svasdssvasds

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม สัตว์ในทะเล และระบบนิเวศ ขยะพลาสติกมีที่มาจากอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ และถือว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องการการจัดการอย่างเป็นระบบ

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก และเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะหมุนเวียนกลับไปใช้ประโยชน์ได้อีก จึงมีการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาใช้ โดยมีโครงการนำร่องในการเก็บขยะพลาสติกในท้องทะเลและชายหาด มารีไซเคิลและอัพไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทาง

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก Reclaim & Recycling Projects

โครงการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเป็นการลดปริมาณขยะ แถมยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทาง ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดระนอง กระบี่ และเชียงใหม่ เป็นการจัดการกับขยะพลาสติกอย่างเป็นระบบโดยร่วมกับชุมชน รวมถึงปลูกฝังให้เยาวชนในพื้นที่รักษาความสะอาดของชายหาด สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ และแยกขยะเพื่อนำมาอัพไซเคิล โดยที่จังหวัดระนองได้มีการสนับสนุนให้ชาวประมงหรือคนในพื้นที่เก็บขยะพลาสติกในท้องทะเลหรือชายหาดมาขายโดยจะมีจุดรับซื้อ ตลอดจนการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและอัพไซเคิล

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ส่วนของจังหวัดกระบี่ได้ร่วมกับวงพาณิชย์พื้นที่ ในการประชาสัมพันธ์โครงการนี้ในการรับรู้และเส้นทางการซื้อขายขยะพลาสติกเพื่อเป็นอีกเส้นทางการหารายได้ให้คนในชุมชน ซึ่งวงพาณิชย์กระบี่ได้เก็บขยะพลาสติกประมาณ 3,000 ตันซึ่งได้จากชุมชนในพื้นที่เป็นขยะที่ได้จากท้องทะเล ชายฝั่งต่างๆ เพื่อนำมาย่อยเป็นเศษพลาสติกและนำไปรีไซเคิลและอัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์รวมถึงบรรจุภัณฑ์ความงาม

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ปัจจุบันองค์กรหรืออุตสาหกรรมแขนงต่างๆ รวมถึงวงการความงามได้หันมาสนใจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายคนยังไม่รู้ใช่ไหมว่าในแต่ละปีอุตสาหกรรมความงามสร้างขยะจาก packaging ต่างๆ ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งองค์กร Zero Waste รายงานว่า ปีๆ นึงมีขยะจากอุตสาหกรรมความงามมากกว่า 1.2 ล้านชิ้น แล้วก็เป็นขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ซะส่วนใหญ่ จึงเกิดเทรนด์ Sustainability หรือเทรนด์ความงามอย่างยั่งยืน ที่ให้ความสำคัญทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ Recycle ได้ นวัตกรรมการผลิตลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสูตรผสมที่มาจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีหรือใช้น้อยที่สุดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อผิว และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม  

ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ขยะพลาสติกในทะเล สู่ BCG สร้างรายได้ให้ชุมชนและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก Caudalie แบรนด์ความงามสายรักษ์โลกที่ใช้หลัก Clean &Sustainability มีจุดมุ่งหมายในการสร้างแบรนด์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ก่อตั้งโดย Bertrand และ Mathilde Thomas สองสามีภรรยาที่ได้ก่อตั้งแบรนด์นี้ขึ้นปี 1995 และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ 1% for the Planet โดยตั้งแต่ปี 2012 ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 6 ล้านต้นในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปลูกต้นไม้มากที่สุด และภายในปีนี้มีแพลนปลูกให้ได้ถึง 8 ล้านต้น ซึ่งจะชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 4 เท่า เมื่อปี 2019 แค่ปีเดียว สามารถลดการใช้พลาสติกไปแล้ว 13 ตัน ปกป้องต้นไม้ได้ถึง 33 ตัน ในส่วนของการผลิตเครื่องสำอางและบรรจุภัณฑ์ ไม่มีการทดลองกับสัตว์หรือทรมานสัตว์ 

ในปี 2021 Caudalie ได้มีโครงการ 100%  Plastic Collect ที่เริ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเก็บขยะพลาสติกในท้องทะเลให้ได้ 646 ตัน โดยพลาสติกที่ถูกเก็บมาและรีไซเคิลในปี 2020 จะเท่ากับ 100% ของพลาสติกของแบรนด์ที่ใช้ในปี 2019 ซึ่งโครงการนี้ได้เริ่มต้นในชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะหลายพื้นที่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณชาดหาดของหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวมอแกน ได้รับฟื้นฟูจากขยะพลาสติกเป็นที่แรก ล่าสุดปี 2022 มีภารกิจ Zere Waste และได้สานต่อโครงการ100%  Plastic Collect  รวมถึงมีการปลูกต้นไม้เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย