svasdssvasds

สรุปข้อกังขาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีการฮั้วประมูล ส่อทุจริตจริงหรือไม่?

สรุปข้อกังชา กับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มที่กำลังถูกถามถึงความโปร่งใส จากทั้งในและนอกสภา ทั้งชูวิทย์ และ ส.ส.พรรคก้าวไกล โจมตีว่ามีการฮั้วประมูลหรือไม่ นำไปสู่การฟ้องร้องถึงศาลปกครอง หลายคนอาจยังไม่ทราบข่าวนี้ เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

       การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีทั้งคุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และส.ส.พรรคก้าวไกล ออกโรงโจมตีว่าฮั้วประมูลหรือไม่ หลายอาจยังไม่ทราบข่าวเรื่องนี้ วันนี้โอ๋จะมาสรุปให้ฟังกับข้อกังขาที่ยังไม่มีความชัดเจน

       มหากาพย์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ดูเหมือนจะยังไม่จบง่ายๆ เพราะที่ผ่านมามีการเปิดประมูล หาเอกชนเข้ามาดำเนินมาถึง 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นผู้ล้มประมูลเอง หลังจากนั้นเปิดประมูลครั้งที่ 2 โดยมีการกำหนด TOR ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จนเกิดเป็นคดีฟ้องร้องกัน ซึ่งตอนนี้ต้องรอศาลปกครองสูงสุด ว่าพิจารณาจะออกมาเป็นแบบใด

       และตอนนี้ก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงทั้งในสภา และนอกสภา ที่มองกันว่าไม่มีความโปร่งใส ทั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ข้อเสนอการร่วมทุน ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์เทคนิค + ราคา และเกณฑ์การเงิน มาเป็นตัวกำหนด

       เริ่มจากเจ้าพ่อจอมแฉ คุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้เดินทางไปยังบริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล พร้อมกับนำป้ายขนาดใหญ่ ที่แสดงให้เห็นข้อมูลในเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยชูวิทย์ บอกว่า การประกวดจัดหาผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ของ รฟม. โดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้ากระทรวงที่ดูแล มีความไม่ชอบมาพากลอยู่หลายจุดโดยเฉพาะในขั้นตอนการประกวดราคา การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ร่างขอบเขตการทำงาน ภายหลังจากที่มีการเปิดซองราคาไปแล้ว รวมถึงการกำหนดคะแนนด้านเทคนิคให้สูงขึ้น จนนำไปสู่การฟ้องร้องศาลปกครอง ต่อเนื่องไปจนถึงการตั้งข้อสังเกตว่าโครงการดังกล่าวเกิดการฮั้วกับเอกชน เพื่อที่จะรับเงินทอนและนำเงินไปเป็นทุนสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าของพรรคการเมืองบางพรรคหรือไม่ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

       ด้านในสภา ก็ร้อนระอุไม่แพ้กัน เมื่อนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และประธานอนุกรรมาธิการศึกษาจัดทำ และติดตามการบริหารงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ได้ลุกขึ้นอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการดำเนินการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทั้งการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินข้อเสนอในการคัดเลือกเอกชนครั้งที่ 1, การยกเลิกการคัดเลือกเอกชนครั้งแรก และเงินส่วนต่างของข้อเสนอถึง 68,613 ล้านบาท ต้องไปพิสูจน์ทราบให้ได้ว่า ทำไมการประมูลรอบแรก หาก บีทีเอส ชนะ รัฐจะอุดหนุนเพียง 9,675 ล้านบาท แต่ในการประมูลรอบ2 ซึ่ง บีอีเอ็ม ชนะ รัฐต้องอุดหนุนมากถึง 78,288 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ในทางเทคนิคก็คือสร้างสิ่งเดียวกัน คือรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบบการก่อสร้างไม่ได้เปลี่ยน ความยาวเท่าเดิม และจำนวนสถานีเหมือนเดิม เนื่องจากเป็นเรื่องผลประโยชน์ของประชาชนจึงจำเป็นต้องซักถามเพื่อความโปร่งใสนั่นเอง... และนั่นก็คือ ข้อกังขาเกี่ยวกับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่กำลังร้อนระอุอยู่นั่นเอง

 

 

related