svasdssvasds

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ฮอตหนักช่วง 9.9 10.10 11.11 ตั้งแต่เมื่อไหร่?

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ฮอตหนักช่วง 9.9 10.10 11.11 ตั้งแต่เมื่อไหร่?

9.9 กลายเป็นดีเดย์ของนักช็อปออนไลน์เพราะสารพัดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซปล่อยโปรจุกๆ ดึงดูดเงินออกจาก e-Wallet บัตรเดบิตและเครดิต เงินในแอปธนาคาร ฯลฯ แต่ก่อนจะมีเทศกาลช็อป 9.9 ดีเดย์ที่มาก่อนคือ 11.11 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากคนไม่มีแฟน แต่กลายเป็นวันที่สร้างยอดขายหนักมาก!

เชื่อว่าคนที่ติดตาม SPRiNG News คุ้นเคยกับการช็อปผ่าน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, JD และน่าจะจดจำเลข 11.11 ได้เป็นอย่างดี

Source : Pexels

11.11 กับจุดเริ่มต้นที่มาก่อนกาล

เหตุที่เรียก 11.11 ว่า วันคนโสด (Singles' Day) เพราะวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 1993 มีนักศึกษาหนุ่มโสด 4 คน รวมตัวกัน ณ มหาวิทยาลัยหนานจิง เพื่อหาวิธีคลายเหงาด้วยการนัดมาฉลองความโสดร่วมกันซะเลย

ต่อมา แดเนียล จาง ซีอีโอ อาลีบาบา ก็สร้างแคมเปญลดราคาสินค้าในวันคนโสดเป็นครั้งแรกในปี 2009 ปรากฏว่า กระแสมาแรงจนทำให้ยอดการทำธุรกรรมในวันคนโสด แซงหน้าเทศกาลช็อปสุดดังในอเมริกาอย่าง Cyber ​​Monday (ที่จัดขึ้นหลังวันขอบคุณพระเจ้าของทุกปี) ไปอย่างขาดลอย หลังจากนั้น อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ก็ประกาศเปิดตัว วันคนโสด อย่างเป็นทางการ และหลังจากนั้นก็แพร่ไปทั่วอาเซียน

หน้าจอขนาดยักษ์เผยยอดจำหน่ายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบา ระหว่างเทศกาลชอปปิงประจำปี ที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน วันที่ 12 พ.ย. 2020 | ที่มา : Xinhua

สรุปไทม์ไลน์สำคัญของ ‘วันคนโสด

  • 11.11.1993
    4 หนุ่มโสดนักศึกษามารวมตัวกันด้วยการนัดหมายฉลองความโสดที่ ม.หนานจิง
  • 11.11.2009
    ไอเดียจุดประกายขายของ Sale โดย แดเนียล จาง ซีอีโอ Alibaba ทำให้วันคนโสดกลายเป็นวันหยุดเพื่อการช็อปปิง (ช็อปสินค้าให้ตัวเอง)
  • 11.11.2012
    ยอดขายสินค้าของ Alibaba ในวันคนโสด แซงหน้าเทศกาลช็อปอย่าง Cyber Monday เป็นปีแรก
  • 28.12.2012
    Alibaba ออกเครื่องหมายการค้าวันคนโสดเป็นตัวอักษรจีน 双十一 ซึ่งหมายถึง เลข 11 ที่เบิ้ลสองครั้ง
  • 11.11.2017
    ท็อปฟอร์มของวันคนโสด! เนื่องจากมีการทำธุรกรรมผ่านแอป Alipay สูงถึง 256,000 ครั้ง/วินาที และมีพัสดุรวม 775 ล้านชิ้น ที่ต้องจัดส่งจากคำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง
  • 11.11.2021
    เทศกาลการขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดและมีมูลค่ามากที่สุด โดยมูลค่าสินค้ารวม (GMV) ที่ผู้คนซื้อกันในช่วงเทศกาลคนโสดอยู่ที่ 540.3 พันล้านหยวน หรือ 84.5 พันล้านดอลลาร์ (ราว  2.8 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้น 26% จากปี 2020 

..................................................................................................

อ่านเพิ่มเติม

..................................................................................................

