svasdssvasds

"ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล

"ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และประธานเครือข่ายวิชาการและประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายเชิงพื้นที่ เพื่อให้รัฐบาลทบทวนนโยบาย EEC

วานนี้ (23 พฤศจิกายน 2561) ที่ศาลากลาจังหวัดฉะเชิงเทรา ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และ ประธานเครือข่ายวิชาการและประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (วสส.) มอบหมายให้ตัวแทนจากมหาวิยาลัยรังสิต นายธัชพงษ์ แกดำ และ นายสมภพ ดอนดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เข้ายื่นหนังสือต่อ นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ ประธานคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายเชิงพื้นที่ (อกขร.พื้นที่) เพื่อให้รัฐบาลทบทวนนโยบาย EEC นายธัชพงษ์ แกดำ และ นายสมภพ ดอนดี ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำหนังสือจากดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีฯ และ ประธาน วสส. เข้ายื่นต่อ นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ ประธานอกขร.พื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัด ฉะเชิงเทรา ก่อนการประชุมรับฟังข้อเท็จจริงกรณีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจEEC ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี

"ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล

โดยมีสาะระสำคัญ คือ ให้คณะอนุกรรมการฯ อกขร.พื้นที่ นำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล เพื่อให้ปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ภายใต้ประกาศเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก - EEC อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และวิถีชีวิตประชาชน ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs หลักกฎหมาย และหลักเศรษฐกิจพอเพียง บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง เนื่องจากมีการประกาศเขต EEC ทับพื้นที่สีเขียวในเขตอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งรวมถึงโครงการท่าเรือบก โครงการสร้างสถานีซ่อมรถไฟ ในเขตฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกการดำเนินโครงการเป็นการทำผิดกฎหมายผังเมือง พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครแห่งที่ ๒ ของนายวิกรม กรมดิษฐ์ ที่ได้รับการประกาศเป็นเขต EEC โดยเฉพาะพื้นที่โครงการบลูเทค ซิตี้ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อเกษตรกรรมตามประกาศผังเมือง ห้ามมิให้มีการก่อสร้างคลังสินค้า แต่ อบต.ตำบลเขาดิน ได้ออกใบอนุญาตขุดดินและถมดินระบุว่าเพื่อทำคลังสินค้า อันเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ส่วนการขายที่ดินของเจ้าของที่ดินที่จะสร้างโครงการ บลูเทค ซิตี้ กระทำผิดกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพราะเป็นการขายที่ดินนาโดยไม่แจ้งผู้ให้เช่าตัดสินใจก่อน

ประการสำคัญคือพื้นที่โครงการดังกล่าว ขณะนี้ยังไม่ผ่าน EIA แต่ผู้ลงทุนกำลังถมบ่อปลาและที่นา พร้อมกับมีการขนเครื่องมือก่อสร้างมาไว้ในโครงการเป็นจำนวนมากแล้ว

ในหนังสือของ ดร.อาทิตย์ ยังระบุอีกว่า การดำเนินโครงการในพื้นที่ดังกล่าว จะสร้างความเสียหายต่อวิถีชีวิตที่ดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างรุนแรง เพราะล้วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญยิ่งของประเทศ เป็นแบบอย่างที่ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ครบทุกขั้นตอน ผลผลิตบางชนิดได้ส่งไปขายในต่างประเทศ ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนการปัจจุบันเป็นการสร้างความเสียหายอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเกษตรกรรมเป็นฝ่ายสูญเสียแต่ภาคอุตสาหกรรมเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เป็นการขยายช่องว่างในสังคมให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ผิดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน - SDGs ซึ่งมีความพยายามที่จะเปลี่ยนสีผังเมืองจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นโรงงานอุตสาหกรรมทั้งนี้ เป็นการเลือกปฎิบัติและทำผิดกฎหมาย EEC เพราะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ตามที่ระบุไว้ อุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น เช่น โรงงานแบตเตอรี่ที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นต้น

หนังสือยังระบุอีกว่าพื้นที่บางปะกง บ้านโพธิ์ และพานทองมีภูมิประเทศที่ลุ่มต่ำ เป็นที่รองรับน้ำหลากธรรมชาติ เหมาะกับเกษตรกรรม ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองสองน้ำคือฤดูน้ำจืดทำนา ฤดูน้ำเค็มเลี้ยงปลากุ้งปู มีป่าชายเลนที่สำคัญ มีนกและสัตว์ธรรมชาติหลายชนิดอยู่อย่างสมดุลย์กับระบบนิเวศ จึงควรส่งเสริมเกษตรกรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและชุมชน ซึ่งอยู่ในเป้าหมายของ พรบ.EECเขต EEC ส่วนมากประกาศทับนิคมอุตสาหกรรมเดิม มีโรงงานจำนวนมากที่เปิดมานาน บางโรงงานในเขต EEC ทำกิจการรับซื้อเศษเหล็ก อันขัดกฎหมาย EEC ที่ว่า “..ส่งเสริมการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม..”

