svasdssvasds

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

ต่างประเทศนำร่อง เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยขาดสวัสดิการ คนไม่อยากมีลูก รัฐควรตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรในวันที่ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและไร้แรงงาน

SHORT CUT

  • หลายประเทศมีปัญหาเรื่องวิกฤตประชากรที่ลดลงจนเริ่มหาวิธีการต่างๆ มาเพิ่มประชากรหรือทำให้ประชากรมีคุณภาพ
  • หนึ่งในวิธีการคือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประชากรหรือดูแลประชากรให้เติบโตไปอย่างมั่นคง
  • คำถามคือประเทศไทยเตรียมรับมือวิกฤตประชากรอย่างไร และพร้อมไหมในวันที่โลกกำลังขาดแคลนประชากร ขณะที่ไทยยังไร้สวัสดิการ

ต่างประเทศนำร่อง เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยขาดสวัสดิการ คนไม่อยากมีลูก รัฐควรตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรในวันที่ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและไร้แรงงาน

วิกฤตประชากรเกิดใหม่ลดลง ขาดแคลนแรงงานวัยทำงาน รวมไปถึงมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น กำลังเป็นปัญหาไปทั่วทุกมุมโลก

สภาวะนี้เรียกว่าสภาวะสูงอายุเต็มที่ เป็นสภาวะที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศเจริญแล้วที่มีสวัสดิการ และการแพทย์ที่ดี จนทำให้ประชากรอายุยืน แต่ในทางกลับกันเมื่อเศรษฐกิจโลกไม่ดีย่อมทำให้คนรุ่นใหม่หรือคนวัยทำงานไม่พร้อมที่จะมีลูกเช่นกัน

ประเทศไทย เป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะขาดแคลนแรงงานและเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะที่รัฐไม่มีสวัสดิการรองรับและคนรุ่นใหม่เริ่มตั้งคำถามต่อการมีลูก ย่อมส่งผลให้อนาคตขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงรายได้จากการเก็บภาษีย่อมน้อยลงไปทุกทีๆ

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างจับตา และพยายามแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเปิดรับแรงงาน การเพิ่มสวัสดิการจูงใจให้คนมีลูก รวมถึงนำเทคโนโลยีดูแลและสร้างความพร้อมให้กับประชากรในการมีลูก

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

SPRiNG พาไปเปิดเทคโนโลยีของนานาประเทศ เตรียมรับมือรับมือวิกฤติประชากรด้วยเทคโนโลยีอะไร ดูแล้วย้อนมองไทยว่าเราจะนำอะไรมาปรับใช้ได้บ้าง

จีนใช้ AI ดูแลตัวอ่อน

ต้องบอกว่าเทคโนโลยีเพิ่มประชากรกำลังเป็นที่จับตาในหลายๆ ประเทศว่าจะแก้ไขอย่างไร ประเทศจีนเองเคยเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด ถึงขนาดที่รัฐมีนโยบายจำกัดการมีลูก ทำให้ประชากรถดถอยลงเรื่อยๆ

จนต้องปลดล็อคนโยบายที่จำกัดการมีลูกแค่ 1 คนโดยส่งเสริมให้มีลูก 3 คนในปี 2021 และในการปลูกตัวอ่อนในมดลูกเทียมได้รับการดูแลและพัฒนาจากสถาบันวิจัยอีกด้วย

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

เทคโนโลยีนี้พัฒนาโดยทีมนักวิจัยของสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์และเทคโนโลยีซูโจว (SIBET) สาขาของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยระดับชาติของจีน

โดยปกติแล้วนั้นการปลูกตัวอ่อนในมดลูกเทียมต้องคอยเฝ้าติดตามคอยระวังตลอดเวลา เมื่อมีเจ้า AI เข้ามาช่วยทำให้ลดทรัพยากรบุคคลในการดูแลงานดังกล่าว และเจ้าหุ่นยนต์ AI ยังสามารถตรวจจับความผิดปกติที่สายตามนุษย์ไม่สามารถตรวจจับได้อีกด้วย

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่กำลังน่าจับตา แต่ในทางกลับกันเกิดการตั้งคำถามด้านจริยธรรมว่าการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กำลังทำให้เกิดมนุษย์โคลนที่ไม่ต้องมีพ่อและแม่หรือไม่

ยุโรปและญี่ปุ่นซุ่มสร้างหุ่นยนต์พี่เลี้ยง

เมื่อพูดถึงหุ่นยนต์พี่เลี้ยงใครๆ ก็คิดถึงการ์ตูนโดราเอม่อน ที่ต้องคอยดูแลโนบิตะ ให้มีชีวิตรอดเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่และเป็นแรงงานของชาติ สิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นจริงเพราะยุโรปกับญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาเด็กเกิดใหม่น้อย ในเมื่อเกิดใหม่น้อยจึงต้องหาตัวช่วยในการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพโดยหุ่นยนต์พี่เลี้ยงนั่นเอง

