svasdssvasds

Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กำจัดไมโครพลาสติกได้ ช่วยแก้ปัญหาขยะแหล่งน้ำ

Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กำจัดไมโครพลาสติกได้ ช่วยแก้ปัญหาขยะแหล่งน้ำ

หุ่นยนต์ โรโบฟิช (Robo-Fish) หรือ กิลเบิร์ต (Gilbert) ถือได้ว่าเป็น นวัตกรรมรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะเป็นหุ่นยนต์ปลารักษ์โลก ที่มีความสามารถ กินไมโครพลาสติกเป็นอาหารได้ นั่นหมายความว่า หุ่นยนต์มีส่วนช่วยกำจัดขยะและช่วยดูแลแหล่งน้ำได้

หุ่นยนต์ โรโบฟิช (Robo-Fish) หรือ  กิลเบิร์ต (Gilbert) ถือได้ว่าเป็น นวัตกรรมรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะเป็นหุ่นยนต์ปลารักษ์โลก ที่มีความสามารถ กินไมโครพลาสติกเป็นอาหารได้ นั่นหมายความว่า หุ่นยนต์มีส่วนช่วยกำจัดขยะและช่วยดูแลแหล่งน้ำได้

สำหรับ หุ่นยนต์ โรโบฟิช (Robo-Fish) ที่เป็นหุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหารนั้น เป็นผลงานที่ชนะการประกวดนวัตกรรม ใน University of Surrey โดยคิดค้นขึ้นมาเพื่อ แก้ไขปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในแหล่งน้ำเป็นปัญหาสำคัญ

โดย Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหาร รูปลักษณ์คือ มีความยาว 50 เซนติเมตร ขนาดพอๆกับปลาแซลมอน  เคลื่อนที่โดยการส่ายหางไปมา แม้จะดูน่ารัก แต่ก็ทรงประสิทธิภาพ โดยหุ่นยนต์จะอ้าปากและใช้เหงือกกรองน้ำ และสามารถกรองไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กถึง 2 มิลลิเมตรได้ นอกจากนี้ ในเวลากลางคืนยังสามารถเรืองแสงได้อีกด้วย

งับๆ ไมโครพลาสติกเป็นอาหารได้.... มาทำความรู้จัก Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก ที่สามารถ จัดการ ไมโครพลาสติกได้  Credit ภาพจาก University of Surrey

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ปัญหาขยะพลาสติกในแหล่งน้ำ ที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลก รวมถึงที่ไทยด้วย ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อมหาสมุทร กระทบกระแสน้ำ ทะเลสาบ หนองบึง ซึ่งโรโบฟิช หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหาร  ที่ทำงานได้แบบอเนกประสงค์ ก็จะช่วยแก้ไขปัญหามลภาวะในน้ำได้โดยตรง

สำหรับรุ่นต้นแบบของโรโบฟิชในปัจจุบัน ยังใช้รีโมตคอนโทรลแบบมีสาย แต่รุ่นต่อไปที่กำลังเร่งพัฒนาอยู่ จะสามารถดักจับอนุภาคไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กยิ่งขึ้น และจะว่ายน้ำได้เร็วขึ้น และใช้ระบบควบคุมแบบไร้สาย

ทั้งนี้  ไมโครพลาสติก คือ เศษชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเล็กมาก ๆ จนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติก ซึ่งไมโครพลาสติกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ไพรมารี่ ไมโครพลาสติก (Primary Microplastics) 2. เซนเคินดารี่ ไมโครพลาสติก (Secondary Microplastics)

งับๆ ไมโครพลาสติกเป็นอาหารได้.... มาทำความรู้จัก Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก ที่สามารถ จัดการ ไมโครพลาสติกได้  Credit ภาพจาก University of Surrey

และไมโครพลาสติกเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ โดย The Guardian เพิ่งจะรายงานข่าว การค้นพบไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อ มี.ค. 2022  โดย ผลวิจัยและการทดสอบจาก Vrije Universiteit Amsterdam เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดแบบสุ่ม ซึ่งผลออกมาเป็นที่น่าตกใจ เพราะ 80% จากกลุ่มตัวอย่าง ตรวจจับการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในเลือดได้ และเมื่อวิจัยให้ลึกลงไปอีก ทราบได้ว่า ไมโครพลาสติกในร่างกาย สามารถเดินทางไปได้ในทุกๆ ส่วน ผ่านทางหลอดเลือดในร่างกายมนุษย์ และอาจจะไปสะสมอยู่ที่อวัยวะภายในส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้

ดังนั้น เมื่อมี นวัตกรรม Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหาร ออกมา ย่อมถือเป็น สัญญาณที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการตระหนักถึงปัญหาไมโครพลาสติก 

ที่มา :  https://www.theguardian.com/environment/2022/mar/24/microplastics-found-in-human-blood-for-first-time

Plastic eating robot fish is here to clean our waters

งับๆ ไมโครพลาสติกเป็นอาหารได้.... มาทำความรู้จัก Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก ที่สามารถ จัดการ ไมโครพลาสติกได้  Credit ภาพจาก University of Surrey

related