svasdssvasds

Girls (in) Power 140 ผู้นำหญิงแกร่ง คุมรัฐ-รัฐบาล

Girls (in) Power 140 ผู้นำหญิงแกร่ง คุมรัฐ-รัฐบาล

เปิดพลังหญิงแกร่ง Girls Power กับ 140 ผู้นำหญิงแกร่ง ที่เคยคุมรัฐ-รัฐบาล นำโดย อังเกล่า แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนีสุดแกร่ง ตามด้วย จาซินดา อาร์เดิร์น จากนิวซีแลนด์ ไทยติดโผ อดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร

จากกรณี นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของสวีเดน "แม็กดาเลนา แอนเดอร์สัน" (Magdalena Andersson) ลาออกหลังจากได้รับเลือกเพียงไม่กี่ชั่วโมง แล้วนอกจากสวีเดนแล้วที่นายกรัฐมนตรีหญิง มีประเทศไหนอีกบ้างที่มีนายกฯหญิง

นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

แน่นอนว่าประเทศไทยต้องติดอยู่ในลิสต์นี้ เนื่องจากประเทศไทยเคยมีนายกรัฐมนตรีผู้หญิงมาแล้ว อย่าง อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2554 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย

ผู้นำหญิงคนแรกของโลก "เคียร์เชค คันทิมาโตกา" (Khertek Anchimaa-Toka) ในฐานะประธานรัฐสภาของคุรุลน้อย แห่งสาธารณรัฐประชาชนตูวัน

ผู้นำหญิงคนแรกของโลก

สตรีแกร่งที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าของรัฐบาลคนแรกในโลก ได้แก่ "เคียร์เชค คันทิมาโตกา" (Khertek Anchimaa-Toka) ในฐานะประธานรัฐสภาของคุรุลน้อย (Chairperson of the Presidium of the Little Khural) ของ สาธารณรัฐประชาชนตูวัน (The Tuvan People's Republic) หรือที่เรียกว่าประเทศตันนู ตาวา (Tannu Tuva) ซึ่งในภายหลังได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย

Khertek Anchimaa-Toka ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2483 ถึงวันที่ 11 ต.ค. 2487 รวมแล้ว 4 ปี กับอีก 188 วัน เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2551 รวมอายุ 96 ปี

"ศิริมาโว บันดารานัยเก" (Sirimavo Bandaranaike) นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของศรีลังกาและของโลก

นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก

ทว่าผู้นำหญิงคนแรกที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คือ "ศิริมาโว บันดารานัยเก" (Sirimavo Bandaranaike) นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของศรีลังกา เธอได้เข้ารับตำแหน่งสองช่วงด้วยกัน โดยช่วงแรกเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2503 ถึงวันที่ 27 มี.ค. 2508 รวม 4 ปีกับอีก 249 วัน และในช่วงที่สองเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2513 ถึงวันที่ 23 ก.ค. 2520 รวม 7 ปี 55 วัน หากนับรวมทั้งสองช่วงเข้าด้วยกันเธอจะดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 11 ปี กับอีก 304 วัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

"อิซาเบล มาร์ติเนซ เด เปรอน" (Isabel Martínez de Perón) ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอาร์เจนตินา

ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของโลก

และผู้นำหญิงที่เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของโลก ได้แก่ "อิซาเบล มาร์ติเนซ เด เปรอน" (Isabel Martínez de Perón) ประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา ภรรยาคนที่ 3 ของ "ฮวน เปรอน" (Juan Perón) ประธานาธิบดี 3 สมัยของอาร์เจนตินา

ฮวน เปรอน เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งทำให้ อิซาเบล มาร์ติเนซ เด เปรอน ที่นั่งเก้าอี้รองประธานาธิบดีได้รับสืบทอดตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2517 ก่อนที่จะถูกทหารยืดอำนาจในวันที่ 24 มี.ค. 2519 ถือเป็นการสิ้นสุดอำนาจของอิซาเบล มาร์ติเนซ เด เปรอน รวม 1 ปี กับอีก 267 วัน

"คาร์เมน เปเรรา" (Carmen Pereira) ประธานาธิบดีหญิงคนแรกจากประเทศกินี-บิสเซา

ผู้นำหญิงที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดในโลก

หากไม่นับแม็กดาเลนา แอนเดอร์สันว่าเป็นผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลที่อายุงานสั้นที่สุดแล้ว เนื่องจากได้ลาออกหลังถูกโหวตรับเลือก ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้ว คงหนีไม่พ้น "คาร์เมน เปเรรา" (Carmen Pereira) ประธานาธิบดีจากประเทศกินี-บิสเซา (Guinea-Bissau) ประเทศเล็ก ๆ ทางแอฟริกาตะวันตกที่ปัจจุบันเป็นสาธารณรัฐกินี-บิสเซา

