svasdssvasds

เทียบโควิดแต่ละสายพันธุ์ วัคซีนโควิดตัวไหนเอาอยู่หมัด

เทียบโควิดแต่ละสายพันธุ์ วัคซีนโควิดตัวไหนเอาอยู่หมัด

เปิดข้อมูลเทียบโควิดแต่ละสายพันธุ์ มาจากไหน แพร่ระบาดไวเพียงใด แล้ววัคซีนโควิด19 ที่เป็นความหวังของมนุษยชาติ จะยังคงเป็นความหวังอยู่ไหม วัคซีนยี่ห้อไหนใช้ได้ผลกับโควิดสายพันธุ์ต่างๆ เป็นอย่างไร

การแพร่ระบาดของโควิด19 เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 จวบจนถึงปัจจุบันนี้ก็ผ่านมากว่าปีครึ่ง สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดีมาโดยตลอด แต่ก็มาสิ้นสุดลงตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2563 และเริ่มเลวร้ายตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ปีนี้ 2564

ตอนแรกสถานการณ์ดูมีความหวังเมื่อมีวัคซีนถูกคิดค้นขึ้นมา เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563 วัคซีนไฟเซอร์ผ่านการอนุมัติในการใช้ในกรณีฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก แต่เมื่อมนุษย์คิดค้นวัคซีนขึ้นมาได้ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ที่รู้จักอย่างดีในชื่อ โควิด19 ก็พัฒนาตัวเองขึ้นเช่นกัน

เทียบโควิดแต่ละสายพันธุ์ วัคซีนโควิดตัวไหนเอาอยู่หมัด

โควิด19 ถูกรู้จักครั้งแรกจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศ แล้วก็ระบาดไปทั่วโลก และเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นโควิดอัลฟา B.1.1.7 ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ที่ระบาดไปมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก จากที่แพร่ได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 50%

หรือโควิดสายพันธุ์เบต้า B.1.351 จากแอฟริกาใต้ที่สามารถลดแอนตีบอดี้ได้ มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้ดีพอๆ กันกับสายพันธุ์อัลฟา โดยแพร่ได้ง่ายกว่า 55%

สายพันธุ์แกมม่า  P.1 ที่มาจากบราซิลก็เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ถูกจับตามองและให้ความสนใจไปทั่วโลก จากการที่ไวรัสสายพันธุ์นี้สามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้ ทำให้มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้เทียบเท่ากับโควิดเบต้า อยู่ที่ 55% จากสายพันธุ์ดั้งเดิมเช่นกัน

และสุดท้ายสายพันธุ์เจ้าปัญหาที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ไปทั่วโลกอีกครั้ง กับโควิดเดลต้า B.1.617.2 ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกที่อินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดได้ดีที่สุด ซึ่งดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 255% จากคนติดเชื้อเพียงคนเดียวสามารถแพร่ต่อไปได้อีก 5-8 คน พร้อมด้วยความรุนแรงของอาการที่มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

หมิ่นเหม่ วัคซีนโควิด19 ความหวังของมนุษยชาติ
แน่นอนว่าเมื่อวัคซีนโควิด19 ถูกคิดค้นขึ้นมา หลายคนก็กลับมามีความหวังว่าจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามเดิมได้ ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบนิวนอลมอล หรือต้องส่วมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ซึ่งวัคซีนก็มีหลากรูปแบบ หลากยี่ห้อ แล้วแต่ละยี่ห้อมีประสิทธิภาพอย่างไร

เทียบโควิดแต่ละสายพันธุ์ วัคซีนโควิดตัวไหนเอาอยู่หมัด

หลายคนที่หวังและรอจะฉีดวัคซีน mRNA ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวัคซีนรูปแบบอื่นๆ ซึ่งในโลกนี้มีวัคซีนที่ถูกผลิตด้วยวิธีการดังกล่าวอยู่ 2 ยี่ห้อ อย่าง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา เมื่อฉีดครบสองโดสแล้ว จะได้ภูมิที่สูงกว่า 90% แต่เมื่อไปเจอกับโควิดสายพันธุ์ใหม่อื่นๆ ก็จะเห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพที่ลดลง

