svasdssvasds

ผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิปไต้หวัน เตือนโลกาภิวัฒน์ใกล้ถึงจุดสิ้นสุด

ผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิปไต้หวัน เตือนโลกาภิวัฒน์ใกล้ถึงจุดสิ้นสุด

ผู้ก่อตั้ง TSMC เตือนโลกาภิวัฒน์ใกล้ถึงจุดจบ พร้อมตั้งความหวังการผลิตชิปในสหรัฐหนุนให้มีปริมาณชิปในตลาดโลกอย่างยั่งยืน

มอร์ริส ชาง บิดาแห่งอุตสาหกรรมชิปไต้หวันให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ นิกเคอิ เอเชีย ว่า ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เผชิญอยู่ พร้อมเตือนว่า กระแสโลกาภิวัตน์และการค้าเสรีกำลังจะถึงจุดจบ และไม่อาจฟื้นกลับมาได้อีก

มอร์ริส ชาง ผู้ก่อตั้งบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) กล่าวถึงประเด็นนี้ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนาของสหรัฐ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) ซึ่งเป็นสถานที่ที่บริษัททำการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในโรงงานแห่งใหม่ ถือเป็นโรงงานผลิตชิปขั้นสูงแห่งแรกในสหรัฐของทีเอสเอ็มซี ในรอบกว่า 20 ปี ซึ่งชาง ยังคงย้ำว่า บริษัทยังคงทำงานหนักเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

กระแสโลกาภิวัฒน์กำลังถึงจุดจบ

ทั้งนี้ มอร์ริส ชาง เปรียบเทียบโครงการในปัจจุบันที่มีมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์ กับช่วงที่ TSMC สร้างโรงงานแห่งแรกในเมืองคามาส รัฐวอชิงตันดีซี ของสหรัฐ เมื่อปี 2538 หลังบริษัทเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลกมานาน 8 ปี ว่า “27 ปี ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ครั้งใหญ่ของโลกเช่นกัน กระแสโลกาภิวัฒน์กำลังถึงจุดจบ และการค้าเสรีกำลังจะหมดไป หลายคนหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะฟื้นคืนกลับได้อีกแต่ผมไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น”

อนึ่ง Globalization หรือ โลกาภิวัตน์ หมายถึง การทำให้แพร่หลายไปทั่วโลก และการเปลี่ยนแปลงที่กระทบถึงกันทั่วโลก 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

คลิปข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเห็นนี้ของ มอร์ริส ชาง เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความขัดย้งระหว่างสหรัฐและจีนต่ออุตสาหกรรมชิป ว่าแบ่งซัพพลายเชนเทคโนโลยีโลกออกเป็นสองฝ่าย

มอร์ริส ชาง กล่าวว่า เขาใฝ่ฝันมาตลอดว่าอยากสร้างโรงงานผลิตชิปหรือสร้างห้องแลปในสหรัฐ เนื่องจากภูมิหลังของเขา ที่จบการศึกษาและเคยทำงานในสหรัฐอยู่นานหลายสิบปี แต่ประสบการณ์ทำงานครั้งแรกไม่ค่อยราบรื่น

“ตอนนั้นผมคิดว่าความฝันกลายเป็นจริงแล้ว แต่การสร้างโรงงานครั้งแรกมีปัญหาเรื่องต้นทุน คนงาน และวัฒนธรรมต่าง ๆ จากความฝันที่เป็นจริงกลายเป็นฝันร้ายที่เป็นจริงแทน บริษัทต้องใช้เวลาหลายปีในการปลดปล่อยตัวเองจากฝันร้าย ผมจึงตัดสินใจว่า เราจำเป็นต้องเลื่อนความฝันออกไปก่อน” ชาง กล่าว

หลายสิบปีหลังจากนั้น TSMC จึงเน้นไปที่การสร้างความสามารถในการผลิตชิปที่ล้ำสมัยในในบ้านเกิดตัวเอง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้บริษัทลดต้นทุนให้ต่ำลงได้ ในขณะเดียวกันก็พัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

ส่วนครั้งนี้ TSMC มีความเตรียมพร้อมมากกว่าเมื่อครั้งตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งแรกในสหรัฐ แถมยังได้แรงสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐด้วย

ทั้งนี้ คณะผู้บริหารระดับสูงและบรรดาซีอีโออุตสาหกรรมเทคโนโลยีหลายแห่งได้เข้าร่วมงานเปิดตัวครั้งนี้ รวมถึงประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่ยกย่องโรงงานแห่งนี้ว่าเป็นชัยชนะของสหรัฐในการผลักดันการผลิตชิปล้ำสมัยในประเทศ 

ด้าน TSMC ประกาศในวันเดียวกันว่า บริษัทจะลงทุนในรัฐแอริโซนามากถึง 3 เท่า คิดเป็นมูลค่ารวม 40,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำพาชิปขั้นสูงสุดเข้าสู่สหรัฐ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

related