svasdssvasds

เปิดลิสต์ 5 ภาพยนตร์ LGBTQ หนังดี สนุก บันเทิงจัดเต็ม ฉลองวาระ Pride Month

เปิดลิสต์ 5 ภาพยนตร์ LGBTQ  หนังดี สนุก บันเทิงจัดเต็ม ฉลองวาระ Pride Month

แม้ Pride Month กำลังจะสิ้นสุดลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเดือนแห่งความภูมิใจนี้จะจบลงตรงนี้ เพราะการเคารพสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และการชมหนัง LGBTQ ที่ดี น่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ในการร่วมบอกสาส์นว่า ทุกคนเท่าเทียมกัน

Brokeback Mountain : หุบเขาเร้นรัก 
Brokeback Mountain นับเป็นภาพยนตร์ที่เป็นหมุดหมายสำคัญในการพูดถึงประเด็น LGBTQ ในยุค 2000s โดยเป็นผลงานการกำกับของอั้งลี่ ผู้กำกับมากฝีมือจากไต้หวัน และอั้งลี่เองก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ปีนั้นไปครอง
    เรื่องราวใน Brokeback Mountain เป็นความรักที่เล่าย้อนไปในยุค 1963 และได้แสดงระดับ  A-List ฮอลิวู้ด อย่าง ฮีธ เลดเจอร์ และ เจค จิลเลนฮาล ซึ่ง ณ เวลานั้นทั้งคู่กำลังเป็นดาวรุ่งอย่างมากในวงการบันเทิงระดับโลก โดยทั้งคู่มาแสดงเป็นคาวบอยที่ต้องดูแลฝูงแกะ ท่ามกลางความเหงา ความโดดเดี่ยวแห่งหุบเขาชนบท และความสัมพันธ์ของทั้งคู่ ก็เกินเลยไปมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะทั้งคู่รู้ดีว่าเรื่องระหว่างทั้งสองอาจเป็นไปได้ยาก ในเมื่อสังคมยุคนั้นยังไม่เปิดรับ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือเป็นตัวแทน แห่งการพูดถึงความรัก ของ LGBTQ ที่ผู้คนในโลกปัจจุบันยอมรับ โดย The New York Times และ The Wall Street Journal ยกให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดแห่งปี 2005

Brokeback Mountain Brokeback Mountain

The Imitation Game  : ถอดรหัสลับอัจฉริยะพลิกโลก
 

The Imitation Game ออกฉายเมื่อปี 2014 นำแสดงโดย เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบทช์ นักแสดงหัวแถวเกาะอังกฤษ ซึ่งมารับบทเป็น "อลัน ทัวริ่ง"  ซึ่งเป็น นักคิด นักคณิตศาสตร์ และนักตรรกศาสตร์ไฟแรงจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อังกฤษ สร้างชื่อเสียงโด่งดังจากการสร้างทฤษฎีรองรับการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์  หรือเรียกง่ายว่า ทัวร์ริ่งคือบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ 

นอกจากนี้ อลัน ทัวริ่ง ยังเป็นคนถอดรหัสอีนิกมา( ENIGMA) จนนำมาสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีเหนือเยอรมนี ในสงครามโลก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงชีวิตของ อลัน ทัวริ่ง เต็มไปด้วยความเศร้าร้าวลึกจากการที่เขาเป็น  LGBTQ ในยุคนั้น เพราะยังไม่มีใครยอมรับ ทั้งที่ ทัวริ่งช่วยชีวิตคนนับล้าน แต่กลายเป็นอาชญากรเพราะรักผู้ชายซึ่งเป็นเพศเดียวกับเขา 
    ในยุคนั้น ทัวริ่ง ผิดกฎหมายอาญาอังกฤษ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และอาจต้องทำงานหนักด้วย ทัวริ่งถูกโน้มน้าวให้ยอมรับผิด โดยมีทางออกสำหรับเขา คือ รับโทษจำคุก กับรอลงอาญาแต่ต้องรับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อลดความต้องการทางเพศ   ทิวริงรับเงื่อนไขอย่างหลัง การฉีดฮอร์โมนเพศหญิงทำให้เขาหมดความต้องการทางเพศ สภาพร่างกายมีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น และยังหมดเรี่ยวแรงได้ง่าย
  

จนกระทั่งในปี 2009 เมื่อโลกไม่ได้มองความหลากหลายทางเพศเป็นความเลวร้ายอีกต่อไป จึงมีการณรงค์ให้รัฐบาลอังกฤษขอโทษที่ทำร้ายทัวริง

โดย กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้น ต้องมีแถลงการณ์ขอโทษและยอมรับว่ารัฐบาลปฏิบัติต่อทัวริงอย่างเลวร้าย 
แม้ใบหน้าของทัวริ่งจะปรากฎอยู่บนธนบัตรใบละ 50 ปอนด์ โดยเพิ่งเริ่มใช้ในเดือนมิถุนายน 2021 แต่ดูเหมือนว่า คำขอโทษจะมาสายเกินไป.

