svasdssvasds

คุ้มครองสุดชีวิต ภารกิจ secret service อารักขาประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (ชมคลิป)

คุ้มครองสุดชีวิต ภารกิจ secret service อารักขาประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (ชมคลิป)

เมื่อผู้นำคนสำคัญของสหรัฐอเมริกา จะเดินทางไปต่างบ้านต่างเมือง เรื่องความปลอดภัยคงเป็นงานหนักของหน่วยงานอารักขาเป็นธรรมดา โดยเฉพาะคนที่พลเมืองสหรัฐฯมองว่าเป็นสถาบัน การดูแลความปลอดภัยสถาบันสำคัญของชาติจึงเป็นเรื่องใหญ่

[embed]https://www.youtube.com/watch?v=jLe6XCfz87Q&feature=youtu.be[/embed]

ขณะที่เรื่องราวการนัดพบปะของผู้นำโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา เกาหลีเหนือ จีน ยังลุ่มๆดอนๆ จะนัดหรือไม่นัดยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีการกำหนดวันเวลาคร่าวๆออกมาแล้วว่าเป็นช่วงวันที่ 12 มิ.ย. 2561 โดยใช้สถานที่ในประเทศสิงค์โปร์ เป็นที่นัดพบปะ สื่อแทบทุกสำนักของโลกต่างก็จับตาการเผชิญหน้ากันครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะยากยิ่งนักที่จะเห็นภาพสองฝ่ายที่แทบจะเรียกได้ว่าคู่ขัดแย้ง จะมาเจอหน้าสัมผัสมือกัน เหมือนเช่นที่ครั้งผู้นำเกาหลีเหนือ เดินทางมาพบผู้นำเกาหลีใต้

เมื่อเป็นคนสำคัญระดับที่ใครต่อใครก็เรียกขานว่าผู้นำโลกมาตรการรักษาความปลอดภัยจึงเข้มงวดมากเป็นขั้นซุปเปอร์ หลายเรื่องราวที่เราๆท่านๆเคยเห็นในหนังแอคชั่นหลายต่อหลายเรื่อง ต่างก็มีพื้นฐานมาจากการระบบการระวังป้องกันที่ใช้ปฏิบัติจริงเป็นส่วนใหญ่ สปริงนิวส์ออนไลน์ ขอพาทุกท่านย้อนไปดูการเดินทางของ อดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา เมื่อครั้งเดินทางเยือนประเทศอินเดีย ในปี 2015 เพื่อร่วมพิธีฉลองวันชาติ เป็นเวลาสามวัน ย้อนรอยไปส่องกันสักนิดว่า อารักขาประธานาธิบดีคนสำคัญ จะเข้มแค่ไหนกัน

มาตรการที่ 1

การติดตั้งกล้องวงจรปิดในเส้นทางและสถานที่ที่ผู้นำคนสำคัญต้องพำนัก เดินทางผ่าน หรือประกอบกิจกรรมตามคำเชิญ รายงานข่าวระบุว่าการเดินทางเยือน อินเดีย ของ บารัค โอบามา ครั้งนั้น ทางการอินเดีย ต้องติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มถึง 15,000 ตัว และเฉพาะในเส้นทางที่ต้องผ่านมีกล้องวงจรปิดติดตั้งมากถึง 165 ตัว พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่มอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวทุกจอในห้องควบคุม นอกจากนี้ยังมีการปิดถนนราชพาธ ที่ใช้เป็นเส้นทางผ่านอีกเกือบ 7 วัน และจัดเจ้าหน้าที่ทหารเข้าประจำจุดตามรายทางอย่างถี่ยิบ

คุ้มครองสุดชีวิต ภารกิจ secret service อารักขาประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (ชมคลิป)

