svasdssvasds

Amity เตรียมลงแข่งตลาด ChatGPT พร้อมระดมทุนปี '67 มองโอกาสธุรกิจรายย่อย

Amity เตรียมลงแข่งตลาด ChatGPT พร้อมระดมทุนปี '67 มองโอกาสธุรกิจรายย่อย

หากเอ่ยชื่อบริษัท Amity หลายคนอาจจะไม่รู้จักและอาจจะมองข้ามไปเลย แต่ถ้าบอกว่านี่เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่หลานชายคนโตเจ้าสัวซีพี ปั้นขึ้นมาจนมีรายได้ทั่วโลกหลักพันล้านเหรียญ เตรียมเข้ามาระดมทุนหวังเข้าถึงลูกค้าองค์กรของไทย

เมื่อเอ่ยถึงความเป็นหลานชายของเจ้าสัวธนินทร์ คนอาจจะคาดว่าต้องทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าทางการเกษตร ตามรอยเส้นทางของปู่

แต่ไม่ใช่เลย สำหรับ กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ที่เรียกว่าเป็นเจ้าของธุรกิจระดับโลกที่ประสบความสำเร็จด้วยวัยเพียง 28 ปี พร้อมกับเดินหน้าความเป็นสตาร์ทอัพระดับโลกที่ระดมทุนเดินหน้าธุรกิจได้หลักพันล้านเหรียญสหรัฐ

และในวันนี้เขาและทีมแอมิตี้ จะรุกหนักกับเทคโนโลยีตัวใหม่ ChatGPT เพื่อเสริมแกร่งให้กับธุรกิจระดับเอนเตอร์ไพร์ส พร้อมทั้งเตรียมเดินหน้าขยายธุรกิจด้วยการตั้งเป้าเสนอขาย IPO Amity Solutions ในปี 2567

กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ก่อตั้ง Amity เล่าว่า ธุรกิจของแอมิตี้ คือการเป็นผู้ให้บริการ Software-as-a-Service (SaaS) แต่การขยายธุรกิจใหม่คือการแยกแบรนด์ใหม่ออกมา โดยใช้ชื่อว่า "แอมิตี้ โซลูชันส์" ที่จะนำเงินระดมทุนไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่าง AI Bot ผ่านเทคโนโลยีอย่าง ChatGPT 

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวครั้งนี้ จะแบ่งออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจของ Amity ที่เป็น “Software Development Kit (SDK) และ Application Program Interface (API)” ที่มีการเติบโตสูงและเน้นขายตลาดโลกกับธุรกิจของ Amity ที่มีเน้นตลาดไทย

Amity เตรียมลงแข่งตลาด ChatGPT พร้อมระดมทุนปี '67 มองโอกาสธุรกิจรายย่อย

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

ย้อนถึงธุรกิจหลัก (core businesses) ของ Amity Solutions จะประกอบไปด้วย

  • เอโค่ (Eko) เป็นผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ (automation) เน้นสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) ภายในองค์กร
  • ผลิตภัณฑ์แชตบอตที่เรียกว่า แอมิตีบอตส์ (Amity Bots)

นอกจากนี้ ธุรกิจ Amity Solutions จะรวมถึงแหล่งรายได้อื่น ๆ ในไทย โดยมียอดผู้ใช้งานมากกว่า 20 ล้านคนต่อเดือน

ทั้งนี้ บริษัทมีเป้าหมายที่จะนำโซลูชัน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT รวมเข้ากับผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด รวมทั้งยังมีแผนการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Amity เตรียมลงแข่งตลาด ChatGPT พร้อมระดมทุนปี '67 มองโอกาสธุรกิจรายย่อย

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่า Amity Solutions จะมีทรัพยากรที่ใช่และตรงกับความต้องการของลูกค้าในด้านเทคโนโลยี AI ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง GPT ผ่านการเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์กรนั้นๆ ก่อนจะออกแบบโซลูชั่นที่เหมาะสมกับธุรกิจให้มากที่สุด

