svasdssvasds

NIA-Depa ปรับแผนหนุนสตาร์ตอัป อัดฉีดเงิน-ความรู้เต็มที่ หวังปั้นยูนิคอร์น

NIA-Depa ปรับแผนหนุนสตาร์ตอัป อัดฉีดเงิน-ความรู้เต็มที่ หวังปั้นยูนิคอร์น

NIA-Depa จับมือกันแน่นขึ้น หลังสตาร์ตอัปไทยที่ไปรอดมีน้อยลง และรายใหม่ที่เข้ามาก็ไม่ตรงความคาดหวัง โดยทุกฝ่ายปรับข้อบังคับและเพิ่มเงินอัดฉีดให้มากขึ้น รอแค่คนที่พร้อมขึ้นแท่นเป็นยูนิคอร์น

นับจากสตาร์ตอัปไทยที่มีการเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นจนมีผู้ใช้เกินหนึ่งล้านคน อย่างเช่น Bitkub, Flash Express, GoWabi, Hungry Hub, iTAX Thailand, QueQ, Ricult Thailand, Shippop, StockRadars, ViaBus และ Zipevent แล้ว

รายชื่อเหล่านี้เป็นสตาร์ตอัปที่มีการบ่มเพาะมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และธุรกิจมีการเติบโตจนอาจขึ้นเป็นระดับยูนิคอร์นในอนาคต ซึ่ง NIA และ Depa เองก็เข้ามามีส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุน โดยมุ่งหวังให้สตาร์ตอัปไทย เข้าไปพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ เช่น EV Car, Fruite & Food, สินค้าเกษตร, เศรษฐกิจหมุนเวียน, พลังงานสะอาด, Ari Tech (AI-Robotic-Immersive Technology) เป็นต้น

ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนจนขึ้นสู่การเป็นธุรกิจระดับยูนิคอร์นไปแล้ว ก็ยังไม่พบสตาร์ตอัปของไทยที่มีความโดดเด่นจนสามารถขึ้น

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า ปีนี้มีการปรับโฉมกลไกการส่งเสริม สนับสนุนเอสเอ็มอีและสตาร์ตอัปในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะด้านการเงินสำหรับโอกาสการขยายตลาดและการลงทุน เช่น กลไกการสนับสนุนเงินทุนอุดหนุนรูปแบบใหม่ “Corporate co-funding” ร่วมกับกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) และ กิจกรรม Invest Startup Thailand ที่เน้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในสตาร์ตอัปในประเทศไทยมากขึ้น

การปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมอย่างเต็มที่ก่อนออกสู่ตลาด โดยมีแนวคิดว่า "ล้มบนกระดาษดีกว่าล้มในสนามจริง" จึงมีการวางแผนความรู้หลายด้าน เช่น การพัฒนาความรู้เรื่องการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Angel Investor) การพัฒนาเครือข่ายนักลงทุน (VC และ CVC) และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) รวมทั้งการสร้างเวทีให้สตาร์ตอัปได้ฝึกฝนและเรียนรู้จริงก่อนปล่อยให้ไปนำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุนเองได้

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า ดีป้ามีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ตอัปด้วยกลไกต่าง ๆ และมองว่าถ้าจะขับเคลื่อนธุรกิจรายย่อยให้มีการเติบโตได้ ก็ต้องวางโครงสร้างให้ดีก่อน ย่ิงเราอยากให้ธุรกิจรายย่อยเข้ามาสร้าง GDP ประเทศให้เติบโต ยิ่งต้องเกิดการลงทุนใหม่ๆ ด้วย 

ดังนั้น สตาร์ตอัปหลายรายที่มีแนวคิดดีแต่ไม่เติบโตนั้น ก็ต้องมองหาก่อนว่าจุดของปัญหาอยู่ที่ตรงไหน แล้วนำมาซักใหม่ไม่ใช่แค่ซ่อม เพราะแค่ซ่อมไม่ทำให้เกิดการเติบโต (Growth) แต่ต้องใส่ความรู้เรื่องของโอกาสในนวัตกรรมใหม่ รวมทั้งดึงจุดเด่นของอุตสาหกรรมใหม่ออกมาให้มากขึ้น เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้อยากเข้ามาลงทุนมากขึ้น รวมทั้งดึงคนต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในไทยอย่างจริงจัง เพื่อเดินหน้าสร้างการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง

แนวทางการรับทุนของสตาร์ตอัป

เงื่อนไขการรับเงินทุนของสนช.

การให้เงินทุนสำหรับสตาร์ตอัปในโครงการนั้น จากเดิมมี 2 แบบ คือเน้นด้านเศรษฐกิจ สร้างการเติบโตทางรายได้และสังคม เพื่อเป็นทุนในการลดความเหลื่อมล้ำ แต่สำหรับเงินทุนใหม่จะเน้นไปที่การสร้างตัวต้นแบบของนวัตกรรมออกมาก่อน ไม่ใช่แค่เอาไอเดียมาขาย

นอกจากนี้จะมีการช่วยเหลือในส่วนของการวางแผนด้านการเติบโตและการเข้าสู่ตลาดในรูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย เป็นการทำงานร่วมกันแบบต้นน้ำยันปลายน้ำ 

ทั้งนี้ในเรื่องของเงินลงทุนจะมีการแบกรับความเสี่ยงร่วมกันระหว่าง VC และ CVC โดยเงินก้อน 20 ล้านบาท แบ่งเป็น VC 10 ล้านบาท ส่วนสนช.-กบข. ก้อนละ 5 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการจ่ายแบบ Forex คือให้เงิน 2 งวด งวดละ 10 ล้านบาท

ทางด้านของนักลงทุนที่เข้ามาร่วมในโครงการนี้ก็จะต้องมีการคัดสรรอย่างดี ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ จะต้องมีการให้คณะกรรมการตรวจสอบก่อนและขึ้นเป็น Listed VC และสตาร์ตอัปก็ไม่ต้อง Pitch เพื่อขอเงินทุนเอง แต่จะต้องผ่านคณะกรรมการทั้งหมดในการตรวจสอบและคัดความเหมาะสม ว่าควรลงทุนที่สตาร์ตอัปรายใด เรียกได้ว่าเป็นการจับคู่นักลงทุนกับสตาร์ตอัปเพื่อลดความเสี่ยงทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องจำนวนที่ไม่เพิ่มขึ้นของสตาร์ตอัปไทยและยังไม่เกิดยูนิคอร์นสัญชาติไทยนั้น เป็นเพราะไทยยังติดปัญหาเรื่องการวางแผนการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ขาดความรู้ในการทำธุรกิจ บางรายมีความสามารถเรื่องเทคโนโลยีแต่ไม่เก่งเรื่องการวางกลยุทธ์ หรือขาดคนที่มีความสามารถในทีมทำให้ต้องปิดตัวหรือขายกิจการไปให้คนอื่นแทน

ซึ่งนักลงทุนมีเงินเยอะมากอยากเข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัปกลุ่มต่างๆ และก็มองหาธุรกิจที่น่าสนใจในการลงทุน แต่ก็ยังไม่เจอ จึงคาดหวังให้ไทยมีแพลตฟอร์มตรงกลางที่สตาร์ตอัปจะนึกถึงและเข้ามาทำงานผ่านระบบเดียวกัน เพื่อให้การปั้นสตาร์ตอัปยุคใหม่เป็นไปอย่างแข็งแรงและยั่งยืน

 

ภาพ : SPRiNG Photo

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related