svasdssvasds

ม้วนเดียวจบ! ย้อนที่มาคำสั่งนายกฯ เบรคจัดซื้อชุดตรวจโควิด ATK จาก อภ. ฟ้าผ่า

สรุปให้แบบม้วนเดียวจบ หลังล่าสุดคำสั่งฟ้าผ่าของนายกฯ เสมือนการกระแทกเบรก จัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้นของอภ. เพราะยี่ห้อ LEPU ที่บริษัท ออสท์แลนด์ ผู้ชนะการประมูลเตรียมนำเข้ามานั้นไม่ผ่านการรับรองจากWHO ตามเกณฑ์ ยิ่งทำให้สังคมกังขาน่าสงสัย ใครยังงง เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

       ท่ามกลางความกังวล  เรื่องคุณภาพ ของ Antigen test kit (ATK) ยี่ห้อ LEPU จากจีน ที่ไม่ผ่านการรับรองจากWHO แต่องค์การเภสัชกรรม หรือ (อภ.) ยังยืนยันเดินหน้าจัดซื้อต่อ ท่ามกลางกระแสค้านจากสังคมเพื่อแจกให้ประชาชนฟรี ฟังดูเหมือนดี แต่ยิ่งขุด ยิ่งเหมือนมีเบื้องลึกบางอย่าง! แถมกลายเป็นประเด็นขัดแย้งหน่วยงานรัฐอย่าง อภ. และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จนเป็นที่มาของ มติครม.ของนายกฯ แตะเบรก การจัดซื้อฟ้าผ่า! เนื่องจากสเปคของอภ.ไม่ผ่านเกณฑ์คำสั่งของนายกฯ สรุปแล้วการจัดซื้อครั้งนี้ใช้เกณฑ์อันไหนกันแน่ แล้วคนไทยจะได้ของดีใช้เมื่อไหร่ ดูเหมือนเรื่องนี้จะมีกลิ่นตุๆ หน้าที่เราต้องปกป้องสิทธิ์ตัวเอง หากใครยังงง เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

ที่มาของเรื่องนี้

  • 19 ก.ค. 64 สปสช. มีมติให้ รพ.ราชวิถีและ องค์การเภสัชกรรม จัดหา ชุดตรวจโควิด ATK 8.5 ล้านชิ้น มาแจกประชาชน โดยเกณฑ์กำหนดเบื้องต้น คือ ต้องเป็น ATK ที่ผ่านการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งมอบทันตามกำหนด  และราคาในเกณฑ์รับได้ (ไม่เกิน 120 บาท)
     
  • ซึ่งมี 2 ยี่ห้อ ที่สปสช.แนะนำ เพราะตรวจสอบพบว่า WHO รับรองแล้ว คือ  STANDARD Q ราคา 120 บาท และ Panbio ราคา 140 บาท พร้อมให้จัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงเร่งด่วนได้
     
  • 11 ส.ค. 64  องค์การเภสัชกรรม ได้ประกาศถึงการจัดซื้อ ผลจากการเปิดประมูล 16 บริษัทที่ผ่านเกณฑ์ ผู้ชนะคือ บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เตรียมนำเข้า ATK ยี่ห้อ LEPU จากจีน ในราคา 70 บาทต่อชิ้น ซึ่งถูกที่สุด แต่ยังไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก โดย อภ.ใช้เกณฑ์จัดซื้อที่แตกต่างจาก สปสช.กำหนด คือ ATK ที่จัดซื้อ ต้องผ่านการรับรองโดย องค์การอาหารและยาของไทย (อย.) จัดส่งได้ทันตามกำหนด และ ราคาในเกณฑ์ ซึ่ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

  • 12 ส.ค. ชมรมแพทย์ชนบท จึงออกมาค้านกลัวไทยได้ของไม่มีคุณภาพ และราคาแพง เนื่องจากยี่ห้อ LEPU ทั้ง WHO, USFDA (องค์การอาหารและยาสหรัฐ) ยังไม่รับรอง และมีการเก็บสินค้าออกจากสหรัฐด้วย เนื่องจากผลที่ไม่แม่นยำ หากนำมาใช้ ได้ผลบวกลวงยิ่งแย่ คุมการระบาดไม่ได้ ประชาชนเสียโอกาสในการรักษา
     
