svasdssvasds

อินฟลูเอนเซอร์ ยังเปิดรับหน้าใหม่ โอกาสที่จะทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพที่ใช่

อินฟลูเอนเซอร์ ยังเปิดรับหน้าใหม่ โอกาสที่จะทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพที่ใช่

อินฟลูเอนเซอร์ เส้นทางอาชีพสำหรับคนยุคดิจิทัล เปิดเคล็ดลับการบวนการคิดเนื้อหาจากเหล่าผู้บริหารด้านคอนเทนต์ กิน-เที่ยว ที่มีการแข่งขันสูง ทำยังไงให้มีคนดูและแชร์ต่อ

(21 สิงหาคม 2565) วันที่ 2 ของงาน The Influencer Challenge Contest กับประสบการณ์จริงจาก Influencer และเจ้าของเพจชื่อดังที่มาแบ่งปันความรู้สำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็น อินฟลูเอนเซอร์ มือใหม่เพื่อเริ่มต้นสร้างคอนเทนต์และช่องทางสื่อสารของตัวเองอย่างไรให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการต่อยอดเป็นอาชีพหรือมีคนกดไลค์ แชร์ต่อไปในช่องทางออนไลน์ต่างๆ 

สายท่องเที่ยว สายกิน ที่มักมาคู่กัน
เริ่มกันที่ คุณภูมิ นวสิทธิโสกณ และ คุณบอส จักรพันธ์ วงศ์คณิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sneak out MOVE Group ได้แบ่งปันวิธีคิดสำหรับ อินฟลูเอนเซอร์ สายเที่ยวไว้ว่า เนื้อหาถูกแล้วดีแล้ว ต้อง ถูกเวลาด้วย แม้ว่าจะเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพดี แต่ถ้าไม่อยู่ในกระแส หรือ เป็นที่สิ่งที่คนจำนวนมากสนใจ ก็อาจทำให้คอนเทนต์ปังน้อยกว่า ค้นหาเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ สร้างเอกลักษณ์ และรู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง ด้วยการสำรวจเพจที่มีลักษณะแบบเดียวกัน เช่น ถ้าอยากเปิดเพจเที่ยวก็ควรเช็กว่าตอนนี้มีใครทำแบบไหนไปแล้วบ้าง มีการเที่ยวสายไหนที่ยังมีที่ว่างให้คอนเทนต์ของเราสามารถโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางเพจเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามต้องทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพดี 

คุณภูมิ นวสิทธิโสกณ และ คุณบอส จักรพันธ์ วงศ์คณิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sneak out MOVE Group

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฉพาะแค่เรื่องการท่องเที่ยวอย่างเดียวก็สามารถเจาะกลุ่มเฉพาะตัวได้หลากหลาย เช่น สายงบน้อย สายเที่ยวหรู สายเที่ยวหรือเป็นคู่รัก เป็นต้น ช่วงเริ่มต้นจึงเป็นการทดลอง ที่จะทำให้เห็นข้อผิดพลาดและจับทางจากผู้ชมผ่านคอมเมนต์ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยประเมินขยายต่อยอดจากฟีดแบ็กที่ได้รับมา

แม้จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่ แต่ยังมีโอกาสและพื้นที่สำหรับคอนเทนต์เสมอ แม้จะเริ่มช้ากว่าแต่ยังมีความเป็นไปได้ แค่ต้องลงมือทำจริง ทดลองซ้ำๆ จนเกิดการเรียนรู้แม้ช่วงแรกๆ จะยังมีข้อผิดพลาดยังไม่สมบูรณ์แต่ก็ต้องเริ่มเพื่อมีจุดต่อไป

มากันที่ คุณนัท อภิวิชญ์ เอกธาราวงศ์ Influencer จากเพจ sneak out เริ่มต้นจากเป็นเพจอาหารและต่อยอดมาในส่วนของการท่องเที่ยว โดยตั้งใจเจาะกลุ่มแมสที่มีคนสนใจจำนวนมากที่ชอบลองและติดตามเทรนด์ใหม่ 

คุณนัท อภิวิชญ์ เอกธาราวงศ์ หนึ่งในผู้บรรยาย งาน The Influencer challenge contest สำหรับเคล็ดลับให้สามารถทำคอนเทนต์ได้รวดเร็วกว่าคนอื่นคือ การติดตามเนื้อหาในสิ่งที่ตัวเองสนใจสม่ำเสมอและการเตรียมตัวล่วงหน้า ดังนี้

  • อุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะดวกในการใช้และเหมาะกับการลงคอนเทนต์ได้ง่าย เช่น มือถือ
  • เตรียมร่างแคปชั่นไว้ก่อนคร่าวๆ 
  • เรียนรู้การแต่งภาพ 
  • ศึกษาดาว์นโหลดแอปที่จะช่วยทำให้ภาพสวยขึ้น 
  • สัญญาณอินเทอร์เน็ตต้องแรงเพียงพอที่จะอัปโหลดคอนเทนต์ของเราได้

โดยวางแผนการทำงานด้วยการทำตารางการทำงานคร่าวๆ ให้เป็นขอบเขตการทำงาน และศึกษาธรรมชาติของกลุ่มคนรับสารในแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเน้นโพตส์ลงในเฟซบุ๊ก ก็ควรให้ข้อมูลรายละเอียด ส่วนในอินสตราแกรมต้องให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพให้สวยเข้ากับสถานที่ที่จะไป ส่วนใน ติ้กต้อก คอนเทนต์ที่ตลก สนุก ครีเอทีฟ ใช้เพลงที่กำลังฮิตจะเข้าถึงคนได้ดี ซึ่งต้องคิดล่วงหน้าก่อนทั้งในเรื่องของเนื้อหาและแพลตฟอร์มที่จะใช้งาน เพราะต้องผลิตรูปแบบและขนาดไซส์ที่ไม่เหมือนกัน

ในส่วนของคุณไมเคิล เกษมศักดิ์ ศิริรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ MOVF group กล่าวว่าหาจุดแข็งและเอกลักษณ์ของตัวเองให้เจอ ถ้าไม่สามารถทำคอนเทนต์เป็นคนแรกได้รวดเร็ว ก็ต้องมองมุมอื่นๆ ในเรื่องเดียวกันนี้ เลือกนำเสนอให้แตกต่าง เล่าในมิติที่คนสนใจแม้จะช้าแต่ก็สามารถสร้างผลตอบรับที่ดีได้ เช่น เทรนด์การใช้รถไฟฟ้ากำลังมา อะไรที่เป็นปัญหาคนพบในการใช้งาน ก็สามารถนำมาเป็นตัวตั้งต้นในการทำคอนเทนต์ หรือ การแนะนำข้อมูลเชิงลึกที่ควรรู้ ก็สร้างความน่าสนใจได้ 

ที่สำคัญที่อยากเน้นย้ำสำหรับคนทำคอนเทนต์คือการ Pre-Production การเตรียมตัวก่อนการถ่ายทำ จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นผลดีกับทีมงานส่วนอื่นๆ ที่ต้องรับงานไปทำต่อ สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น ไม่เหนื่อย การหาข้อมูลเตรียมพร้อมก่อนวันถ่ายทำแต่ก็ต้องปรับใช้่ตามเนื้อหาหน้างานให้ได้ ยิ่งเตรียมตัวดี เวลาถ่ายทำจะราบรื่นและทำให้ทำงานได้ทันที ทีมงานทุกคนต้องมองเห็นภาพเดียวกันในหัวในเรื่องที่จะทำ หรือแม้แต้อาจต้องซ้อมมุมมองการถ่ายทำเพื่อให้ออกมาตรงตามกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด

อินฟลูเอนเซอร์ ยังเปิดรับหน้าใหม่ โอกาสที่จะทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพที่ใช่

เทนรด์สำหรับเนื้อหาและการนำเสนอ การทำให้คนติดตามอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปจะช่วยให้อยากดูคลิปต่อจนจบ โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มโดยเฉพาะเฟซบุ๊กจะสนับสนุนเพจใหม่ๆ แนะนำให้เข้าถึงคนมากขึ้น และคลิปสั้นใน TikTok จะเป็นเทรนด์ที่ควรลงไปสร้างคอนเทนต์ร่วมด้วย

ภาพจำเมนูเด็ดที่จะเป็นอาหารจานหลักของเพจและช่องทางของอินฟลูเอนเซอร์ เช่น เมนูพิเศษ คาแรคเตอร์หรือท่าประจำตัว สำหรับ core content ก่อนจะทำเพจควรตอบให้ได้ว่า 1.ทำเพื่ออะไร แก้ปัญหาอะไร 2.มีคนเชื่อเหมือนเรารึเปล่า ใครสนใจ 3.แตกต่างกับคนอื่นยังไง และ 4.ความเชื่อที่ชัดเจน

