svasdssvasds

ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบควอนตัมจาก 10 ชั่วโมง เหลือเพียง 3 นาที

ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบควอนตัมจาก 10 ชั่วโมง เหลือเพียง 3 นาที

ต่อไปนี้การชาร์จไฟกับรถ EV จะไม่นานอีกต่อไป เพราะได้มีทีมนักวิจัยคิดค้นนำเทคโนโลยีควอนตัมมาใช้ ในเรื่องของการเพิ่มพลังการทำงานให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ ที่ย่นเวลา จาก 10 ชั่วโมง เหลือเพียง 3 นาที

.

Digital life วันนี้เฟรมขอพามาอัพเดทเรื่องราวของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ รถพลังงานไฟฟ้า หรือ รถ EV กันต่อนะคะ

เพราะที่ผ่านมาที่ทำมาหลายคลิป รู้สึกคนให้ความสนใจเรื่องรถไฟฟ้ากันเยอะมาก วันนี้เฟรมเลยไปสรรหาเรื่องราวของการชาร์จไฟ ที่กำลังเป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญในการตัดสินใจว่าจะซื้อ หรือ ไม่ซื้อดี 

ต่อไปนี้การชาร์จไฟกับรถ EV จะไม่นานอีกต่อไป เพราะได้มีทีมนักวิจัยคิดค้นนำเทคโนโลยีควอนตัมมาใช้ในเรื่องของการเพิ่มพลังการทำงานให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ย่นเวลา จาก 10 ชั่วโมง เหลือเพียง 3 นาที

แล้ว เทคโนโลยีควอนตัม มันคืออะไร

เราได้ยินมาสักพักใหญ่แล้วว่ามันจะมาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของเรา เอาจริงๆ มันก็ค่อนข้างที่จะยากเพราะมันเป็นเรื่องของทางฝั่งเทคนิค ทางฝั่งผู้ผลิต แต่เฟรมจะพูดให้เห็นภาพง่ายๆ ในมุมมองของผู้ใช้งานนะคะ

ควอนตัม คือ สสารหรือพลังงานที่อยู่ในระดับอะตอม หรืออาจจะมีขนาดเล็กกว่านั้น คือมันเล็กมากๆๆๆๆ แล้วถ้าเอา เทคโนโลยีควอนตัมมาเป็นตัวตั้งต้นในการผลิตอะไรซักอย่าง เช่น chip / computer มันก็จะให้ประสิทธิภาพในเรื่องของ ขนาด ของความเร็ว ของการประมวลที่ได้เร็วกว่าระบบที่เราใช้อยู่ในทุกกวันนี้ ถึง 1 ล้านเท่า ! สิ่งที่เราแรง ว่าเร็ว ในตอนนี้ อาจตกยุคไปเลย

แล้วทำไมของดีขนาดนี้ ไม่รีบเอามาใช้กันหละ

คือจริงๆ ผู้พัฒนาต่างๆเขาก็อยากใช้กันนะ แต่มันต้องพัฒนาไปควบคู่กับพวกอุปกรณ์ที่จะรองรับ เทคโนโลยีควอนตัม ด้วย ซึ่งตอนนี้ ยังไม่มีอย่างแพร่หลาย มีบ้างในระดับองค์กรณ์ใหญ่ๆ เพราะในฝั่งของ Home use ก็ดูท่าจะยังไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่

 กลับมาที่เรื่องการชาร์จไฟรถ Ev ด้วยเทคโนโลยีควอนตัม

ครั้งนี้เป็นการคิดค้นของ ทีมนักวิจัยจาก Institute for Basic Science ในเกาหลีใต้ ที่เขาอ้างว่า จะสามารถลดเวลาจาก 10 ชั่วโมงเหลือเพียง 3 นาที!

วิธีการทำงานที่ทีมวิจัยได้เปิดเผยออกมาก็คือ แบตเตอรี่ควอนตัมจะทำงานด้วยปรากฎการณ์ที่เรียกว่า  ซูเปอร์แอบซอร์ปชั่น ที่คล้ายกับการซึบซับแสงของโมเลกุล โดยกระบวนการนี้จะลดระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่ตามจำนวนโมเลกุล ง่ายๆก็คือ  ยิ่งแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งชาร์จไฟได้เร็วมากขึ้น

แต่จากที่เฟรมไปตามอ่านคอมเมนต์มานะคะ มีหลายความเห็นยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องกระแสไฟที่จะพุ่งเข้าสู่ตัวรถ ที่มันรวมเร็วขนาดนี้ มันจะส่งผลกระทบอะไรไหมถ้าเกิดการชำรุจของอุปกรณ์ อันนี้ก็น่าคิดตามอยู่นะคะ

 แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการนำเทคโนโลยีควอนตัม มาผนวกเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา และถ้ามันสามารถพัฒนาไปพร้อมๆกัน อย่างฝั่งผู้ผลิตรถ ผลิตแบต ก็อาจจะต้องกคำนึงถึงการรองรับการใช้งานกับ เทคโนโลยีนี้ไปด้วยเลย ก็อาจจะทำให้เราได้เข้าใกล้เทคโนโลยีนี้มากยิ่งขึ้น

เพราะเรื่องเทคโนโลยีไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตเรา มาอัพเดทไปพร้อมกันกับเฟรมนะคะ