svasdssvasds

ธ.กรุงเทพฯ แนะนำผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง พิมพ์ URL เองทุกครั้ง

ธ.กรุงเทพฯ แนะนำผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง พิมพ์ URL เองทุกครั้ง

หลังเจอกรณีแฮคข้อมูลจากการขอสเตทเม้นธนาคารกรุงเทพ ที่เผยแพร่โดยเพจ Drama Addict ที่มีการนำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ ทางธนาคารกรุงเทพก็ได้ออกจดหมายแนะนำการป้องกันตนเองจากภัยไซเบอร์

ตามที่มีข่าวปรากฏในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับลูกค้ารายหนึ่ง ที่ต้องการเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง โดยกดค้นหาเว็บไซต์จากผู้ให้บริการโปรแกรมค้นหา (Search engine) ซึ่งมิจฉาชีพได้เข้ามาซื้อโฆษณา เพื่อเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ปลอมที่มีชื่อ URL ใกล้เคียงกับเว็บไซต์ของธนาคาร จนเป็นเหตุให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปสวมรอยเพื่อทำรายการโอนเงินของลูกค้า

นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ผู้จัดการจัดการความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารมีความห่วงใยในความปลอดภัยของลูกค้าทุกท่าน

สำหรับกรณีล่าสุดที่ลูกค้าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งถูกหลอกลวงเอาข้อมูล ขอแนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังในการเข้าใช้งาน ด้วยการพิมพ์ URL ของเว็บไซต์ธนาคารด้วยตนเอง

โดยหลีกเลี่ยงการกดลิงก์ต่าง ๆ ที่อาจแนบมากับสื่อหรือการค้นหาผ่านโปรแกรม Search engine ต่าง ๆ ที่อาจถูกมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาลวงเอาข้อมูลสำคัญ เช่น รหัส PIN และ OTP (One-time password) เพื่อนำไปสวมรอยทำโจรกรรม

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

 

นอกจากนี้ ธนาคารขอเรียนให้ลูกค้าทุกท่านทราบว่า ธนาคารไม่มีนโยบายสอบถามหรือขอข้อมูลส่วนตัวและเอกสารส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น รหัสผู้ใช้ (Username) รหัส PIN หรือ รหัส OTP จากลูกค้าแต่อย่างใด ลูกค้าจึงควรระมัดระวังและตรวจสอบให้แน่ใจก่อนกรอกข้อมูลส่วนตัวดังกล่าวลงในเว็บไซต์

ธนาคารกรุงเทพ ให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า โดยลูกค้าทุกท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ จากสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารกรุงเทพทุกช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ธนาคาร, Bangkok Bank LINE Official

หรือหากต้องการคำแนะนำ บริการ หรือความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อธนาคารได้ที่สาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ หรือบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0 2645 5555

 

 

related