svasdssvasds

"รสนิยมทางเพศ ก็เหมือนเลือกกินอาหาร" เจ-ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร

"รสนิยมทางเพศ ก็เหมือนเลือกกินอาหาร" เจ-ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

  "ผมไม่ค่อยเห็นด้วยที่เราต้องเอาฉลากอะไรก็ตามมาติดแปะหน้าผากว่า  เราเป็นอะไร เรามีสิทธิ์ที่จะชอบอะไรก็ตาม เหมือนที่เราชอบกินอาหารไทย อาหารจีนอะไรก็ตาม"

'สปริงนิวส์' พูดคุยกับ  เจ-ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร ผู้เข้าประกวด Mr. Gay World Thailand 2019 ถึงนิยามเรื่อง 'เพศ' ความหลากหลาย และการเหยียดเชิงโครงสร้างในสังคมไทย

สปริงนิวส์ : เคยมีคนถามไหมว่า คุณคือเพศอะไร?

ปรเมศวร์ : สำหรับเจแล้ว ก็คงนิยามตัวเองว่า เป็นชายรักชาย เอาง่ายๆ นะครับ เราเรียกว่า เกย์แล้วกัน แต่ในใจไม่ได้อยากให้ใครมานิยาม อยากให้มองว่า เจเป็นเจ มีสิทธิ์ที่จะชอบอะไรก็ตาม เหมือนที่เราชอบกินพิซซ่า  เราชอบกินอาหารไทย อาหารจีน อะไรก็ตาม มันเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราชอบเพศหรือชอบคนคนหนึ่งแค่นั้นเอง

ไม่ค่อยเห็นด้วยที่เราต้องเอาฉลากอะไรก็ตามมาติดแปะหน้าผากว่า เราเป็นอะไร

มันเท่ากับเป็นการยัดเยียดตัวตนๆ หนึ่ง ให้กับคนคนหนึ่งทั้งที่ตัวตนของคนเรามันมีความหลากหลาย มันมีหลายมิติมากๆ

"รสนิยมทางเพศ ก็เหมือนเลือกกินอาหาร" เจ-ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร

สปริงนิวส์ : สังคมไทย ยอมรับกลุ่มหลากหลายทางเพศขนาดไหน?

ปรเมศวร์ : ถ้าสมมุติตามหลักวิชาการนะครับ มันคือการเหยียดเชิงโครงสร้าง เพราะมันจะมีคำพูดเสมอว่า ลูกเป็นอะไรก็ตามขอให้ลูกเป็นคนดีก็พอ คราวนี้ขอแค่เป็นคนดีก็พอ มีความหมายโดยนัยอย่างหนึ่งอยู่แล้วว่าเขาไม่ได้ยอมรับในตัวตนของเรา เขายอมรับเราก็ต่อเมื่อเราทำความดี เขายอมรับเรา ก็ต่อเมื่อเราทำสิ่งหนึ่งที่สอดคล้องกับสังคม

สุดท้ายแล้วการที่เราเป็นเกย์ หรือเป็น Transgender อะไรก็ตาม เขาไม่ได้ยอมรับตัวตนของเราตรงนั้น ทั้งๆ ที่คุณธรรม จริยธรรมมันอยู่ในตัวคนคนหนึ่ง และมันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอยู่แล้ว

ก็อยากจะรู้ว่า ทำไมต้องมาเอาคำว่า คุณธรรม จริยธรรม มากดทับเราด้วยอะครับ

"รสนิยมทางเพศ ก็เหมือนเลือกกินอาหาร" เจ-ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร

สปริงนิวส์ : แต่ก็เหมือนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น กำลังจะมีกฎหมาย?

ปรเมศวร์ : ประเทศไทยพยายามสร้างภาพลักษณ์เป็นประเทศที่มีการเปิดเผยเรื่องนี้มากขึ้น ด้วยสิ่งที่เรียกว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต รวมถึงกฎหมายเรื่องความทัดเทียมทางเพศ เรื่องกฎหมายนะครับมันทำง่าย แต่เชิงวัฒนธรรมมันทำยาก เพราะด้วยความเป็นไทย เพราะด้วยสังคมไทยเนื้อแท้มันแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แปลก เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น

เขายังมองว่าโลกแค่ว่า เพศที่ถูกต้องมีแค่ชายและหญิงเท่านั้น  

สังเกตดูนะครับ กลุ่มที่เรียกว่า กะเทย หรือชายที่แต่งหญิง ได้รับการยอมรับมากกว่าคนที่เป็นเกย์ มากกว่าคนที่เป็นเลสเบียน เพราะว่าคนที่เป็นกะเทย เขาเอาตัวเองไปอยู่ในกล่องของผู้หญิง ซึ่งมันเป็นกล่องที่ค่อนข้าง Absolute ว่าคนนี้เป็นผู้หญิงแล้วนะ ดังนั้น สังคมไทยเราบอก โอเค คุณเป็นผู้หญิง

ขณะที่พวกเรา ชายรักชาย  การรักผู้ชายมันควรจะเกิดขึ้นกับผู้หญิง เจ อยู่ระหว่างตรงนี้ กลายเป็นว่าพวกเราไม่มีที่ยืนในสังคม ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นคนที่แปลก

"รสนิยมทางเพศ ก็เหมือนเลือกกินอาหาร" เจ-ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร

สปริงนิวส์ : คิดว่าเมื่อไหร่ กลุ่มหลากหลายทางเพศ จะไม่แปลกแยก จะเท่าเทียม?

ปรเมศวร์ : ยังอีกนานครับ เพราะว่าเราไม่สามารถจะลบล้างความอคติในใจเราได้ การที่จะแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ให้เราสามารถเดินกันจับมือแบบธรรมดาเลยนะ โดยไม่ต้องมีใครมาตัดสินว่า คุณเป็นตุ๊ด คุณเป็นเกย์อะไรก็ตาม หรือว่าไม่มีใครมาด่าว่า “สายเหลือง” ไม่มีใครมาด่าว่า “เปลี่ยนทอม ให้เป็นเธอ” ไม่มีใครมาพูดว่า ขอให้เป็นคนดีก็พอ

วิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้คือ การศึกษา ต้องสอนให้เขารู้ว่า ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนคืออะไร สิทธิมนุษยชนที่เจเชื่อมีแค่บริบทเดียวคือ ก็คือความเป็นมนุษย์

ตราบใดที่เราสามารถแยกเรื่องเพศออกจากเรื่องอะไรก็ตามตรงนี้ได้อะครับ นั่นแหละครับคุณจะเข้าใจ คนรอบข้างของคุณได้ง่ายขึ้นว่าเขาเป็นแบบนี้และเราจะสามารถเคารพคนคนหนึ่งได้  ด้วยเนื้อแท้ของเขา ด้วยที่ว่าเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เป็นเพื่อนเราแค่นั้นเองครับ

"รสนิยมทางเพศ ก็เหมือนเลือกกินอาหาร" เจ-ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร

related