The Imitation Game The Imitation Game

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

J. Edgar : จอมอหังการ์เอฟบีไอ
ภาพยนตร์ เรื่อง J. Edgar เป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติของบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ และเป็น LGBTQ ในยุคเกือบๆ 100 ปีที่แล้ว 
    โดย เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ซึ่งนำแสดงโดยลีโอนาโด้ ดิคาปริโอ ผู้เป็นตำนานหัวหน้าหน่วย FBI คนแรกและนานที่สุด ตั้งแต่ปี 1942 - 1974 จนถึงขนาดมีตึกสำนักงานที่ชื่อ J. Edgar Hoover Building ตั้งอยู่ที่ Washington เลยทีเดียว และ เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ก็กุมความลับ กุมอำนาจต่อรองกับอดีตประธานาธิบดีสหรัฐถึง 8 คน เขาคือผู้ทรงอิทธิพลในการเมืองสหรัฐ  ทำงานที่สุ่มเสี่ยงต่อความเป็นความตาย ผลประโยชน์มหาศาล ชีวิตการทำงานย่อมน่าสนใจสุดๆ 

ด้านชีวิตจริงของเอ็ดการ์ ฮูเบอร์ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะข่าวลือหนาหูเรื่องสถานะทางเพศเป็นชายรักชาย กับ ไคล์ โทลสัน ซึ่งทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับเขาในการทำงานหน่วย FBI และเป็นความสัมพันธ์ที่โลกยังไม่ยอมรับ เรื่องนี้เป็นผลผลิตมาจาก ผู้กำกับระดับตำนานอย่าง คลินท์ อีสต์วู้ด 

J. Edgar  

J. Edgar : จอมอหังการ์เอฟบีไอ

Milk : ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก

ภาพยนตร์ Milk ส่งให้ ฌอน เพนน์ คว้ารางวัลออสการ์นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมปี 2008  แม้ชีวิตจริงของเขาจะไม่ใช่เกย์ก็ตาม แต่การรับบทเป็น ฮาร์วี่ย์ มิลค์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิของ LGBTQ ก็ทำได้อย่างถึงแก่นแห่งการเรียกร้องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกเพศ

ในชีวิตจริง Milk ฮาร์วี่ย์ มิลค์  ต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศซึ่ง มิลค์ ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของอเมริกา
ฮาร์วี่ย์ มิลค์ คือเกย์เปิดเผยคนแรกที่มีสิทธิ์มีเสียงในองค์กรทางเมืองของสหรัฐอเมริกา  

เป็นต้นกล้าสำคัญในการต่อสู้จนนำมาสู่การยอมรับ และการกล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้นในปัจจุบันที่กระจายไปทั่วโลก จนนิตยสารไทม์ยกย่องให้ฮาร์วี่ย์ มิลค์ เป็นหนึ่งในร้อยบุคคลสำคัญของโลกแห่งศตวรรษ แต่หลังจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาระยะหนึ่ง ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ได้มีเรื่องบาดหมางกับ แดน ไวท์ คู่แข่งทางการเมืองที่เกลียดเกย์ 

ทำให้ ฮาร์วี่ย์ มิลค์ จบชีวิตอย่างน่าเศร้า ถูกแดน ไวท์ ยิงในระยะเผาขน พร้อมกับนายกเทศมนตรีซาน ฟรานซิสโก ในปี 1978

Milk  Milk : ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก

Happy Together :โลกนี้รักใครไม่ได้นอกจากเขา

ภาพยนตร์ Happy Together นี่คือหลักชัยของหนังเอเชียที่พูดถึงความรักของ LGBTQ ในปี 1997 จากผลงานผู้กำกับที่แฟนภาพยนตร์เฝ้ารอติดตามมากที่สุด นั่นคือ หว่อง กาไว เจ้าพ่อหนังอินดี้ซึ่งเต็มไปด้วยความเปลี่ยวเหงา อ้างว้างเดียวดาย และการตีความทางอารมณ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ นำแสดงโดยนักแสดงชั้นนำเอเชีย อย่าง เหลียง เฉาเหว่ย และ เลสลี่ จาง ซึ่งทั้งคู่ต้องเป็นคู่รักเพศเดียวกัน 

หว่องกาไว เล่าเรื่องในภาพยนต์นี้ ไปในแนว Hopeless Romantic โดยหนังเรื่องนี้เล่าเรื่อง คู่รักชายหนุ่มที่ตัดสินใจออกเดินทางสู่ประเทศอาร์เจนติน่า เพื่อยืนชมความงดงามของน้ำตกอีกวาซูด้วยกัน

แต่ระหว่างทาง ความสัมพันธ์ของทั้งคู่กลับแย่ลงเรื่อยๆ จากรัก กลายเป็นชัง ห่างเหิน หมางเมิน...คิดถึง และกลับมาพบกัน เป็นวังวนไม่รู้จบแบบนี้ 

แต่ ลึกๆ ในใจของแต่ละฝ่ายต่างรู้ดีว่า ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นความรักที่มีแต่พวกเขาเท่านั้นที่เข้าใจ ในความสัมพันธ์แบบ LGBTQ 

ภาพยนตร์ที่เลือกมานั้น สะท้อนแง่มุมชีวิตที่หลากหลาย ทั้งสนุกสนาน เข้มข้น เจ็บปวด และสวยงาม ที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจความรู้สึกและชีวิตของ LGBTQ มากยิ่งขึ้น 

เพื่อให้ ทุกคนระลึก และยึดมั่นในจิตใจว่ามนุษย์ทุกคน ทุกเพศ ต่างมีคุณค่าและความงดงามอยู่ในตัวเสมอ..

Happy Together  Happy Together :โลกนี้รักใครไม่ได้นอกจากเขา

related