มาตรการที่ 2

มาตรการเกี่ยวกับเรื่องที่พัก การเดินทางเยือนอินเดียครั้งนั้น บารัค โอบามา เข้าพักที่ โรงแรมมอร์ยา เชอราตัน เช่นเดียวกับอดีตประธานาธิบดีคนก่อนๆ ทั้ง บิล คลินตัน และ จอร์ช ดับเบิลยู บุช ห้องพักของโรงแรม 438 ห้องถูกจองเพื่อใช้รับรองประธานาธิบดีหมดทุกห้อง ตลอดเวลาสามวันตามกำหนดการ ทำให้ช่วงสามวันนั้น ไม่มีบุคคลภายนอกหรือแขกคนอื่นเข้าไปใช้บริการใดๆ ในเขตโรงแรมได้เลย ขณะที่เรื่องการตรวจสอบก่อนผู้นำเดินทางมาถึงนั้น ชุดล่วงหน้าจะเข้าสแกนพื้นที่ทั้งหมดอย่างละเอียด ทั้งลูกบิดประตู ท่อแอร์ สายไฟ ปลั๊กไฟ ต่างๆ เป้าหมายก็เพื่อตรวจหาอุปกรณ์การดักฟัง หรือกล้องบันทึกภาพ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นใดที่ไม่ควรมี ฟังดูแล้วน่าจะสแกนละเอียดกว่าบริษัทกำจัดแมลงด้วยซ้ำไป

คุ้มครองสุดชีวิต ภารกิจ secret service อารักขาประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (ชมคลิป)

โรงแรม มอร์ยา เชอราตัน ในอินเดีย  ที่พักขนาด 438 ห้องที่ถูกเหมาเกลี้ยงทั้งตึก ระหว่างการพำนักของประธานาธิบดี

มาตรการที่ 3

การเดินทางเพื่อปฏิบัติภารกิจตามคำเชิญ มาตรฐานอย่างหนึ่งที่เราคนไทยก็มีโอกาสได้เห็นกันมาแล้วเมื่อครั้ง บารัค โอบามา เดินทางมาเยือนประเทศไทยก็คือ การใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะว่า เดอะ บีสท์ (The Beast) หรือ คาดิแลค วัน(Cadillac One) การเดินทางเยือนอินเดียวครั้งนั้นก็เช่นกัน เจ้าหน้าที่ชุดประสานงานยืนยันในมาตรฐานนี้ต่อทางการอินเดีย จึงมีการขนรถยนต์คันนี้ขึ้นเครื่องบินตามไปด้วยแทบจะทุกประเทศที่ประธานาธิบดีเดินทางไปเยือน เดอะบีสท์ ผลิตขึ้นโดยบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ เข้าประจำการตั้งแต่ 20 มกราคม 2009 ชื่อเป็นคาดิแลคก็จริงแต่ใช้โครงสร้างฐานรถจาก เชฟโรเล็ต รุ่น Kodiak ภายใน 7 ที่นั่ง พร้อมพรั่งด้วยอุปกรณ์สื่อสาร ที่สามารถติดต่อสื่อสารสั่งการใดๆ ได้ตลอดเวลา ติดตั้งอุปกรณ์ Night Vision เพื่อการขับขี่ในทางที่มืดสนิท ยางรถยนต์ กู๊ดเยียร์ ผลิตเป็นพิเศษทนทานต่อทุกการกระแทกในเส้นทางที่หลากหลาย ติดตั้งถังอ็อกซิเจน และเก็บโลหิตกรุ๊ปเดียวกับที่ประธานาธิบดีต้องใช้ ตัวถังออกแบบมาพิเศษป้องกันการรั่วซึมกรณีที่ถูกโจมตีจากอาวุธเคมี ใช้เครื่องยนต์ Duramax Turbo-Disel V8 6600 cc.