Niche will be new mass คือการทำเรื่องที่เจาะตลาดกลุ่มเล็ก ที่ชื่นชอบเรื่องเดียวกัน ซึ่งสามารถดึงดูดกลุ่มคนอื่นๆ เข้ามาสนใจได้ด้วย เช่น การรีวิวอาหารจานละ 50 บาท

การนำเสนอจะมาจากความเชื่อตั้งต้นในการทำเพจหรือช่องทางคอนเทนต์ของคุณ โดยเลือกให้ได้ว่าจะให้คุณค่าแบบไหนแก่คนดู จะเป็น การสร้างเอนเตอร์แทน หรือ ประโยชน์ต่อสังคม 

การที่จะทำให้คอนเทนต์มียอดวิวและถูกใจกลุ่มเป้าหมาย คือการทำคอนเทนต์ที่เราเองดูแล้วใจสั่นเก็บไว้ไม่ไหวอยากบอกเล่าให้คนอื่นได้รับรู้ แล้วคนก็จะกดไลค์หรือแชร์ต่อๆกัน โดยบอกสิ่งที่คนดู คนซื้อจะได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการนี้แทนการบอกคุณสมบัติหรือสรรพคุณตรงๆ

มีข้อควรระวังสำหรับคนที่อยากเป็นอินฟลูเอนเซอร์ดังนี้ พูดถึงสินค้ามากเกินไป การให้ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ได้จำเป็นจนยืดยาว การจุดขายไม่ชัด และเลือกกลุ่มเป้าหมายผิดปัจจุบันต้องยิงคอนเทนต์แบบสไนเปอร์ให้ตรงจุด ไม่หว่าน ปรับให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม ฟุตเทจวิดีโอ ภาพ หรือข้อมูลเดียวกันสามารถปรับใช้ในแต่ละแพลตฟอร์มให้เหมาะสมตามที่กล่าวมา

ทั้งนี้ทิ้งท้ายในเรื่องเทรนด์ที่เปลี่ยนไปไว้ว่า ก่อนอื่นถ้าอยากเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ไม่ต้องรอ ลงมือทำได้เลย การเปิดเพจไม่มีค่าใช้จ่าย พฤติกรรมคนในยุคปัจจุบันรวดเร็วมากขึ้นสามารถจดจำรายละเอียดภายใน 1.2 วินาที เล่าเรื่องให้คนว้าว โดยหยิบเฉพาะเรื่องที่ทำให้จังหวะหัวใจเต้นเร็วเจาะกลุ่มเฉพาะด้านในกรุ๊ปเฟซบุ๊คต่างๆ เพื่อจับเทรนด์ที่คนชื่นชอบ กลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายคนเราคุยกันในเรื่องอะไร สนใจอะไรอยู่ ทดลองโพสต์ในรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างเพื่อเข้าใจว่ารูปแบบที่ตอบโจทย์ผู้อ่าน ผู้ดูคอนเทนต์ของเรามากที่สุด เนื้อหาเดิมแต่ครีเอทการนำเสนอใหม่ๆ สามารถดึงดูดความสนใจของคนได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับผู้เริ่มต้นไว้ว่าจะสนใจในเรื่องอะไรให้ศึกษาและดูตัวอย่างเพจที่ได้รับความสนใจเยอะๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในช่วงค้นหาและเริ่มต้นตัวตนของคอนเทนต์ตัวเอง เช่น เพจอาหารต้องหามุมการถ่ายภาพที่ทำให้น่ากิน และ ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้ 

สำหรับ The Influencer Challenge contest เป็นโครงการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพของคนที่ฝันอยากจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ผ่านการอบรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟกับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ประสบความสำเร็จ ตลอด 2 วัน 20-21 ส.ค. 65 ที่ ทรู ดิจิทัล ปาร์ค และผู้สนใจส่งผลงานเข้สประกวด สามารถส่งผลงานมาได้ถึงสิ้นเดือนกันยนยน 2565 เพื่อให้กรรมการคัดเลือกและมอบโจทย์ในรอบชิงชนะเลิศ เพื่อชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 500,000 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ The Influencer Challenge Contest (https://www.facebook.com/TheInfluencerChallengeContest)

related