svasdssvasds

กรมปศุสัตว์ ยันผู้บริโภคปลอดภัย โรค PRRS เกิดเฉพาะในหมู

กรมปศุสัตว์ ยันผู้บริโภคปลอดภัย โรค PRRS เกิดเฉพาะในหมู

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยืนยัน PRRS เกิดเฉพาะในหมู ไม่ติดต่อคน ย้ำผู้บริโภคทานหมูได้อย่างปลอดภัย เน้นเลือกซื้อจากแหล่งมาตรฐาน สังเกต "ปศุสัตว์ OK"

กรมปศุสัตว์ ยันผู้บริโภคปลอดภัย โรค PRRS เกิดเฉพาะในหมู

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงกรณีที่มีการระบาดของโรค PRRS ซึ่งเป็นโรคหรือกลุ่มอาการในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจเฉพาะในสุกรว่า ที่ผ่านมาได้สั่งการให้หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ โดยปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ และชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ ในทุกพื้นที่ของไทย ติดตามสถานการณ์โรคในสัตว์อย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการสุ่มตรวจตามพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะตามแนวชายแดนทั่วประเทศ ขณะเดียวกันเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ต่างตื่นตัวในการดูแลสุขภาพสัตว์และการป้องกันโรคสัตว์มาโดยตลอด เมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในฟาร์มเลี้ยง จึงเร่งประสานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ทำให้การป้องกันโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคได้เป็นอย่างดี

กรมปศุสัตว์ ยันผู้บริโภคปลอดภัย โรค PRRS เกิดเฉพาะในหมู

 

 

“ขอยืนยันว่าโรค PRRS เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในหมู ไม่สามารถแพร่สู่คนได้ และกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่ที่ตรวจพบ ที่สำคัญผู้บริโภคสามารถรับประทานเนื้อหมูได้อย่างปลอดภัย เน้นการเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" ที่กรมปศุสัตว์มอบให้กับจุดจำหน่ายสินค้าปศุสัตว์กว่า 7,000 แห่ง ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา ตั้งแต่ต้นทางที่ฟาร์มเลี้ยงจนถึงมือผู้บริโภค สำคัญที่สุดคือการปรุงสุกทุกครั้ง ไม่ทานดิบ หรือสุกๆดิบๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดี ลดความเสี่ยงทั้งเรื่องอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง หรือไข้หูดับ" อธิบดี กรมปศุสัตว์ กล่าว

กรมปศุสัตว์ ยันผู้บริโภคปลอดภัย โรค PRRS เกิดเฉพาะในหมู

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 กำหนดไว้ว่า หากกรณีที่เกิดโรคระบาดในสัตว์ จะต้องให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เร่งแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์แต่ละจังหวัด เพื่อให้เข้าไปตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับโรคระบาด โดยกรมปศุสัตว์จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและส่งตัวอย่างซากสัตว์มาทำการชันสูตรโรคสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ ในห้องปฏิบัติการ 8 แห่งทั่วประเทศ ว่าโรคที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน ในการสรุปผลตรวจ สำหรับผู้ที่พบปัญหาด้านโรคสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ สามารถติดต่อกับกรมปศุสัตว์ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านแอพลิเคชัน "DLD 4.0" เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างทันท่วงที

related