svasdssvasds

พายุจ่อซัดแคลิฟอร์เนียอีก คาด ‘บอมบ์ไซโคลน’ เป็นผลจาก Climate change

พายุจ่อซัดแคลิฟอร์เนียอีก คาด ‘บอมบ์ไซโคลน’ เป็นผลจาก Climate change

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของสหรัฐ (NWS) ออกประกาศเตือนเกี่ยวกับสภาพอากาศเลวร้ายในรัฐแคลิฟอร์เนีย ว่า ภูมิภาคทางเหนือ จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนัก และต้องเจอภัยจากบอมบ์ไซโคลน อีก แม้ช่วงปลายปีที่ผ่านมา จะเจอผลกระทบมาแล้วรอบหนึ่ง

สภาพอากาศอันแปรปรวนซึ่งแน่นอนว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ Climate Change และตอนนี้ ปัญหาเหล่านี้ก็กำลังเล่นงานหลายๆพื้นที่ทั่วโลกจนอ่วม อาทิ ที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่ง  สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของสหรัฐ (NWS) ออกประกาศเตือนเกี่ยวกับสภาพอากาศเลวร้ายในรัฐแคลิฟอร์เนีย ว่า ภูมิภาคทางเหนือ จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนัก และต้องเจอภัยจากบอมบ์ไซโคลน อีก แม้ช่วงปลายปีที่ผ่านมา จะเจอผลกระทบมาแล้วรอบหนึ่ง 

ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน อันเนื่องมาจากความผิดเพี้ยนของสภาพอากาศ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกต่อไปแล้ว และทุกคนต้องตระหนักกันแล้ว โดย ปัจจุบัน พื้นที่ 2 ใน 3 ของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในสหรัฐฯ ต้องอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และกระแสลมกระโชกแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้แก่ครัวเรือนและสถานประกอบกิจการ รวมมากกว่า 60,000 แห่ง 

ทั้งนี้ รายงานของ MWS วัดประมาณน้ำฝนที่เมืองซานฟรานซิสโก สะสมระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. ถึง 4 ม.ค. ที่ผ่านมา ได้ 10.3 นิ้ว ถือเป็นสถิติสูงที่สุดในรอบ 152 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1870

พายุจ่อซัดแคลิฟอร์เนียอีกระลอก คาด ‘บอมบ์ไซโคลน’ เป็นผลจาก Climate change Credit ภาพ Xinhua


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่วนสถิติปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดต่อเนื่องภายในช่วงเวลา 10 วันของเมืองซานฟรานซิสโก อยู่ที่ 14.37 นิ้ว เมื่อปี 2405 

ขณะเดียวกัน NWS พยากรณ์หิมะจะตกหนักในภูมิภาคหุบเขาของรัฐแคลิฟอร์เนีย พร้อมทั้งเตือนภัยการเกิดดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภูมิภาคที่เคยประสบกับความเดือดร้อนจากไฟป่า และเคยได้รับอิทธิพลรุนแรงของพายุมรสุม ซึ่งรวมถึงเขตทางเหนือ ที่มีการเตือนภัยคลื่นพายุซัดฝั่งสูงหลายเมตรด้วย

 

 

พายุจ่อซัดแคลิฟอร์เนียอีกระลอก คาด ‘บอมบ์ไซโคลน’ เป็นผลจาก Climate change Credit ภาพ Xinhua

ทั้งนี้ แคลิฟอร์เนีย เผชิญกับอิทธิพลของ “บอมบ์ไซโคลน” ระลอกใหม่ ซึ่งหมายถึงสภาพอากาศเลวร้ายที่เป็นผลจากความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และแผ่ขยายอิทธิพลออกเป็นวงกว้าง ตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา โดยนายกาวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยกระดับการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นอย่างน้อย 6 ราย. 

พายุลูกนี้ที่กำลังเล่นงานแคลิฟอร์เนีย เกิดจาก 2 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้อนทับกัน ได้แก่ กระแสของไอน้ำที่มีชื้นหนาแน่นไหลเวียนและพัดพาเอาความชุ่มชื้นไปทำให้เกิดพายุฝนในส่วนต่าง ๆ ของโลก หรือที่เรียกว่า แม่น้ำในชั้นบรรยากาศ" (Atmospheric river) ประกอบกับพายุที่เกิดจากความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว หรือที่รู้จักกันในชื่อ บอมบ์ไซโคลน (bomb cyclone) ซึ่งคาดว่าปรากฎการณ์ทับซ้อนกันในครั้งนี้ เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือ Climate change นั่นเอง

related