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

โดยหุ่นยนต์พี่เลี้ยงมีชื่อว่า “Robot Babysitter” เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้จะคอยดูแลเด็ก พูดกับเด็กด้วยคลังคำศัพท์ที่มี และสามารถระบุพิกัดเด็กได้ เหมาะสำหรับครอบครัวที่พ่อแม่ออกไปทำงานนอกบ้านและไม่มีเวลาคอยดูแลลูกจนต้องมีหุ่นยนต์มาทดแทน

ทำให้พ่อแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอันตรายกับลูกยามที่พวกเขาไม่อยู่บ้าน

แต่ปัญหาที่ตามมาคือเกิดการตั้งคำถามว่า การมีเทคโนโลยีนี้เข้ามาอาจส่งผลให้ครอบครัวห่างเหินกันหรือไม่ ทำให้เด็กสนิทกับหุ่นยนต์มากกว่าพ่อแม่หรือไม่ เพราะเทคโนโลยีมีทั้งแง่ดีและแง่เสีย

เกาหลีใต้-สหรัฐอเมริกาพัฒนาตัวอ่อนให้ปราศจากโรค

สหรัฐอเมริกาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะประชากรสูงวัยในปี ค.ศ.2030 ขณะที่เกาหลีใต้กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี พ.ศ.2026

ส่งผลให้ทั้งสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ต้องเริ่มทำอะไรบางอย่าง หากไม่สามารถเพิ่มประชากรได้ ก็ต้องทำให้ประชากรมีคุณภาพและมีสภาวะร่างกายที่แข็งแรง

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

โดยนักวิทยาศาสตร์ของทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันทำวิจัยการตัดต่อดีเอ็นเอของตัวอ่อนให้ปราศจากโรคทางพันธุกรรมอย่างโรคหัวใจได้ซึ่งเป็นโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็เกิดคำถามเช่นเดียวกันว่าการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เป็นการออกแบบให้ทารกที่เกิดมามีลักษณะโดดเด่นเกินมนุษย์หรือไม่ ซึ่งสิ่งนี้เชื่อมไปสู่ประเด็นชาตินิยมที่กำลังเกิดขึ้นไปในสังคมทั่วโลก

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในวันที่ไร้สวัสดิการและความพร้อม

จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีกระดูกเหล็กของเรา เคยมีความฝันว่าหากประเทศไทยของเรามีประชากร 30-40 ล้านคน เราจะกลายเป็นมหาอำนาจ

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

แต่ขนาดนี้เรามีประชากรเกือบ 67 ล้านคนเรากลับยังไม่ได้เป็นมหาอำนาจเสียที

ในขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นอีกประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปีนี้ (พ.ศ.2567) และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดเหมือนญี่ปุ่น ขณะเดียวกันข้อมูลจากรมการปกครองพบว่าในปี พ.ศ.2566 ไทยมีผู้สูงอายุ 13 ล้านคน ขณะที่เด็กเกิดใหม่มีเพียง 5 แสนกว่าคน

เรียกได้ว่าเป็นตัวเลขที่สวนทางกันเลยทีเดียว และจะส่งผลในแง่การขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนรัฐขาดรายได้จากเก็บภาษีเงินได้ รวมถึงการใช้จ่ายภาคประชาชนจะน้อยลง ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

รัฐไทยยังขาดสวัสดิการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ และขาดสวัสดิการจูงใจให้คนมีลูก มีแต่เพียงนโยบายแจกเงินที่ทำได้ไม่ทั่วถึง และเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างยาวนาน

สะท้อนผ่านผลสำรวจของนิด้าโพลว่าคนช่วงวัยเหมาสมกับการมีลูกตลอดจนวัยทำงาน 44 เปอร์เซ็นต์ไม่อยากมีลูก

รัฐจึงต้องตั้งคำถามกับตนเองแล้วว่าจะทำอย่างไร หากแก้ไขการเพิ่มประชากรไม่ได้มีแรงจูงใจให้คนมีลูกไม่ได้แล้วนั้นควรสร้างคุณภาพให้กับเยาวชนที่เกิดใหม่หรือกำลังเติบโตหรือไม่ หรือควรนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ช่วยให้ประชากรเติบโตอย่างมีคุณภาพ

ต่างประเทศใช้ เทคโนโลยีรับมือ "วิกฤตประชากร" ส่วนไทยยังขาดสวัสดิการที่ดี

ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หากไม่แก้ไขอย่าคาดหวังว่าประเทศไทยจะสู้ใครได้

"ความฝันของ จอมพล ป.ที่อยากเห็นประเทศทไทยเป็นมหาอำนาจต้องเตรียมตรอกฝาโลงความฝันได้เลย เพราะเรามีประชากรเกินกว่าที่จอมพล ป. คาดหวัง แต่เราไม่ทำให้ประชาชนมีความหวัง มีความฝัน มีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่กำลังทำให้ประชาชนอยู่ในก้นบึ้งแห่งความสิ้นหวังที่ไม่พร้อมจะทำอะไรเลย"

ที่มา

BBC / Voathai / TheMatter /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related