"ใครจะไปคาดคิด ตอนนี้แชทบอทหรือโซลูชั่นที่คุณได้รับในด้านงานบริการจากองค์กรชั้นนำ 50 แห่งในไทย อาจจะเป็นหนึ่งในบริการที่เราสร้างสรรค์ก็เป็นได้"

อย่างไรก็ตาม บริการที่เรียกว่า Amity Social Cloud ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยขับเคลื่อนชุมชนดิจิทัล และโซเชียลฟีเจอร์ในแอปพลิเคชัน โดยลูกค้าสามารถ plug-in เข้ากับแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ใดก็ได้

เปิดตัวทั่วโลกเมื่อต้นปี 2564 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเติบโตอย่างรวดเร็วในยุโรปและอเมริกา มียอดผู้ใช้งานต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากประมาณ 30,000 รายเมื่อต้นปี 2565 ขึ้นเป็นมากกว่า 1.1 ล้านรายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยมีสำนักงานอยู่ในลอนดอน และมิลาน มีลูกค้าเป็นแบรนด์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและยุโรปหลายสิบแห่งและธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

ทัชพล ไกรสิงขร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) และผู้ร่วมก่อตั้งของ Amity กล่าวว่า ถ้าพูดคำว่า ChatGPT ในเชิงธุรกิจคนจะมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย หรือการเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์ในธุรกิจ

แต่บริการของเราเหมือนสร้างกรอบ (โซลูชั่น) ขึ้นมา และให้บริษัทนำข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลด้านต่างๆ ที่ต้องการนำมาพัฒนาเป็น AI Bot ใส่เข้าไป จากนั้นก็สร้างผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมขึ้นมา

โดยเราต้องการที่จะเป็นทั้งผู้พัฒนาเทคโนโลยีพร้อมกับผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี เพราะ ChatGPT ยังเป็นเรื่องใหม่ และเป็นโอกาสที่ใครสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะได้ก่อน 

“เป้าหมายของเราคือการทำให้แน่ใจว่า ลูกค้าของเราสามารถเข้าถึงโซลูชันเทคโนโลยีอันก้าวล้ำซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถแซงหน้าคู่แข่งได้”

ไลโอเนล ชิน (Lionel Chin) กรรมการผู้จัดการของ Amity Solutions ให้ความเห็นว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นกับการเปิดตัวบริษัทย่อยของเราเอง ที่จะมาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราไปสู่อีกขั้นด้วย AI และระบบ automation ที่ล้ำสมัย”

โดยในขณะนี้ บริษัทมีลูกค้าที่ให้บริการใน 4 แกนหลัก คือ กลุ่มภาครัฐและวิสาหกิจ กลุ่มธนาคาร กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มโทรคมนาคม

ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์ของเราที่ภาคธุรกิจนำไปใช้งาน เช่น ช่วยสร้างความรวดเร็วด้านการทำธุรกรรมอย่างการโอนและจ่าย การส่งอนุมัติลางาน การให้บริการลูกค้าผ่านระบบแชทบอท สิ่งที่เราพัฒนาออกมาเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนด้านโอเปอร์เรชั่นได้ถึง 60%

ทางด้านของทีมงานขณะนี้มีประมาณ 200 กว่าคน แบ่งเป็น ทีมต่างประเทศ 30 คน ที่เหลือคืออยู่ในไทย เพราะบริษัทมีการให้บริการในยุโรปเป็นหลัก แต่ที่จะเน้นหนักต่อไปคือไทยและสิงคโปร์ ซึ่งจะมีการ iPO ในสองตลาดอาเซียนคือไทยและสิงคโปร์ด้วย

รูปแบบการทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพที่เติบโตเร็ว รู้จักมองหาโอกาส และพัฒนาก้าวต่อไปอย่างรวดเร็ว ถือว่าเป็นแนวทางที่ช่วยให้มีธุรกิจอยู่รอดและ สร้างการเติบโตให้ไปต่อในช่วงเศรษฐกิจผันผวนได้

related