svasdssvasds

บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack ปรับตัว เพื่ออยู่กับธรรมชาติ ใช้วัสดุรีไซเคิล

บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack ปรับตัว เพื่ออยู่กับธรรมชาติ ใช้วัสดุรีไซเคิล

ทำความรู้จัก บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack ปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติ ใช้วัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก เข้าเทรนด์ Keep The World

สตูดิโอ ออกแบบสถาปัตยกรรม MAST ในโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก  ออกแบบและพัฒนาแนวคิดบ้านลอยน้ำที่สามารถใช้อยู่อาศัยได้จริง และเป็นบ้านระบบ Flat-Pack โดยเป็นการปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติ และที่สำคัญโปรเจ็กนี้ โครงสร้างพลาสติกเสริมแรงจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งถือเป็นการ รักษ์โลก Keep The World อย่างหนึ่ง 

ก่อนอื่นต้องอธิบาย คำว่า Flat-Packed ก่อน  Flat-Packed คำนี้ หลักการของมันคือบรรจุและขนส่งสินค้าโดยถอดชิ้นส่วนต่างๆ ให้เข้าไปอยู่ในกล่องที่เล็กที่สุดเท่าที่จะเล็กได้ แล้วให้ลูกค้าไปแกะประกอบเอง ด้วยความคิดที่ว่า เขาไม่ขนส่งอากาศ (Transport Air) ให้เปลืองค่าใช้จ่าย ดังนั้น บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack ในที่นี่ ก็คือการสร้างบ้านแบบ ที่ชิ้นส่วนต่างๆ ผู้ใช้ หรือผู้อยู่อาศัยสามารถประกอบเองได้นั้นเอง 

ทำความรู้จัก บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack  ปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติ  ใช้วัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก เข้าเทรนด์ Keep The World

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กำจัดไมโครพลาสติกได้ ช่วยแก้ปัญหาขยะแหล่งน้ำ

ว่ายน้ำข้ามทะเลแดง เป็นครั้งแรกของโลก เป็นกระบอกเสียงภาวะโลกร้อน

แม่น้ำโขง ระบบนิเวศลุ่มน้ำสายเลือดหลักอีสาน ที่น่าเป็นห่วงกังวล

มาร์แชลล์ เบลเชอร์ (Marshall Blecher) สถาปนิกชาวออสเตรเลีย ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม MAST ร่วมกับ แม็กนุส มาร์ปเจอร์ (Magnus Maarbjerg) นักออกแบบการเดินเรือ และควบตำแหน่งสถาปนิก ชาวเดนมาร์ก เปิดเผยว่า แนวคิดบ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack  ที่มีโครงสร้างพลาสติกเสริมแรงจากวัสดุรีไซเคิลว่า  "เราได้พัฒนาแนวคิดใหม่สำหรับการก่อสร้างบนผิวน้ำ" การออกแบบและสร้างต้นแบบได้รับการสนับสนุนจากมหาเศรษฐีโรเบิร์ต โรมเบิร์ก (Hubert Rhomberg) เจ้าของบริษัทอุตสาหกรรมก่อสร้างขนาดใหญ่และสตูดิโอ Fragile

ทำความรู้จัก บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack  ปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติ  ใช้วัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก เข้าเทรนด์ Keep The World  

โครงสร้างของ บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack นี้ ใช้พลาสติกเสริมแรงจากวัสดุรีไซเคิล นั่นส่งผลทำให้แนวคิดการออกแบบของสตูดิโอ MAST มีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับผู้ผลิตบ้านลอยน้ำรายอื่นๆ ที่ใช้โป๊ะเหล็กหรือฐานรากเป็นคอนกรีตและโพลิสไตรีน 

เพราะทั้ง คอนกรีตและโพลิสไตรีน  ยากต่อการประกอบและมีความยุ่งยากซับซ้อนในการขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้าง 

แนวคิดการออกแบบของสตูดิโอ MAST สามารถปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ใช้สอยรูปแบบอื่น ๆ เช่น สวนลอยน้ำ ร้านกาแฟ โรงแรม หรือ พื้นที่ว่างสำหรับทำกิจกรรมรูปแบบอื่น ๆ บนผิวน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นข้อได้เปรียบแทนที่จะสร้างได้แค่บ้านสำหรับอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญมันมีความยืดหยุ่นเป็นอย่างมาก ปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบ

ที่มา MAST proposes flat-packed floating architecture for adaptable, climate resilient living on water 

ทำความรู้จัก บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack  ปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติ  ใช้วัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก เข้าเทรนด์ Keep The World

ทำความรู้จัก บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack  ปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติ  ใช้วัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก เข้าเทรนด์ Keep The World

ทำความรู้จัก บ้านลอยน้ำระบบ Flat-Pack  ปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติ  ใช้วัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก เข้าเทรนด์ Keep The World

related