พนักงานเคลื่อนย้ายพัสดุที่ศูนย์โลจิสติกส์ในนครเจิ้งโจว เมืองเอกของมณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน วันที่ 11 พ.ย. 2021 | ที่มา : Xinhua

อย่างไรก็ตาม เทรนด์การช็อปปิงออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ จะยังเติบโตอีกมากและอีกหลายปี ดูได้จากการคาดการณ์โดยองค์กรชั้นนำ สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการด้าน Data สำนักข่าว ฯลฯ อาทิ 

Globenewswire.com เผยว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกจะโตถึง 52.06 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2027 จากที่มีมูลค่าตลาด 14.30 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2021

Morgan Stanley วิเคราะห์คาดการณ์ว่า สัดส่วนการค้าปลีกผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2022 จะโตขึ้น 0.25% ซึ่งมากกว่าภูมิภาคอื่น

Source : Morgan Stanley

กลับมาดูการช็อปปิงในไทย เราช็อปกันกี่เทศกาล เข้าแพลตฟอร์มไหนกันบ้าง?

การที่ไทยติดอันดับ 1 ของประเทศที่มีการช็อปปิงออนไลน์ต่อสัปดาห์มากที่สุดในโลก ณ ไตรมาส 1 ของปี 2022 บ่งบอกว่า คนไทยสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว โดยมีสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้น ส่วนภาครัฐและเอกชนต่างก็ผลักดันและสนับสนุนให้ใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ และหากพิจารณาเทศกาลช็อปในเมืองไทยแบบเกาะอีเวนต์หรือเทศกาล เว็บไซต์ Janio.asia แบ่งช่วงช็อปปิงออนไลน์ในไทยออกเป็น

  • เทศกาลช็อปปิงหลักๆ 
    • 9.9 และ 10.10
    • วันคนโสด 11.11
    • Black Friday
    • 12.12
  • เทศกาลช็อปปิงอิงประเพณี
    • วันสงกรานต์ 13-15 เมษายน 
    • วันคริสต์มาส
  • วันปีใหม่
  • อีเวนต์อื่นๆ ที่มีผลต่อการช็อป
    • วันเด็ก (เสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม) 
    • วันตรุษจีน (ในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์)

สำหรับเทศกาลช็อป 9.9 และ 10.10 เป็นการต่อยอดกิมมิกจาก 11.11 ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทยอย่างมาก ทั้งบนแพลตฟอร์ม Lazada ผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนซื้อกิจการไปแล้ว และ Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซภายใต้บริษัท SEA Group จากสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นเบอร์ 1 ในไทย ตามมาด้วย Lazada

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ฮอตหนักช่วง 9.9 10.10 11.11 ตั้งแต่เมื่อไหร่?

แบรนด์ Shopee จัดเทศกาล Shopee 9.9 Super Shopping Day ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยในปีที่ผ่านมา เพียง 2 ชั่วโมงแรกของวัน มียอดซื้อสินค้าสูงสุดใน 1 นาที อยู่ที่ 1.8 แสนบาท และยอดจำหน่ายสูงสุดอยู่ที่ 1.8 ล้านชิ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้ากว่า 45 ล้านชิ้นออกไปภายใน 99 นาทีแรกของวันที่ 9 เดือน 9 และสำหรับข้อมูลอัปเดตในปีนี้ 3 หมวดสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด ณ เดือนมกราคม - สิงหาคม ได้แก่

  • เครื่องใช้ภายในบ้าน
  • ความงามและของใช้ส่วนตัว
  • มือถือและอุปกรณ์เสริม

สุดท้ายนี้ ชวนดู Top 3 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย (ข้อมูล ณ ​เดือนสิงหาคม 2022) ได้แก่

  • อันดับ 1 shopee.co.th
  • อันดับ 2 lazada.co.th
  • อันดับ 3 kaidee.com 

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ฮอตหนักช่วง 9.9 10.10 11.11 ตั้งแต่เมื่อไหร่?

นอกจากนี้ Statista เผยตัวเลขคาดการณ์ของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยว่าจะโตต่อเนื่อง

  • ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะสร้างรายได้ถึง 22.20 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2022
  • ด้านสัดส่วนตลาดในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่า 1,412 พันล้านดอลลาร์ คือรายได้ส่วนใหญ่ที่มาจากจีน
  • คาดว่าจำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะแตะ 43.5 ล้านคน ภายในปี 2025

ขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซโต แต่บริษัทสตาร์ทอัพหลายรายลดการจ้างงานลง ธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็ขยับตัวเช่นกัน เช่น Shopee ที่สำนักข่าวต่างประเทศเปิดเผยว่า ประกาศปิดสำนักงานใน 4 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และอาร์เจนตินา โดยจะเน้นไปที่การค้าขายข้ามพรมแดนแทน

..................................................................................................

ที่มา

..................................................................................................

related