ยังไม่จบ เรื่องของการป้องกันของรถคันนี้ยังแน่นหนาอีกว่านี้ ประตูทุกบานหุ้มเกราะหนา 8 นิ้ว ใต้ท้องติดแผ่นเหล็กหนา 5 นิ้ว กระจกกันกระสุนเจาะเกราะ ยัดสารพัดสิ่งเข้าไปจนแน่นเพียบขนาดนี้ ทำให้รถคันนี้แม้จะใส่เครื่อง 6600 cc. แต่ก็วิ่งได้ไม่เกิน 100 กม.ต่อ ชม. เพราะมันแบกน้ำหนักเข้าไปถึง 7ตันเศษ เพียบพร้อมขนาดนี้ เลยต้องหอบหิ้วไปไหนไปด้วยตลอดจริงๆ

[embed]https://www.youtube.com/watch?v=JcKXP3lkmJw[/embed]

การทดสอบรถ และผู้ขับขี่ รถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีที่คาดว่าอาจจะเป็นคันใหม่แทน The Beast

[embed]http://https://www.youtube.com/watch?v=3BvABn7L_So[/embed]

ความผิดพลาดในการเดินทางด้วยรถประจำตำแหน่งที่เคยเกิดขึ้น

มาตรการที่ 4

การประกาศเขตห้ามบิน ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการประกาศเขตห้ามบินในการเดินทางของประธานาธิบดีนั้นใช้หลักเกณฑ์อย่างไร แต่เมื่อครั้งเดินทางไปเยือนอินเดียจากเดิมที่ทางการอินเดียมีการประกาศเขตห้ามบินรอบกรุงนิวเดลีอยู่แล้วเป็นรัศมี 300 กม. แต่พอผู้นำคนสำคัญมาเยือน ก็มีการขยายเขตห้ามบินเป็น 400 กม. ซึ่งเท่ากับว่ากรุงนิวเดลีช่วงนั้นจะไม่มีเที่ยวบินขึ้น หรือลง ได้ตามปกติเลย ลองนึกสภาพเป็นประเทศเล็กๆอย่างสิงค์โปร์ ถ้าประกาศเขตห้ามบินก็คงเหมือนปิดเกาะไปโดยปริยาย ในทางปฏิบัติจริงคงต้องรอดูว่าจะมีการผ่อนปรนเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน สำหรับ สิงค์โปร์

คุ้มครองสุดชีวิต ภารกิจ secret service อารักขาประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (ชมคลิป)

มาตรการที่ 5

การใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อการอารักขา การเดินทางเยือนอินเดียในครั้งนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งสุนัขดมกลิ่น 20 ตัวล่วงหน้าไปอินเดียก่อนถึงวันเดินทางจริง สถานภาพของสุนัขเหล่านี้ ถือเป็นเจ้าหน้าที่นายหนึ่ง เข้าพักในสถานที่เดียวกับชุดรักษาความปลอดภัยทั้งหมด ซึ่งสื่อในอินเดียมีการเสนอข่าวเรื่องนี้ โดยย้ำเรื่องการเตือนผู้คนเรื่องการห้ามเข้าใกล้สุนัขเหล่านี้เพราะเป็นสุนัขที่ถูกฝึกมาเพื่อการอารักขา จึงอาจเป็นอันตรายต่อคนทั่วไปได้

คุ้มครองสุดชีวิต ภารกิจ secret service อารักขาประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (ชมคลิป)

ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการการอารักขาผู้นำสหรัฐอเมริกา ที่เคยมีปฏิบัติจริงมาแล้วในการเดินทางที่ผ่านๆมา จะว่าไปแล้วการเป็นบุคคลสำคัญที่ชีวิตมีผลกระทบต่อความเป็นไปของโลก ก็ดูจะลำบากเหลือเกิน แต่ประเทศเจ้าภาพก็คงงานหนักเอาเรื่อง เพราะคงไม่อยากให้มีเหตุการณ์อะไรไม่ดี มาเกิดขึ้นกับคนสำคัญในบ้านเมืองของตนเองด้วยเหมือนกัน

related