svasdssvasds

กสทช. สหรัฐฯ มาแปลก ออกคำสั่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมติดฉลากแจกแจงบริการ

กสทช. สหรัฐฯ มาแปลก ออกคำสั่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมติดฉลากแจกแจงบริการ

กสทช. สหรัฐฯ ออกคำสั่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมติดฉลากแจกแจงบริการบริเวณจุดขาย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้ผู้บริโภค เพราะปัจจุบันบริการอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมีรายละเอียดซับซ้อน

SHORT CUT

  • กสทช.สหรัฐ ผุดไอเดียสุดเจ๋ง ติดฉลากข้อมูลแพ็กเกจ
  • ให้ประชาชนทราบรายละเอียดแพ็กเกจได้แบบไม่ต้องหาข้อมูลเอง
  • ช่วยป้องกันความสับสนในการใช้งานบริการที่ต่างกัน

กสทช. สหรัฐฯ ออกคำสั่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมติดฉลากแจกแจงบริการบริเวณจุดขาย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้ผู้บริโภค เพราะปัจจุบันบริการอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมีรายละเอียดซับซ้อน

Federal Communications Commisstion: FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐอเมริกา ประกาศนโยบายใหม่ที่บังคับให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ติดฉลากแจกแจงบริการบริเวณจุดขาย โดยฉลากนั้นมีความคล้ายกับฉลากโภชนาการที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหาร

ทั้งนี้ CNN รายงานว่า FCC ออกข้อบังคับให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกาติดฉลากแจกแจงรายละเอียดบริการตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. 2024 (ตามเวลาสหรัฐฯ) เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้ผู้บริโภค เพราะปัจจุบันบริการอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมีรายละเอียดซับซ้อน เช่น ค่าแพ็กเกจ, ความเร็ว และระยะเวลาโปรโมชัน ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนและเป็นปัญหาในการใช้บริการ

คนเล่นอินเทอร์เน็ต

ฉลากต้องตอบได้ทุกอย่าง

สำหรับฉลากที่ กสทช. อยากให้มีในบริเวณจุดขายนี้ มีชื่อเบื้องต้นว่า Consumer Broadband Lable จะแสดงบริเวณจุดขายหน้าร้าน และช่องทางออนไลน์ รวมถึงมีภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน เพื่อเพิ่มโอกาสการรับรู้ของผู้บริโภคที่นั่น

ส่วนข้อมูลที่ต้องแสดงให้ผู้ใช้บริการทราบ จะต้องมีทั้งค่าธรรมเนียมในการยกเลิกก่อนหมดสัญญา, ข้อจำกัดการใช้บริการ และความเร็วในการใช้งาน เป็นต้น

Alejandro Roark หัวหน้างานด้านความสัมพันธ์กับผู้บริโภค และรัฐกิจสัมพันธ์ของ FCC แจ้งว่า ทางองค์กรได้ประยุกต์ฉลากโภชนาการ เพราะต้องการให้มีการแสดงข้อมูลเบื้องต้นของผู้ให้บริการอินเทอร์อย่างเข้าใจง่าย และถูกจดจำได้มากที่สุด ซึ่งฉลากนี้มีส่วนในการช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย

ทั้งนี้ การใส่ข้อมูลในฉลากดังกล่าว มีการหารือมาตั้งแต่ปี 2016 หลัง FCC มีการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อหาวิธีการต่างๆ เพื่อผู้ให้บริการแจกแจงรายละเอียดของบริการ โดยไม่ได้บังคับให้ลูกค้าผู้ใช้บริการต้องกดเข้าไปใช้งานเครื่องมืออะไรเพิ่มเติม

ตัวอย่างฉลากที่ต้องติดให้ชัดเจน

จากนั้นปี 2021 ได้มีการปรับปรุงรายละเอียด และอาศัยข้อกฎหมายในการหาวิธีบังคับให้ผู้ให้บริการต้องแสดงฉลากนี้ให้ชัดเจนในจุดขายต่างๆ

ข้อสรุปการติดฉลากเป็นไปในแนวทางที่ดี

กสทช. ของสหรัฐ เผยอีกว่า สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ของการติดฉลากก็คือ ผู้บริโภคสามารถเข้าใจรายละเอียดของแพ็กเกจต่าง ๆ และสามารถเปรียบเทียบแพ็กเกจเหล่านั้นของผู้ให้บริการแต่ละราย ได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ด้วยความเป็นมาตรฐานเดียว ทำให้การใช้เทคโนโลยีเข้ามาตรวจจับ หรือ Machine-Readable ทำให้การตรวจสอบบริการทำได้ดีกว่าเดิมด้วย

ชาวสหรัฐอินเทอร์เน็ตไม่ครอบคลุมขนาดนั้น

สำหรับสถานการณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ถือว่าค่อนข้างมีปัญหา เนื่องจาก 1 ใน 4 ของผู้บริโภคในประเทศยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบ้านได้ ผ่านจำนวนผู้ให้บริการในตลาดที่น้อย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ผู้ให้บริการอาจลงทุนแล้วไม่คุ้มค่า

นอกจากนี้ จำนวน 23 ล้านครัวเรือนในหสรัฐอเมริกา หรือ 1 ใน 5 ของครัวเรือนในประเทศทั้งหมด และคิดเป็นประชากรราว 59 ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เนื่องจาก Affordable Connectivity Program หรือแพ็กเกจสนับสนุนการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะหมดลงในสิ้นเดือน เม.ย. 2024

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กสทช. ในประเทศไทยยังไม่มีการประยุกต์ฉลากโภชนาการมาใช้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการกำกับกิจการจะใช้การกำหนดขั้นต่ำของการให้บริการ, ความครอบคลุม และคุณภาพของสัญญาณ ซึ่งผู้บริโภคต้องเข้าไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าว จากแหล่งข้อมูลของผู้ให้บริการด้วยตัวเอง

 

ที่มา : FCC, CNN

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related