svasdssvasds

Digital Transformation เก่าไปแล้ว เมื่อ AI เข้ามา จบ ป.ตรี-โท ก็มีสิทธิ์ตกงาน

Digital Transformation เก่าไปแล้ว เมื่อ AI เข้ามา จบ ป.ตรี-โท ก็มีสิทธิ์ตกงาน

นักวิชาการชี้ การเข้ามาของ AI ส่งผลกระทบองค์กรสูง อาจทำคนเรียนจบสูง ตกงาน และ Digital Transformation กลายเป็นเรื่องเก่าตกยุคไปแล้ว

งาน Thailand Economic Outlook 2024 Change the Future Today มีการเสวนาในเซสชัน The Risks and Opportunities โอกาส ก้าวข้ามความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย  2024 โดยมี ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ดร.สันติธาร เสถียรไทย อดีตกรรมการผู้จัดการและประธานทีมเศรษฐกิจ SEA Ltd. (Garena, Shopee, SeaMoney) และ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI 

จบสูง ป.ตรี-ป.โท ก็มีสิทธิ์ตกงาน

ดร.สันติธาร ระบุว่า ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน คือ การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรสูง เทรนด์ของ Digital Transformation กลายเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว

ด้าน AI เองเข้ามาทลายความเชื่อเก่าๆ ที่บอกว่าเราควรจะต้องจบการศึกษาสูงๆ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ อาจทำให้คนตกงานได้

ในอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงสู่ AI transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วย AI เพราะในอนาคตโลกจะเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เพราะการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ แค่เราเริ่มต้นพูดไม่ว่าเรื่องอะไรเข้าไปในระบบก็เข้าใจ

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องมีการ Reskill ขนานใหญ่ให้กับพนักงานจำนวนมาก และก็ประเทศไทยเอง ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้พนักงานบางคนที่ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพกลายเป็นบุคลากรที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับองค์กรได้

Digital Transformation เก่าไปแล้ว เมื่อ AI เข้ามา จบ ป.ตรี-โท ก็มีสิทธิ์ตกงาน

ทั่วโลกมุ่งไป AI แต่คนไทยยังโดนแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกอยู่เลย

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ระบุว่า แม้ว่าเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่าง 5G จะครอบคลุมทั่วประเทศและเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทั่วโลกกำลังใช้งาน

แต่ข้อควรระวัง คือ ประชาชนยังมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีและการใช้งานเทคโนโลยีของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนที่ยังคงตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์หรือเหล่าสแกมเมอร์ ในขณะที่ทั่วโลกมุ่งเน้นไปยังเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้นเรื่องของบุคลากรด้านดิจิทัลและการรู้เท่าทันเทคโนโลยี จึงเป็นเรื่องที่ประเทศไทยควรเร่งมือตามโลกให้ทัน

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI

ดร.นณริฏ ระบุว่า สิ่งที่สังคมไทยต้องระมัดระวังอีกเรื่องคือ สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย เพราะนอกจากแก่ก่อนรวยแล้วคือป่วยก่อนตายด้วย ดังนั้นเรื่องของการศึกษา การ Reskill จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อทำให้คนไทยสามารถหลุดพ้นความเสี่ยงเหล่านี้ได้

คนสูงวัย อีกหนึ่งปัญหาที่ต้องปูรากฐานให้แข็งแรง

ดร.สันติธาร กล่าวทิ้งท้ายว่า วันนี้ประเทศไทยทรัพยากรบุคคลน้อยลงเรื่อยๆ จากสังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น การเร่งเพิ่มทักษะให้คนไทยสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ

นอกจากนี้ ส่วนตัวผมมีโอกาสอยู่ที่สิงคโปร์มาเป็นเวลานานก็ค้นพบว่าที่สิงคโปร์มีการทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งหากคนไทยสามารถที่จะเริ่มเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ เราอาจจะก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล ไปเป็นการใช้ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงองค์กรได้เลย

ขณะเดียวกันประเทศไทยเองก็ต้องมีการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ควรจะพัฒนาทักษะอะไร และมองหาความเป็นไปได้ว่า เราจะสามารถเรียนรู้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีเพื่อให้แรงงานคนในประเทศไทยใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.สันติธาร เสถียรไทย ที่ปรึกษาอาวุโส Global Counsel และอดีตกรรมการผู้จัดการ Sea Ltd (Gerena, Shopee, SeaMoney)

ทั้งนี้ การ reskill ที่สิงคโปร์ทำได้สำเร็จ คือ ทำให้การ reskill  เป็น 1 ในสิ่งที่คนในชาติรู้สึกว่า เป็นสิ่งต้องทำให้ได้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่นโยบาย สังเกตได้จากการที่สิงคโปร์ลองผิดลองถูกมาตลอดจากโครงการการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้บุคลากรภายในประเทศ

หากทุกคนภายในประเทศ มีแนวคิดที่จะพัฒนาตนเองไม่ให้ตกเทรนด์อยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ภาคเอกชนและภาครัฐบาลร่วมกันพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เมื่อคนในประเทศมีความต้องการมากพอ รัฐบาลก็จะเรียนรู้ได้ว่าจะต้องมีทักษะอะไรที่จะต้องเปิดคอร์สให้แก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงไปสู่อาชีพอื่นที่มีรายได้มากยิ่งขึ้นได้

ทางด้านขององค์ความรู้ ภาคเอกชนเก่งอยู่แล้วแต่การที่จะดึงองค์ความรู้เหล่านั้นมาสู่ประชาชน ภาครัฐในฐานะที่ต้องเป็นตัวกลางในการพูดคุยกับภาคเอกชน ก็ต้องย้อนกลับไปดูภาคการศึกษาด้วยว่ามีความพร้อมหรือไม่ เพราะรัฐบาลเองในฐานะผู้กำหนดนโยบาย จำเป็นต้องมีทิศทางและวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรว่า หากองค์กรต้องการหาบุคลากรที่มีทักษะด้าน AI และเทคโนโลยีภาคการศึกษา เรามีคนพร้อมหรือไม่

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related