คาร์เมน เปเรรา เป็นประธานาธิบดีได้เพียงแค่ 2 วันเท่านั้นจาก 14 พ.ค. 2527 ถึง 16 พ.ค. 2527

"ชีค ฮาสินา" (Sheikh Hasina) นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ

ผู้นำหญิงที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก

เมื่อพูดถึงผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งหน้ารัฐบาลที่อายุงานสั้นที่สุดแล้ว ต่อไปคงต้องพูดถึงผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดกันบ้าง ซึ่งดำรงตำแหน่งถึง 17 ปี 357 วัน อย่าง "ชีค ฮาสินา" (Sheikh Hasina) นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. 2539 ถึงวันที่ 15 ก.ค. 2544 รวม 5 ปี 33 วัน

และขณะนี้ ชีค ฮาสินา ได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 2552 จวบจนถึงปัจจุบัน (26 พ.ย. 2564) ซึ่งยาวนานกว่า 12 ปี และ 324 วัน

Grils Power พลังหญิงแกร่ง 140 ผู้นำโลก

แต่สตรีแกร่งที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำโลกอีกคนที่ไม่พูดถึงไม่ได้จากทั้งความสามารถ และการที่นั่งเก้าอี้นานต่อเนื่องมากที่สุดได้แก่ "อังเกล่า แมร์เคิล" (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีหญิงสุดแกร่งของเยอรมนี ที่ตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ในภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้คำว่า "Prime Minister" หากแต่เป็น "Chancellor"

"อังเกล่า แมร์เคิล" (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ถูกขนานนามว่า "Europe

อังเกล่า แมร์เคิล เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2548 จนถึงปัจจุบัน (26 พ.ย. 2564) นับรวมได้ 16 ปี 4 วัน ถือเป็นนายกฯหญิงที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานที่สุดในโลก

ฟอร์บ ได้จัดให้ อังเกล่า แมร์เคิล เป็นหนึ่งในผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของโลกติดต่อกันยาวนานถึง 10 ปี นอกจากนี้อังเกล่า แมร์เคิล ยังได้รับการขนานนามว่า "Europe's Most Influential Leader" ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ผู้นำที่ทรงอิทธิพลที่สุดของยุโรป" โดย "แมตต์ ควอร์ทรัป" (Mads Qvortrup) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเวนทรี (Coventry University)

Angela Merkel: Europe

แมตต์ ควอร์ทรัป ชี้ว่า อังเกล่า แมร์เคิล ได้พาเยอรมนีหนีออกจากวิกฤติทางการเงินในปี 2551 และการรับมือกับการค้าเสรีนิยมระหว่างประเทศในยุคสมัยของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หรือการเปิดพรมแดนประเทศให้ผู้ลี้ภัยซึ่งเยอรมนีสามารถทำได้ดี

นอกจากนี้ อังเกล่า แมร์เคิล ถือเป็นผู้นำโลกที่เป็นหัวสมัยใหม่ เปิดรับการแต่งงานเพศเดียวกัน การเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ ทว่าก็ถูกโจมตีว่าเป็นผู้นำที่ขาดวิสัยทัศน์ จากการที่มีนโยบายยุคดิจิทัลที่ล้าหลัง

"จาซินดา อาร์เดิร์น" (Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์

อังเกล่า แมร์เคิล ถือเป็นนายกฯหญิงที่มีบทบาทที่โดดเด่นอย่างมากในระดับเวทีโลก แต่นอกจากสตรีแกร่งอย่างอังเกล่า แมร์เคิล แล้วยังมี "จาซินดา อาร์เดิร์น" (Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีของประเทศนิวซีแลนด์ ที่เฉิดฉายไม่แพ้กัน

แม้จาซินดา อาร์เดิร์น อาจมีบทบาทบนเวทีโลกไม่ทัดเทียม แต่ชื่อนี้เป็นที่คุ้นหูอย่างมากแน่นอนจากการที่พานิวซีแลนด์พ้นมหันตภัยร้ายอย่างโควิด-19 จนถือเป็นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรการรับมือโควิด-19 ดีที่สุดในโลก จนแม้แต่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ยังยกเป็นโมเดลให้ศึกษา

related