svasdssvasds

Synchron เปิดรับอาสา ทดลองฝังชิปในสมอง หวังแปลสัญญาณสมอง จากผู้ป่วยอัมพาต

Synchron เปิดรับอาสา ทดลองฝังชิปในสมอง หวังแปลสัญญาณสมอง จากผู้ป่วยอัมพาต

Synchron สตาร์ทอัพซึ่งเป็นคู่แข่งกับ Neuralink ของ Elon Musk ได้เปิดลงทะเบียนเพื่อรับสมัครผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพสำหรับการทดลองฝังชิปในสมองแล้ว โดยมีจุดประสงค์ หวังคนป่วยอัมพาต ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านความคิด ได้

SHORT CUT

  • Synchron บริษัทสตาร์ทอัพซึ่งเป็นคู่แข่งกับ Neuralink ของ Elon Musk ได้เปิดลงทะเบียนเพื่อรับสมัครผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพสำหรับการทดลองฝังชิปในสมองแล้ว 
  • โดยมีความต้องการอาสาที่เป็น คนป่วยอัมพาต ให้มีการฝังชิปในสมอง เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านความคิด  ได้ 
  • ก่อนหน้านี้ "Neuralink" เคยฝังชิปในสมอง ครั้งแรกสำเร็จ เมื่อ ม.ค. 67  แต่ ของ Synchron นั้น ถือว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบการปลูกถ่ายสมองระดับสูงกว่า Neuralink ทั้งสองบริษัทตั้งเป้าที่จะช่วยผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตพิมพ์บนคอมพิวเตอร์โดยใช้อุปกรณ์ที่แปลสัญญาณสมองเหมือนกัน

Synchron สตาร์ทอัพซึ่งเป็นคู่แข่งกับ Neuralink ของ Elon Musk ได้เปิดลงทะเบียนเพื่อรับสมัครผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพสำหรับการทดลองฝังชิปในสมองแล้ว โดยมีจุดประสงค์ หวังคนป่วยอัมพาต ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านความคิด ได้

Synchron บริษัทสตาร์ทอัพด้านชิปสมองในบรุกลิน นิวยอร์ก สหรัฐฯ  เปิดโครงการทะเบียน เพื่อรับสมัครผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ก่อนการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ตามแผน

Synchron บริษัทซึ่งถือเป็นคู่แข่งกับ Neuralink ของ อีลอน มัสก์ Elon Musk ได้สร้างอุปกรณ์ปลูกถ่ายในสมองที่เรียกว่า Brain-Computer Interface (BCI) ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตสามารถควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนด้วยความคิดของพวกเขา

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เปิดตัวการลงทะเบียน BCI ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง” ทอม อ็อกลี่ย์ Tom Oxley ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Synchron กล่าวในแถลงการณ์ “มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นกับ BCI เรากำลังสร้างช่องทางให้ผู้ที่อาจจะได้เป็นผู้ใช้งานและแพทย์ของพวกเขาได้มีส่วนร่วมและเชื่อมต่อถึงกัน ในขณะที่เราเตรียมพร้อมสำหรับการทดลองทางคลินิกขั้นต่อไป”

ทอม อ็อกลี่ย์ ให้ความเห็นว่าการทดลองครั้งนี้อาจรวมผู้เข้าร่วมได้มากถึงหลายสิบคน และศูนย์ทดลองทางคลินิก 120 แห่งได้แสดงความสนใจที่จะช่วยดำเนินการศึกษานี้แล้ว

“ส่วนหนึ่งของการลงทะเบียนนี้คือการเริ่มต้นให้แพทย์ท้องถิ่นสามารถพูดคุยกับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวได้” 

Synchron คู่แข่งของ Neuralink กำลังรับสมัครผู้ป่วยเพื่อทดลองฝังชิปในสมอง Credit ภาพ REUTERS  

ตั้งเป้า แปลสัญญาณสมอง จากผู้ป่วยอัมพาต

Synchron กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบการปลูกถ่ายสมองระดับสูงกว่า Neuralink ทั้งสองบริษัทตั้งเป้าที่จะช่วยผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตพิมพ์บนคอมพิวเตอร์โดยใช้อุปกรณ์ที่แปลสัญญาณสมองเหมือนกัน

Synchron ได้รับอนุญาตจากทางการสหรัฐให้ทำการทดสอบเบื้องต้นในเดือนกรกฎาคม 2564 และได้นำอุปกรณ์ของตนไปฝังในผู้ป่วย 6 ราย บริษัทรายงานว่า การทดสอบก่อนหน้านี้ในผู้ป่วย 4 รายในออสเตรเลียไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรง โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลในสหรัฐฯ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาขนาดใหญ่ ขณะรอการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA เพื่อดำเนินการต่อ 

Synchron ซึ่งมีนักลงทุนที่มีชื่อเสียงรวมถึงมหาเศรษฐี เจฟฟ์ เบซอส Jeff Bezos และ บิลล์ เกตส์  Bill Gates มีการแข่งขันกับ Neuralink ในอุปกรณ์ที่เรียกว่า Brain Computer Interface (BCI) อุปกรณ์ดังกล่าวใช้อิเล็กโทรดที่เจาะสมองหรือติดตั้งบนพื้นผิวสมองเพื่อให้การสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์

แต่ยังไม่มีบริษัทใดได้รับการอนุมัติขั้นสุดท้ายจาก FDA ให้ทำการตลาดการปลูกถ่ายสมอง

Synchron คู่แข่งของ Neuralink กำลังรับสมัครผู้ป่วยเพื่อทดลองฝังชิปในสมอง Credit ภาพ REUTERS

"Neuralink" เคยฝังชิปในสมอง ครั้งแรกสำเร็จ เมื่อ ม.ค. 67

ก่อนหน้านี้ Neuralink ซึ่งได้ประกาศผลการพัฒนาบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X ของ อีลอน มัสก์ Musk เป็นหลัก ไม่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการทดลองทางคลินิก จนถึงขณะนี้ บริษัทได้ประกาศว่าจะฝังอุปกรณ์ของตนในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตรายหนึ่งแล้ว ซึ่งบริษัทยืนยันว่าได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

การทดสอบการปลูกถ่ายชิปในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจมีความท้าทายเป็นพิเศษ เนื่องจากสมองของแต่ละบุคคลอาจได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนไม่มีสัญญาณประสาทเพียงพอที่จะตรวจวัดได้ โดย FDA ได้ขอให้ Synchron คัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้การทดสอบแบบปกติเพื่อตรวจสอบว่าพวกเขาจะตอบสนองต่อการปลูกถ่ายหรือไม่ 

ในปี 2020 Synchron รายงานว่าผู้ป่วยในการศึกษาในออสเตรเลีย สามารถใช้อุปกรณ์รุ่นแรกในการพิมพ์โดยเฉลี่ย 16 ตัวอักษรต่อนาที

จากการติดตั้งอุปกรณ์บนศีรษะและบันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้าของสมอง ซึ่งช่วยให้ผู้คนพิมพ์อักขระได้มากถึงแปดตัวอักษรต่อนาที แต่ยังไม่ใช่ความสำเร็จแบบก้าวกระโดดอย่างที่หวัง

ที่มา :neuronewsinternational qz

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related