svasdssvasds

สัตว์ป่าทั่วโลก ลดลงจนน่าตกใจถึง 69% นับจากปี 1970 ต้องตระหนักกันได้แล้ว

สัตว์ป่าทั่วโลก ลดลงจนน่าตกใจถึง 69% นับจากปี 1970 ต้องตระหนักกันได้แล้ว

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ระบุว่า ประชากรสัตว์ป่าโลกลดลงมากกว่า 2 ใน 3 หรือราว 69% โดยเฉลี่ย นับตั้งแต่ปี 1970 เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย แผ้วถางมากขึ้น และมหาสมุทรมีมลพิษมากขึ้น ส่วนใหญ่อาจจะเกิดจากฝีมือมนุษย์

สำนักข่าวต่างประเทศ เปิดเผยข้อมูลว่า รายงานขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ซึ่งใช้ข้อมูลปี 2018 จากสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) เกี่ยวกับสถานะของประชากรสัตว์ป่า 32,000 ชนิด ที่ครอบคลุมมากกว่า 5,000 สายพันธุ์ พบว่าขนาดประชากรลงลง 69% โดยเฉลี่ย หรือคิดเป็น 2 ใน 3  ซึ่งการตัดไม้ทำลายป่า, การแสวงหาประโยชน์ของมนุษย์, มลพิษ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียของชีวิตสัตว์ป่าเหล่านี้ ซึ่งตัวเลขของโลกในภาพกว้างนั้น ก็ย่อมสะท้อนถึงภาพเล็กๆ ตัวเลขสัตว์ในไทย ด้วยเช่นกัน 

ส่วนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีประเทศไทย รวมอยู่ด้วยนั้น สัตว์จำพวก ลิงลม ลิงแสม ค่าง และชะนี ที่มีถิ่นอาศัยใน 5 ประเทศรอยรอบลุ่มน้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย  โดยรายงานในช่วงต้นปี 2022 ระบุว่า  ไม่เพียงแต่พวกมันกำลังสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยในอัตราเร่งเครื่อง แต่พวกมันกำลังถูกคุกคามจากการล่า และการค้าสัตว์ป่าที่ทั้งผืดและไม่ผิดกฎหมาย

สัตว์ป่าทั่วโลกลดลงจนน่าตกใจถึง 69% โดยเฉลี่ย นับจากปี 1970

สัตว์ป่าทั่วโลกลดลงจนน่าตกใจถึง 69% โดยเฉลี่ย นับจากปี 1970

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด้าน แอนดรูว์ เทอรี่ ผู้อำนวยการฝ่ายอนุรักษ์และนโยบายของสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) กล่าวว่า เป็นการลดลงอย่างร้ายแรง ซึ่งบอกเราว่าธรรมชาติกำลังเปลี่ยนแปลง และโลกของเรากำลังไปสู่จุดแห่งความว่างเปล่า

หากลงลึกเข้าไปในรายละเอียดจะพบว่า ประชากรสัตว์ป่าในลาตินอเมริกาและทะเลแคริบเบียนได้รับผลกระทบหนักหนาสาหัสที่สุด โดยลดลงถึง 94% ในเวลาราว 5 ทศวรรษทีผ่านมา ตัวเลขนี้ถือว่าน่าตกใจมาก โดยรายงานระบุว่า ประชากรโลมาแม่น้ำสีชมพูในแอมะซอนของบราซิล ลดลง 65% ในช่วงปี 1994-2016 

ขณะที่ในทวีปแอฟริกา สถานการณ์ก็เลวร้ายเช่นเดียวกัน  โดยประชากรลิงกอลิลลาในพื้นที่ราบทางตะวันออกของคองโกก็ลดลง 80% ระหว่างปี 1994-2019 เพราะถูกล่าเอาเนื้อ

สัตว์ป่าทั่วโลกลดลงจนน่าตกใจถึง 69% โดยเฉลี่ย นับจากปี 1970

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรสัตว์ป่าทั่วโลกลดลงเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ Climate Change  การตัดไม้ทำลายป่า การแสวงหาประโยชน์ของมนุษย์ รวมถึงมลพิษที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์

 


การลดลงเป็นจำนวนมากของสัตว์ป่าทำให้เกิดคำวิงวอนด้วยความสิ้นหวัง ที่จะร้องขอการจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนความพยายามในการอนุรักษ์สัตว์ป่าทั่วโลกต่อไป และถ้าหากตัวเลขสัตว์ป่า ยังเป็นแบบนี้ ต่อไป คาดว่า จำนวนสัตว์หลายๆพันธุ์ หลายตระกูลอาจเข้าไปอยู่ในขั้นวิกฤต

สัตว์ป่าทั่วโลกลดลงจนน่าตกใจถึง 69% โดยเฉลี่ย นับจากปี 1970

โดยเดือน ธ.ค.2022 นี้  บรรดาผู้แทนจากทั่วโลกจะมารวมตัวกันที่เมืองมอนทรีออล แคนาดา เพื่อหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์ระดับโลกใหม่ในการคุ้มครองพืชและสัตว์ต่าง ๆ ของโลก ซึ่งการร้องขอที่สำคัญที่สุดมีแนวโน้มว่า จะเป็นการจัดหาเงินทุนที่เพิ่มขึ้น สำหรับความพยายามในการอนุรักษ์ระดับโลก

ที่มา 
https://www.reuters.com/business/environment/global-wildlife-populations-have-sunk-69-since-1970-wwf-report-2022-10-12/


https://www.wwf.or.th/our_news/news/?uNewsID=371660

related