  • ทำให้สังคมเริ่มสนใจประเด็นนี้ ซ้ำสื่อคุ้ยเจอข้อมูลว่า บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด ชนะการประมูลโครงการงบพันล้าน ทั้งที่ บริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 5 ล้านบาท ขาดทุนติดต่อมาหลายปี
  •  13 ส.ค. 64 อย.ไทย ยืนยันว่า เกณฑ์การตรวจสอบ ATK ยี่ห้อ LEPU ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล แบบเดียวกับที่ WHO รับรอง คือ
    ค่าความไว มากกว่า 90 %
    ค่าความจำเพาะ มากกว่า เท่ากับ 98 %
    ค่าความไม่จำเพาะ น้อยกว่า เท่ากับ 10% 

  • กระทรวงสาธารณสุข  อย. อภ. รพ.รามาธิบดี       ยกทีมแถลง ยืนยันไม่มีการล็อกสเปค ขั้นตอนการจัดหาโปร่งใส และชุดตรวจนี้ตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งจาก อย. สภาเทคนิคการแพทย์  คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ใช้ชุดทดสอบ 200 ชุดตรวจกับผู้ป่วยที่ปริมาณเชื้อแตกต่างกันในโรงพยาบาลรามาธิบดี
     

  • บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด ยันว่า ที่ องค์การอาหารและยาสหรัฐ หรือ USFDA เก็บชุดตรวจนี้ออกจากประเทศ เพราะบริษัท LEPU ผู้ผลิต ไม่ได้เป็นผู้นำเข้าไปเอง จึงไม่ได้ขออนุญาติ 
     
  • ท่ามกลางความคาใจของสังคม แต่ อภ.ยืนยัน เดินหน้าดำเนินการเซ็นสัญญาจัดซื้อ เหมือนเดิม …
     
  • 17 ส.ค. 64 มีเอกสารบันทึกการประชุม เผยออกมา ซึ่งเป็น คำสั่งนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหาในการดำเนินงานโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะ 7 ประเด็นสำคัญ โดยหนึ่งใน7ข้อระบุ สาระสำคัญว่า
           "....ให้เร่งดำเนินการ จัดหาชุดตรวจเชื้อโควิด-19 แบบ Antigent test kit (ATK) ที่ผ่านการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีจำหน่ายในประเทศไทย มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องมีความแม่นยำในการตรวจ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที และพร้อมจัดส่งให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด..."
     
  • 19 ส.ค. 64 หลังเอกสารคำสั่งของนายกฯเผยออกมา บริษัท ออสท์แลนด์ฯ ส่งจดหมายเปิดผนึกชี้แจงถึงนายกฯ ต่อข้อสั่งการที่ว่า ชุดตรวจ ATK ที่จะต้องได้รับการรับรองWHO ส่งผลให้ทางบริษัท ไม่สามารถเซ็นสัญญาต่อได้ เนื่องจากชุดตรวจ ATK ยี่ห้อ LEPU ไม่ได้รับการรับรองจาก WHO แต่ในข้อกำหนดการจัดซื้อ (TOR) กับทางอภ. ก็ไม่ได้ระบุถึงว่า ATK ที่บริษัทจะนำเข้ามา ซึ่งชนะการประมูล ต้องผ่านการรับรองจากWHO และ ณ ปัจจุบัน บริษัทได้มีเอกสารยืนยันว่า WHO ยังไม่มีการอนุมัติชุดตรวจ ATK ด้วยตนเอง หรือ แบบ Home use แก่บริษัทใดเลย
     
  • เอาล่ะสิสุดท้ายแล้วไทยจะต้องทั้ง เสียค่าโง่ ให้กับบริษัท ออสท์แลนด์ อีกด้วยไหม แถมได้สินค้าที่คุณภาพไม่ผ่านการรับรองด้วยหรือเปล่า? ท้ายสุดแล้วในฐานะสื่อหมาเฝ้าบ้าน คงต้องทำหน้าที่ตีแผ่และนำเสนอความจริง เพื่อช่วยตรวจสอบว่ารัฐนำเงินภาษีของเจ้าของเงินอย่าง ประชาชน มาใช้คุ้มค่าหรือไม่ เพราะหากจัดซื้อของที่ด้อยคุณภาพ ผลกระทบตกเป็นของประชาชนตาดำๆตามเคย เราจึงต้องป้องสิทธิ์ ช่วยกันตรวจสอบ แค่อยากให้คนไทยได้ใช้ชุดตรวจATK ดีๆ  มีคุณภาพ และราคาไม่แพง (Alibaba อันละ 80 บาทเท่านั้น ดูราคาในบ้านเราตอนนี้สิ 250 - 300 บาท) อยากให้ถูกลงกว่านี้อีกจังเลย....นะจ๊ะ
related