svasdssvasds

จีนพบลักษณะ พืชนอนหลับ หรือ ต้นไม้นอน เก่าแก่สุด เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว

จีนพบลักษณะ พืชนอนหลับ หรือ ต้นไม้นอน เก่าแก่สุด เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว

ความว้าวเอาไปเต็มกราฟเลย! ...จีนพบลักษณะ พืชนอนหลับ หรือ ต้นไม้นอน นิกทีนาสตี (Nyctinasty) เก่าแก่สุด เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า มีการค้นพบของทีมนักวิจัยนานาชาติที่เผยแพร่ในวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology)  ระบุว่า นิกทีนาสตี (Nyctinasty) หรือ ลักษณะแบบ ต้นไม้นอน  ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกลางวันและกลางคืน อาทิ การหุบหรือกางใบ อาจมีมาตั้งแต่เมื่อ 250 ล้านปีก่อน และเป็นการค้นพบอีกหนึ่งคำตอบทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่ค้นหากันมานาน 

นิกทีนาสตี  (Nyctinasty) หรือต้นไม้นอน มีความคล้ายคลึงกับการนอนหลับของมนุษย์ โดยเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะชีวภาพ 24 ชั่วโมงของใบไม้ ซึ่งต้นกำเนิด ประวัติวิวัฒนาการ ต้นไม้นอน และประโยชน์ใช้สอยยังไม่ชัดเจนเนื่องจากขาดหลักฐานฟอสซิล จนกระทั่งคณะนักวิจัยพบฟอสซิลของพืชที่แสดงความเสียหายอันเกิดจากแมลง

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวแบบต้นไม้นอน  (Sleep  Movement  หรือ  Nyctinasty)  คือ  การเคลื่อนไหวของใบพืชตระกูลถั่ว เช่น ก้ามปู ไมยราบ ผักกระเฉด แค มะขาม กระถิน และถั่วต่างๆ

จีนพบลักษณะ พืชนอนหลับ หรือ ต้นไม้นอน เก่าแก่สุด เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว

การทำงาน  ก็คือ  เมื่อถึงเวลาค่ำของพืชพวกนี้ จะหุบและก้านใบจะห้อยลง พอรุ่งเช้าได้รับแสงมาก ใบก็จะกางออกตามปกติ   เพราะ ที่โคนก้านใบประกอบหรือก้านใบย่อยหรือทั้งสองอย่าง จะมีเซลล์  Parenchyma  ที่เรียกว่า Pulvinus Cell  ที่อมน้ำไว้มาก จึงทำให้มีลักษณะพองโตออกเล็กน้อย เรียกบริเวณนี้ว่า พัลวินัส (Pulvinus) เซลล์ Pulvinus  นี้มีขนาดใหญ่และผนังเซลล์บางมีความไวต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น  เช่น  การสัมผัส , ความร้อน เป็นต้น เมื่อไม่มีแสงสว่าง จะมีผลทำให้เซลล์สูญเสียน้ำไปให้กับช่องว่างระหว่างเซลล์ที่อยู่ข้างเคียง  และเป็นผลทำให้ใบหุบ เมื่อมีแสงสว่าง เซลล์จะได้รับน้ำจากเซลล์ข้างเคียง  เซลล์ก็จะเต่งขึ้น ใบก็จะกางออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดย คณะนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำโดยเฝิงจัว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้เปรียบเทียบรูปแบบสมมาตรของความเสียหายอันเกิดจากแมลงบนใบไม้หุบที่ยังมีชีวิต กับรูปแบบเดียวกันบนใบของพืชเก่าแก่ 250 ล้านปีที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

คณะนักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า ฟอสซิลใบไม้ข้างต้นถูกแมลงโจมตีขณะที่กำลังหุบหรือ “นอนหลับ”  ซึ่งเป็นหลักฐานแรกของการนอนของต้นไม้ทางใบในฟอสซิลพืช

จีนพบลักษณะ พืชนอนหลับ หรือ ต้นไม้นอน เก่าแก่สุด เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว

นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากและค้นพบว่าการนอนของต้นไม้ทางใบมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในกลุ่มพืชที่หลากหลาย  

ความว้าวเอาไปเต็มกราฟเลย! ... จีนพบลักษณะ พืชนอนหลับ หรือ ต้นไม้นอน เก่าแก่สุด เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว Credit ภาพ Xinhua
 

related