ตอนท้ายของหนังสือได้เสนอให้ตรวจสอบความโปร่งใสเพราะพบหลักฐานว่าอาจมีประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากพบว่า นายวิษณุ เครืองาม ประธานกรรมาธิการพิจารณาร่าง พรบ.EEC แต่ขอลาออกจาก ประธานบริษัท อมตะฯ เพียง 1 วัน ก่อนดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ต่อมา นิคมอุตสาหกรรมอมตะฯ 3 แห่ง ได้รับการประกาศเป็นเขต EEC โดยมีพื้นที่มากที่สุดถึงร้อยละ 42 หรือ 41,834ไร่ ของพื้นที่ประกาศทั้งหมดรวม 98,714 - 3 -4.05 ไร่ จึงเสนอให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียด

ดร.อาทิตย์และเครือข่ายฯ เห็นว่าจะเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน หากขาดมาตรการคุ้มครองอาชีพเกษตรกรรมให้มีความมั่นคง จึงมีข้อเสนอ ดังนี้

(1) ขอให้เปิดเวทีสาธารณะรับฟังเสียงประชาชน โดยให้หน่วยงานต่างๆชี้แจงแสดงภาพรวมแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนการพัฒนาอุตสาหกรรม การขนส่ง ฯลฯ กล่าวคือ แสดงแผนที่และแผนผังการพัฒนาของทุกหน่วยงานบนแผ่นเดียวกัน เพื่อให้ประชาขนเข้าใจภาพสุดท้ายของการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในเขตอำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอพานทอง เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความต้องการของตนอย่างทั่วถึง มีสัดส่วนประชาชนเข้าร่วมเวทีที่อาศัยในพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และให้มีเวทีวิชาการ โดยมีนักวิชาการอิสระ ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ทุกแขนงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักวิชาการและผู้รู้ในพื้นที่ นักวิชาการด้านน้ำ ระบบนิเวศ เกษตร ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สุขภาพชุมชน ฯลฯ ซึ่งต้องเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการของรัฐ หรือบริษัทที่ปรึกษา เพื่อนำเสนอแนวคิด โดยให้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ คณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายเชิงพื้นที่ (อกขร.พื้นที่) ที่มีนายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ เป็นประธาน

(2) นำผลการรายงานจากข้อ (1) ปรับปรุงหรือทบทวนนโยบาย คำสั่ง หรือประกาศที่ออกไปแล้วให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ สอดคล้องกับศักยภาพ และสภาพภูมิประเทศอย่างแท้จริงตามแนวทางภูมิสังคม ซึ่งเป็นหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

(3) เมื่อมีประชาชนที่แสดงความต้องการที่จะดำรงชีพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอพียงไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใด หรืออยู่ในพื้นที่ใด ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายเขตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคุ้มครองประชาชนเหล่านั้น โดยศักดิ์ของกฎหมายต้องอยู่ในระดับเดียวกับกฎหมายคุ้มครองภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งให้ประชาชนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐ เมื่อเทียบคุณค่าหรืองบประมาณแล้วต้องไม่น้อยไปกว่าที่ให้กับภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งระยะเวลาออกกฎหมายต้องไม่ช้านานกว่าการออกกฎหมาย EEC หรือต้องประกาศกฎหมายเขตเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่ชักช้า หรือไม่เกิน ๑ ปี หลังจากวันที่ประชาชนแสดงความต้องการของตนตามข้อ (1)

(4) สำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เคยเช่าที่ทำนา บ่อปลา หรือทำเกษตรกรรมและอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเจ้าของที่ดิน ได้ขายที่ดินที่เกษตรกรเคยเช่าทำกินไปแล้วนั้น หากเกษตรกรรายใดประสงค์ที่จะทำอาชีพเกษตรกรรมต่อไป ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อที่ดินเดิม ตามขนาดและจำนวนที่เกษตรกรรายเดิมประสงค์จะทำเกษตรกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป โดยทำเป็นโฉนดร่วมกันของชุมชน ไม่สามารถซื้อขายหรือนำไปใช้ประโยชน์ในการอื่นที่นอกเหนือจากเกษตรกรรมและอยู่อาศัยเท่านั้น

โดยข้อเสนอของ ดร.อาทิตย์ มีนักวิชาการจำนวน 114 คน ร่วมลงชื่อสนับสนุน ดังนี้ "ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล "ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล "ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล "ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล

"ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล "ดร.อาทิตย์" นำทีมนักวิชาการ 114 รายชื่อ ร้องกรณี EEC ให้คณะอนุฯนำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาล

related