svasdssvasds

อินสตาแกรมออกกฎควบคุมการโพสต์ภาพทำร้ายตัวเอง

อินสตาแกรม ประกาศปราบปรามการโพสต์ภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำร้ายตนเอง หลังเกิดเหตุวัยรุ่นอังกฤษฆ่าตัวตาย เพราะตามบัญชีอิสตาแกรมที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย ขณะที่องค์การอนามัยโลกเปิดเผยสถิติการฆ่าตัวตายล่าสุด พบว่าทั่วโลกลดลงถึง 1 ใน 3 นับจากปี 1990 แต่ยังนับว่าเป็นวิกฤติสาธารณสุขของโลก

ความเคลื่อนไหวของอินสตาแกรมมีขึ้นหลังนายแมตต์ แฮนคอค รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษได้หารือกับบรรดาบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ถึงมาตรการที่จะปกป้องสุขภาพจิตของเยาวชนที่ใช้แพลตฟอร์มดังกล่าว

อินสตาแกรมออกกฎควบคุมการโพสต์ภาพทำร้ายตัวเอง

เมื่อปี 2017 มอลลี่ รัสเซลล์ วัยรุ่นหญิงอังกฤษวัยเพียง 14 ปี ฆ่าตัวตายในห้องนอนของเธอ และเมื่อตรวจสอบบัญชีอินสตาแกรมของเธอพบว่า เธอติดตามหลายบัญชีที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย

อินสตาแกรมออกกฎควบคุมการโพสต์ภาพทำร้ายตัวเอง

พ่อของรัสเซลล์กล่าวว่า ต้องการเห็นมาตรการเด็ดขาดในการปกป้องเด็กๆจากเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์บนอินสตาแกรม และก็ถึงเวลาแล้วสำหรับสังคมออนไลน์อื่นๆในการออกมาตรการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม และให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและคนกลุ่มเสี่ยง

อินสตาแกรมออกกฎควบคุมการโพสต์ภาพทำร้ายตัวเอง

อดัม มอสเซรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอินสตาแกรมระบุว่า อินสตาแกรมจะไม่อนุญาตให้มีการโพสต์ภาพกราฟฟิก (graphic content)ของการทำร้ายตนเอง เช่นการกรีดร่างกาย นอกจากนี้ยังจะไม่ให้ ภาพที่ไม่ใช่กราฟฟิก (non-graphic content)ที่เกี่ยวกับการทำร้ายตนเองและรอยแผลเป็น อยู่ในกลไกการค้นหา แฮชแทค และคอนเทนท์แนะนำด้วย

อินสตาแกรมออกกฎควบคุมการโพสต์ภาพทำร้ายตัวเอง

อย่างไรก็ตาม อินสตาแกรมจะยังไม่แบนเนื้อหาลักษณะนี้ทั้งหมด เพราะอาจมีผู้ที่โพสต์เนื้อหาดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในภาวะต้องการความช่วยเหลือ มากกว่าเป็นการโพสต์ที่จงใจส่งเสริมการฆ่าตัวตาย

อินสตาแกรมออกกฎควบคุมการโพสต์ภาพทำร้ายตัวเอง

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ตั้งเป้าที่จะลดอัตราการฆ่าตัวตายให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2020 และจากข้อมูลล่าสุด พบว่าแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายทั่วโลกอย่างน้อย 817,000 คน คือมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นจากปี 1990 แต่ถ้านับเป็นอัตราต่อประชากรแล้ว ถือว่าน้อยลงถึง 32.7 เปอร์เซ็นต์

อินสตาแกรมออกกฎควบคุมการโพสต์ภาพทำร้ายตัวเอง

ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานสาธารณสุขแคนาดา ผู้ร่วมทำการวิจัยกับองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การฆ่าตัวตาย เป็นสาเหตุการตายที่ป้องกันได้ และการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานสาธารณสุขต้องพยายามต่อไปเพื่อลดอัตราการตายจากการฆ่าตัวตายลงไปอีก

แต่แม้ว่าอัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลกจะลดลง แต่ก็มีหลายภูมิภาคในโลก ที่การฆ่าตัวตายยังเป็นสาเหตุหลักของจำนวนคนเสียชีวิต และพบว่าผู้ชายมีแนวโน้มที่จะฆ่าตังตายมากกว่าผู้หญิงในทุกภูมภาคและทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่ม 15 – 19 ปี อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ชายอยู่ที่ 15.6 คนต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ 7 คนต่อ 100,000 คน

ข้อมูลจากเวบไซท์ World Population Review ระบุว่าประเทศที่มีคนฆ่าตัวตายมากที่สุดในโลก 5 อันดับแรกคือ ลิทัวเนีย ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 31.9 คนต่อประชากร 100,000 คน ตามด้วยรัสเซียที่ 31 คน กายอานา 29.2 คน เกาหลีใต้ 26.9 คน และเบลารุส 26.2 คน

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดจากกรมสุขภาพจิตพบว่าอัตราการฆ่าตัวตายของปี 2017 อยู่ที่ 6.03 คนต่อประชากร 100,000 คน แต่ละปีมีคนไทยพยายามฆ่าตัวตายประมาณ 53,000 คน และปี 2017 มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ กว่า 4,000 คน เป็นผู้ชายถึง 80 เปอร์เซ็นต์

related