svasdssvasds

อนาคตประเทศไทย "สถานีชาร์จ EV อาจไม่เพียงพอ" ชี้รัฐบาลใหม่ต้องเร่งสนับสนุน

อนาคตประเทศไทย "สถานีชาร์จ EV อาจไม่เพียงพอ" ชี้รัฐบาลใหม่ต้องเร่งสนับสนุน

สถานีชาร์จ EV ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนรถ ทำให้สถานีชาร์จหนาแน่นต้องรอคิวเป็นเวลานาน เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ว่าปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไรบ้าง

สถานีชาร์จ EV ถือเป็นเรื่องสำคัญในประเทศไทยหากต้องการจะสนับสนุนให้ผู้ใช้รถยนต์หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า และปัจจุบันยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมีการเติบโตสูงมาก แต่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากลับมีจำนวนไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจัยต่างๆไม่สนับสนุนมากพอให้ผู้ประกอบการสามารถขยายจำนวนสถานีชาร์จได้

เราได้มีโอกาสสอบถามถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขในอนาคตจาก คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ฝ่ายสื่อสารบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย และนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เกี่ยวกับปัญหาของการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันและรัฐบาลใหม่ควรเข้ามาสนับสนุนในส่วนใดบ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

คุณ กฤษฎา อุตตโมทย์ ได้พูดถึงตัวเลขสถิติการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ไว้ดังนี้ 

ช่วงนี้ครึ่งปีแรกเราเห็นการจดทะเบียนทั้งหมด กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าบุคคล 31,723 คัน เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นสูงมาก จากปีก่อนๆมีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าทั้งปีเพียง 9,678 คัน

หากรวมยอดจดทะเบียนสะสมจากปีที่แล้ว จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ Plug-In Hybrid ซึ่งต้องใช้บริการสถานีชาร์จทั้งสองประเภท ซึ่งรวมแล้ว 56,000 คัน 

ปัจจุบันสถานีชาร์จ EV มีผู้ประกอบการอยู่ราวๆ 13 ราย นับจากตัวเลขจำนวนหัวจ่ายในเดือนพฤษภาคมนี้ มี 4,628 หัวจ่าย จากสถานีชาร์จทั้งหมด 1482 แห่ง เมื่อเทียบสัดส่วนของสถานีชาร์จ EV กับจำนวนรถ จะอยู่ที่ราวๆ 12 คันต่อ 1 หัวจ่าย (รวมหัวจ่ายทั้งแบบ AC และ DC Fast Charging)

 

สิ่งที่เราเห็นจำนวนการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ เร็วกว่าสถานีชาร์จ EV และคิดว่าสิ่งที่เป็นกังวลคือ ตอนนี้จะทำอย่างไรให้การติดตั้งสถานีชาร์จสาธารณะเติบโตสอดคล้องกับการจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จึงเป็นประเด็นที่น่าคิดว่า หากเราไม่ได้มีการสนับสนุนใดๆกับผู้ประกอบการ โอกาสที่จะเกิดปัญหากับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในไทยได้

ย้อนมามองในแง่ผู้ประกอบการ สถานีชาร์จ EV ต้องใช้เงินลงทุนสูงราวๆ 1 ล้านบาท การให้บริการส่วนใหญ่ต้องหาพื้นที่เข้าถึงง่าย เช่น ทางด่วน ซึ่งมีค่าเช่าค่อนข้างสูง อัตราค่าชาร์จจะอยู่ที่ราวๆ 6-9 บาท ต่อ kW

ซึ่งยังเป็นธุรกิจสถานีชาร์จเป็นธุรกิจที่คืนทุนไม่ง่ายนัก คนที่ลงทุนอาจจะไม่รีบร้อนที่จะลงทุนมาก แต่จะค่อยๆขยับไปเรื่อยๆ "แต่การจดทะเบียนเพิ่มขึ้นสูงเรื่อยๆ นั่นคือปัญหา"

ซึ่งความคาดหวังของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยนั้นอยากให้อยู่ที่ "10 คัน ต่อ 1 สถานีชาร์จ" เพื่อให้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นไปอย่างสะดวกสบาย 

รัฐบาลใหม่ควรมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถขยายสถานีชาร์จได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษี , สนับสนุนลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การตั้งสถานีชาร์จสาธารณะทำได้รวดเร็วและขยายตัวได้เร็วขึ้น 

 

related