเห็นการจับปลานกแก้วในเขตอุทยานแห่งชาติให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมายกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีประกาศ ฉบับลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทำอันตรายกับสัตว์ต่างๆ ทุกชนิดในอุทยานแห่งชาติ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

มาตรา 16(3) นำสัตว์ออกไปหรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ ประกอบกับ
มาตรา 21 ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 16 ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ หรือ งดเว้นการกระทำใดๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 24

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16(3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วน 10 ข้อควรปฏิบัติเมื่อไปเที่ยวทะเล ที่ต้องรู้ มีดังนี้ 

  1. ลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เช่น หลอดและโฟม
  2. ไม่ทิ้งขยะลงในทะเล แม้แต่ชิ้นเดียว
  3. ใช้ครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการัง
  4. ไม่เหยียบ นั่งหรือยืนบนปะการัง
  5. ไม่ใช่ fin ในเขตปะการังน้ำตื้น
  6. ไม่ให้อาหารหรือจับสิ่งมีชีวิตในทะเลขึ้นมาเอง
  7. ไม่รับประทานสัตว์ทะเลหายาก เช่น หูฉลาม เนื้อฉลาม ครีบปลากระเบน ปลานกแก้ว
  8. ไม่สะสมปะการังหรือสิ่งมีชีวิตในทะเลมาเป็นของที่ระลึก
  9. ถ้าเห็นขยะ ก็ช่วยกันเก็บคนละไม้คนละมือ
  10. ให้ปฏิบัติตามคำเตือนและข้อปฏิบัติของพื้นที่นั้นๆอย่างเคร่งครัด

ที่มา
Sunshine Sketcher Thon Thamrongnawasawat

related