svasdssvasds

นักวิจัยค้นพบเทอโรซอร์มีฟัน 500 ซี่ รูปร่างเหมือนฟลามิงโก อายุ 150 ล้านปี

นักวิจัยค้นพบเทอโรซอร์มีฟัน 500 ซี่ รูปร่างเหมือนฟลามิงโก อายุ 150 ล้านปี

ค้นพบฟอสซิลสัตว์แปลกตา สัตว์ประเภทเทอโรซอร์ที่มีฟันเกือบ 500 ซี่ รูปร่างเหมือนนกฟลามิงโก สัตว์จากยุคจูราสสิค มีชีวิตเมื่อราว ๆ 150 ล้านปี

เป็นเรื่องไม่ใหม่ แต่ก็น่าตื่นใจ นักวิทย์ค้นพบเทอโรซอร์ (ประเภทสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลาน) จากโลกจูราสสิค มีอายุเมื่อ 157-152 ล้านปีก่อน รูปร่างช่างแปลกตา เหมือนนกเทอโรซอร์ทั่วไป แต่พวกมันแตกต่างตรงที่ว่ามีฟันเล็ก ๆ หลายร้อยซี่ หากินบริเวณน่านน้ำ เหมือนนกฟลามิงโก

ภาพจำลองตอนที่ยังมีชีวิต Cr. Megan Jacobs / the University of Portsmouth

ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารภาษาเยอรมัน PalZ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา นักวิจัยได้อธิบายการค้นพบสุดน่าทึ่ง พวกเขาเล่าว่า สายพันธุ์ใหม่นี้ถูกพบโดยบังเอิญที่เหมืองร้างในเขต Franconian Jura ของรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นจุดที่มีการขุดพบฟอสซิลเทอโรซอร์มากที่สุดในโลก

นักวิจัยกลุ่มนี้ได้ค้นพบตัวอย่างใหม่นี้ ซึ่งมันถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี โครงกระดูกใกล้สมบูรณ์แบบพร้อมกับเส้นเอ็นบางส่วนที่ยังไม่บุบสลาย พอพิจารณาจากตะกอนรอบ ๆ แล้ว จึงคาดการณ์ได้ว่า นกตัวนี้มีอายุอยู่ในยุคจูราสสิค หรือเมื่อราว ๆ 157-152 ล้านปีก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยได้อธิบายถึงลักษณะเด่นหลายประการ ที่ทำให้สายพันธุ์ใหม่นี้ แตกต่างจากเทอโรซอร์อื่น ๆ มันเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้คล้ายนก เป็นลูกพี่ลูกน้องของเทอโรซอร์ที่บินอยู่บนท้องฟ้าในช่วงยุค Mesozonic (ราว ๆ 252-66 ล้านปีก่อน) นั่นหมายความว่าพวกมันมีชีวิตอยู่บนโลกนี้มานานมาก จะว่าไปมันก็เหมือนนกกระยางหรือไม่ก็ฟลามิงโกเหมือนกันนะ

โครงฟฟอสซิลที่ค้นพบ Cr. the University of Portsmouth ตัวอย่างที่ค้นพบนี้ มีปีกกว้างประมาณ 1.1 เมตร ฟัน 480 ซี่ ซึ่งฟันมีความยาวระหว่าง 0.08-0.43 นิ้ว เรียกได้ว่าเป็นจำนวนฟันสำหรับสัตว์กัดแทะที่คาดว่าจะยาวเป็นลำดับสองที่พบในเทอโรซอร์ นักวิจัยจัดให้มันอยู่ในวงศ์ Ctenochasmatidae กับกลุ่มเทอโรซอร์อื่น ๆ แต่มีลักษณะพิเศษที่ต่างออกไป

David Martill นักบรรพชีวินวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) สหราชอาณาจักร อธิบายว่า ปากของสัตว์ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายนกปากช้อนสมัยใหม่ในสกุลของ Platalea มันโค้งขึ้นเล็กน้อย ปลายปากไม่มีฟัน แต่มีฟันยาวตลอดกรามทั้งสองข้างไปจนสุดด้านหลังของปาก

“ขากรรไกรของเทอโรซอร์นี้ยาวจริงๆ และเรียงรายไปด้วยฟันซี่เล็กๆ ละเอียด มีลักษณะเป็นตะขอ มีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างพวกมันเหมือนหวีเล็กๆ”

Martill ยังเสริมอีกว่า รูปร่างของฟันที่งุ้มแบบนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในเทอโรซอร์ ขอเกี่ยวเล็ก ๆ น่าจะมีไว้เพื่อใช้จับกุ้งตัวเล็ก ๆ ที่อาจเป็นอาหารจานโปรดของพวกมัน ซึ่งก็เหมือนนกฟลามิงโกที่ชอบกินกุ้งและกินสาหร่ายขนาดเล็กจากน้ำโคลนหรือน้ำปนทรายในทะเลสาบตื้น ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียว คือ นกฟลามิงโกใช้ขนเล็ก ๆ ที่เรีกยว่า ลาเมลเล (lamellae) เพื่อกรองอาหารแทนการใช้ฟัน

ประเภทต่างๆของเทอโรซอร์ Cr. MathKnight ทักษะการกรองอาหารของเทอโรซอร์ปากช้อนยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการกินอาหารของวาฬ สัตว์ที่พบใหม่นี้มีชื่อว่า Balaenognathus maeuseri ซึ่งเป็นชื่อสกุลที่สื่อถึงสกุล Balaenoptera ที่มีชีวิต

บาลีนหรือฟันของวาฬบางชนิดมีการหากินด้วยการกรอง เช่น วาฬสีน้ำเงิน (B. musculus) วาฬฟิน (B. physalus) และวาฬมิงค์ (B. อะคูโทโรสตราตา). ชื่อสปีชีส์ของเทอโรซอร์มีฟันชื่อ maeuseri ตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึง Matthias Mäuser หนึ่งในผู้เขียนการศึกษาซึ่งเสียชีวิตขณะเขียนบทความ

ใครอยากยลโฉมตัวจริงของมัน ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชนได้ที่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแบมเบิร์ก (the Bamberg Natural History Museum) ประเทศเยอรมนี  เพราะโลกนี้ยังมีอะไรให้เราค้นหาอีกเยอะ

ที่มาข้อมูล

the University of Portsmouth

Live Science

related