svasdssvasds

เทคโนโลยีอนาคต ‘รถพลังงานไฮโดรเจน’ (FCEV) ดีอย่างไร? ทำไมอาจเจ๋งกว่ารถ EV

เทคโนโลยีอนาคต ‘รถพลังงานไฮโดรเจน’ (FCEV) ดีอย่างไร? ทำไมอาจเจ๋งกว่ารถ EV

พลังงานไฮโดรเจน หรือ H2 พลังงานสะอาดที่ผลิตจากน้ำ ถูกพัฒนามาหลายสิบปีและคาดว่าเร็วๆนี้จะถูกนำมาใช้กับรถยนต์รวมถึงขนส่งสาธารณะอื่นๆในอนาคต เนื่องจากได้มีข่าวสารทั่วโลกที่เริ่มพัฒนาและนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้แล้ว และเรามาดูกันว่ามันดีอย่างไร อันตรายหรือไม่

ทำความรู้จัก “รถพลังงานไฮโดรเจน” (FCEV) ถูกย่อมาจาก Fuel Cell Electric Vehicle

“รถ FCEV” “สร้างพลังงานได้เองจากแก๊สที่เก็บไว้”

ต่างกับ “รถ EV” ที่ “ชาร์จพลังงานและกักเก็บไว้ใช้งาน”

ไฮโดรเจนถูกสร้างขึ้นจากไฟฟ้าหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือไฟฟ้าพลังน้ำ จะเป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดคาร์บอนและหมุนเวียนได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการปล่อยมลพิษ

โตโยต้าได้ทุ่มเม็ดเงินมหาศาลยิ่งกว่าเทสลา ในการพัฒนารถไฮโดรเจนให้มีความปลอดภัย ซึ่งได้ทำระบบทำความเย็นที่สามารถเก็บแก๊สไฮโดรเจนไว้ได้ปริมาณมากๆจนกลายเป็นของเหลว

และเมื่อเทียบต้นทุนเท่ากัน ระหว่างรถยนต์ EV และ FCEV ผลออกมาคือรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน (FCEV) จะสร้างกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าถึง 3 เท่า

หากเทียบกันระหว่าง FCEV กับ รถ EV อันไหนดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า?

รถ FCEV เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเซลล์เชื้อเพลิงสามารถเป็นระบบพลังงานหมุนเวียนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ 100 เปอร์เซ็นต์ 

รถ EV ซึ่งใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีแนวโน้มจะทำให้เกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อมร้ายแรงเมื่อแบตเตอรี่หมดอายุการใช้งานและการรีไซเคิลไม่สมบูรณ์ แต่การรีไซเคิลก็จะถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

ซึ่งเทคโนโลยีไฮโดรเจนกับรถยนต์สามารถไปต่อกับรถยนต์ขนาดใหญ่ได้มากกว่า เช่น รถบรรทุก , รถไฟ ที่ต้องการระยะทางที่วิ่งได้ไกลกว่ารถที่ใช้ในเมือง เพราะการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ใช้เวลาน้อยกว่า แต่วิ่งได้ไกลกว่า

ในปัจจุบันมีเพียงแบรนด์รถยนต์ไม่กี่เจ้าที่สนใจรถ FCEV เพราะทั่วโลกมุ่งหน้าสนใจแต่รถ BEV และพัฒนาแบตเตอรี่ แต่ก็มีบางค่ายเช่น Hyundai และเจ้าใหญ่ที่มุ่งหน้าพัฒนาไฮโดรเจนอย่าง Toyota แต่ก็มีหลายค่ายเริ่มหันมาสนใจแล้วเช่น BMW

เปรียบเทียบความนิยมอย่างเห็นได้ชัด สถานีชาร์จไฟ Tesla ในสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 1,500 จุด แต่สถานีเติมไฮโดรเจนมีเพียง 44 แห่ง และในปัจจุบันข้อด้อยของไฮโดรเจนคือ ‘ยังไม่สามารถเติมที่บ้านได้’ ต้องเติมตามปั้ม คล้ายกับปั้มแก๊ส LPG , NGV นั่นเอง แต่ทางโตโยต้ากำลังเร่งพัฒนาและขยายสถานีเติมไฮโดรเจนให้แพร่หลายในอนาคต

ยกตัวอย่าง รถพลังงานไฮโดรเจน FCEV เช่น Toyota Mirai สามารถวิ่งได้ไกล 500 กิโลเมตร หรือ Hyundai Nexo ที่วิ่งได้ 610 กิโลเมตร 

CR.Hyundai

เห็นได้ว่าเทคโนโลยีไฮโดรเจนสามารถตอบโจทย์คนที่ใช้รถในระยะทางไกลๆ หรือไม่ต้องการแวะชาร์จบ่อยๆ เพราะไฮโดรเจนใช้เวลาเติมเร็วแทบจะเทียบเท่ากับรถเชื้อเพลิงน้ำมัน

ขณะนี้ยุโรปได้อนุมัติโครงการไฮโดรเจน มูลค่า 5.4 พันล้านยูโร (5.4 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก 15 ประเทศในสหภาพยุโรปและ 35 บริษัท ซึ่งการอนุมัติครั้งใหญ่นี้ทำให้เราเห็นว่าเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนต้องมีความปลอดภัย และเป็นพลังงานที่สะอาด พร้อมใช้งานได้จริง จึงจะได้รับการลงทุนมหาศาลขนาดนี้

ในฝั่งอเมริกา รัฐ California ในปี 2035 และได้อนุญาตให้ใช้รถ BEVs,  PHEVs หรือ FCEVs เพื่อลดมลพิษทางอากาศตามแผนโครงการ zero emission

CR.sierranevadaally.org

ทีมแข่ง McLaren ก็ได้ให้ความคิดเห็นว่าสนใจพลังงานไฮโดรเจนเพื่อใช้ในการแข่ง Formula 1 เป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงการ Formula 1 กำลังต้องการเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเป็นศูนย์ จึงต้องหาพลังงานทางเลือก และไฮโดรเจนอาจตอบโจทย์ได้ดี
CR.Red Bull

อนาคตดัชนีชี้วัดด้านพลังงานสะอาดเอนเอียงมาในทาง ‘Green Hydrogen’ สามารถผลิตได้ด้วยน้ำทะเล

และเนื่องจากพัฒนาได้รวดเร็วและข้อจำกัดน้อยกว่ารถยนต์ไฟฟ้า และมีแนวโน้มว่าในปี 2025 เทคโนโลยีไฮโดรเจนอาจมีราคาถูกกว่าไฟฟ้า ซึ่งนั่นแปลว่า FCEV หรือรถพลังงานไฮโดรเจน อาจเป็นที่นิยมกว่ารถ EV ในอนาคต

เทคโนโลยีแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิงจะอยู่ร่วมกันในอนาคตเนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันอย่างเห็นได้ชัด

โดย BEV หรือ รถ EV จะเหมาะสมกว่าสำหรับยานพาหนะระยะสั้นและขนาดเล็ก และ FCEV เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับรถยนต์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และต้องการเดินทางในระยะทางไกล

ที่มา : BBC , greencarreports.com , europe.autonews.com​ , greenbiz.com

related