ครั้งหนึ่งประเทศอิสราเอล เคยประกาศว่าวัคซีนไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพลดลงเหลือเพียง 64% เพียงเท่านั้น เมื่อเจอกับการแพร่ระบาดของโควิดเดลต้าในประเทศ แต่ทางอังกฤษได้ทำการศึกษาในห้องแล็บพบว่า วัคซีนไฟเซอร์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับโควิดเดลต้า มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 79%

เฉกเช่นเดียวกับวัคซีนโมเดอร์นาที่ใช้รูปแบบการผลิตเดียวกันกับวัคซีนไฟเซอร์ แต่จากตารางแสดงให้เห็นว่า โดยภาพรวมแล้วก็มีประสิทธิภาพในโควิดสายพันธุ์ต่างๆ น้อยกว่าของไฟเซอร์อยู่เล็กน้อย

วัคซีนเข็มเดียวอย่างของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แม้ฉีดเพียงเข็มเดียวสามารถแสดงประสิทธิภาพได้สูงถึง 64-72% และในบางคนอาจพบได้สูง 90% แต่เป็นส่วนน้อย ซึ่งทางบริษัทเองได้ออกมายืนยันว่าวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันสามารถป้องกันโควิดกลายพันธุ์ทั้งหลายได้ แต่ก็ยังไม่มีผลการศึกษาใดๆ จากสถาบันกลางนอกจากข้อมูลที่บริษัทออกมานำเสนอเอง

ทางด้านวัคซีนเวกเตอร์ที่ถูกคิดค้นและผลิตโดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักรอย่างวัคซีนแอสตราเซนเนก้า ซึ่งเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักที่ประเทศไทยใช้อยู่ มีประสิทธิภาพถึง 79% และทางมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเองก็ได้นำวัคซีนกลับไปศึกษาต่อเพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพต่อโควิดกลายพันธุ์ แม้จะได้ประสิทธิภาพไม่สูงมากนักเมื่อเจอกับโควิดเดลต้า แต่ก็ยังผ่านเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ นั้นคือมากกว่า 50%

เทียบโควิดแต่ละสายพันธุ์ วัคซีนโควิดตัวไหนเอาอยู่หมัด

และอีกหนึ่งวัคซีนหลักที่ประเทศไทยใช้ นั้นคือวัคซีนเชื้อตาย ซิโนแวค ซึ่งถูกผลิตโดยบริษัทเอกชนของจีน เป็นหนึ่งในวัคซีนหลักที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีแล้วมีประสิทธิภาพต่ำสุด และไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่าเมื่อเทียบกับโควิดกลายพันธุ์ได้ประสิทธิภาพเท่าไหร่

วัคซีนเชื้อตายสัญชาติจีนอีกยี่ห้อ อย่างวัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ถูกผลิตโดยรัฐบาลจีนเอง มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าซิโนแวค แต่ก็ไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่ามีประสิทธิภาพเท่าไหร่เมื่อเทียบกับโควิดกลายพันธุ์ เฉกเช่นเดียวกันกับวัคซีนซิโนแวค

แม้จะหาข้อมูลไม่ได้ว่ามีประสิทธิภาพเท่าไหร่ แต่ก็เชื่อได้ว่าสามารถใช้ได้อย่างแน่นอน ซึ่งสามารถดูได้จากโมเดลจีน ที่โควิดเดลต้าระบาดในกว่างโจว มณฑลกว่างตุ้ง มีผู้ติดเชื้อเพียง 153 ราย และกำจัดโควิดเดลต้าได้อยู่หมัดภายในเดือนเดียว

ข้อมูลอ้างอิง :

related