svasdssvasds

Zephyr ทำลายสถิติเที่ยวบินไร้คนขับที่ยาวที่สุดแล้ว

Zephyr ทำลายสถิติเที่ยวบินไร้คนขับที่ยาวที่สุดแล้ว

เครื่องบินไร้คนขับ Zephyr s ที่เดินทางด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ได้เดินทางบนอากาศมาเป็นเวลา 26 วันแล้ว ทุบสถิติเดิมในปี 2018 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมเปิดคุณสมบัติเครื่องบิน

ที่สุดของเครื่องบินไร้คนขับ Airbus Zephyr S ซึ่งเป็นเครื่องบินใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อน ตอนนี้ได้ทำลายสถิติเที่ยวบินที่บินยาวนานที่สุดได้สำเร็จ โดยทำไปได้ 26 วันติดต่อกันในอากาศ เที่ยวบินนี้ได้ทำการบินจากรัฐแอริโซนาไปยังเบลีซในอเมริกากลาง แล้วก็บินกลับมายังแอริโซนาอีกครั้ง

ความพิเศษของ Zephyr ต่างจากเครื่องบินไร้คนขับอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถบินได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ด้วยระดับความสูง 70,000 ฟุต เหนือสภาพอากาสและการจราจรทางอากาศทั่วไป

แต่ Zephyr เครื่องนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับการโดยสารเชิงพาณิชย์แต่อย่างใดนะ ทำหน้าที่เสมือนดาวเทียม และทำหน้าที่เป็นโดรนสำรวจทางอากาศตามแต่ละภารกิจที่ได้รับ มันทำงานควบคู่ไปกับดาวเทียม geostationary แต่มีความคล่องแคล่วคล้ายกับเครื่องบินทั่วไป

ในปี 2018 Zephyr ทำสถิติได้ถึง 25 วัน 23 ชั่วโมง 57 นาที โดยไม่ต้องเติมน้ำมัน แต่ตอนนี้ทุบสถิติตัวเองได้อีกเป็น 26 วัน เป็นเครื่องบินที่มีความแม่นยำในระดับหนึ่ง ซึ่งเครื่อง Zephyr จะบินใกล้กับสถานีภาคพื้นดินจนทำให้เวลาเช็คเรียลไทม์สามารถทำได้ง่ายๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่วนความปลอดภัย ถือว่าอยู่ในระดับแนวหน้าของ UAS แล้ว โดยได้รับการอนุมัติบินเพื่อใช้ในทางทหารและบรรเทาภัยพิบัติได้หากจำเป็น ส่วนใหญ่มันจะบินในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ และจะถูกคุ้มเส้นทางคล้ายๆกับดาวเทียมได้เลย ความสามารถในการนำทาง (Beyond Line of Sight (BLOS)) หลังบินขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะใช้เวลา 8 ชั่วโมง เพื่อนำทางไปยังเส้นทางที่กำหนดไว้ โดยจะมีการควบคุมผ่านสถานีควบคุมภาคพื้นดินที่ใดก็ได้บนโลก

Airbus Zephyr S ตัวปีกกว้าง 25 เมตร น้ำหนักน้อยกว่า 75 กิโลกรัมเท่านั้น แต่ประสิทธิภาพของการขนส่ง แน่นอนว่ายิ่งโหลดของเยอะจะยิ่งช้าขึ้นตามประสิทธิภาพ Zephyr เป็น payload agnostic เข้ากันได้กับ OPAZ ซึ่งเป็นระบบ Earth Observation ของ Airbus ที่ออกแบบมาสำหรับสตราโตสเฟียร์ซึ่งให้ภาพและวิดีโออินฟาเรดขนาด 18 ซม. และ 70 ซม. ซึ่งชัดเจนในระดับหนึ่งสำหรับดาวเทียม หรืออาจมีประสิทธิภาพมากกว่านั้น

ถือเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคตที่คงทนมาก เนื่องจากตัวเครื่องบินล้วนใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบ 100% จึงมีแบตเตอรี่ในตัวเพื่อให้คงอยู่ในอวกาศข้ามคืนได้ ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องหยุดเพื่อจ่ายเชื้อเพลิงเพิ่มระหว่างทางเลย ประหยัดงบค่าเชื้อเพลิงลงไปได้เยอะ

โฆษกของ Assured Position, Navigation and Timing/Space office of the United States Army Futures Command - สาขาของกองทัพสหรัฐฯ - บอกกับ The Drive ว่าการทดสอบการบินล่าสุดมีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความจุพลังงานของ UAV อายุการใช้งานแบตเตอรี่ พลังงานแสงอาทิตย์ ประสิทธิภาพของแผงควบคุม และความสามารถในการรักษาสถานี"

ทิม โรบินสัน บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Aerospace บอกกับ BBC ว่า เขาคิดว่าระยะทางนี้เป็นก้าวสำคัญสำหรับความสามารถของเครื่องบินที่จะเดินทางไกลเกินกว่าสายตาของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการเปิดประตูสู่การใช้งานจริงของเครื่องบิน

การทำงานที่เด่นชัดของมันคือการเก็บข้อมูลเสมือนดาวเทียมเครื่องหนึ่งที่มีความคมชัดกว่า อัพเดตไวกว่า มีความต่อเนื่องและต้นทุนไม่สูงเพราะไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง แถมไม่ปล่อยมลพิษ

Zephyr ถูกคิดค้นโดย Chris Kelleher ซึ่งเสียชีวิตในปี 2015 แอร์บัสได้เปิดโรงงานผลิตซีเรียลแห่งแรกสำหรับเครื่องบินประเภทนี้ในเมือง Farnborough ในอีก 3 ปีต่อมา และตั้งชื่ออาคารเหล่านั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

และตอนนี้มันก็ยังคงบินอยู่ในอากาศอย่างต่อเนื่องจะเข้าสู่วันที่ 27 แล้ว ก็หวังว่ามันจะอยุ่ได้นานกว่านี้มาก ๆ เพื่อเป็นเทคโนโลยีใหม่แห่งโลกใบนี้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มาข้อมูล

https://www.airbus.com/en/products-services/defence/uas/uas-solutions/zephyr

https://www.bbc.com/news/technology-62123819

related