ธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวด สร้างขยะพลาสติกมากมายให้กับโลก ทราบหรือไม่ว่า มีเพียง 2.3 เปอร์เซนต์ ที่น้ำบรรจุในขวดแก้ว ออกวางขายให้เราๆได้ดื่ม ที่เหลือคือ ขวดพลาสติก แต่ในขณะเดียวกัน ตัวเลขทางธุรกิจกลับเติบโตสวนทางกับการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม
สำนักข่าว บีบีซี ออกมาเปิดเผยว่า เหมันธา วิธานเนจ (Hemantha Withanage) ประธานของกลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม Friends of the Earth International ให้ความเห็นว่า ทุกวันนี้ มษุษย์เรา ไม่ควรซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกเพราะ น้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก จะสร้างขยะ และ ความเสียหายจากพลาสติกจะเป็นสิ่งที่ย้อนเวลากลับไปแก้ไขไม่ได้ นอกจากนี้ เมื่อแยกส่วนเป็นไมโครพลาสติกแล้ว ขวดน้ำดื่มพลาสติกจะทำให้เกิดมลพิษต่อระบบนิเวศทั้งหมด
ทราบหรือไม่ว่า จากสถิติทั่วโลก ขวดน้ำดื่ม ที่ขายๆกัน ให้มนุษย์เราได้บริโภคนั้น มีเพียง 2.3 เปอร์เซนต์ ที่บรรจุในขวดแก้ว ส่วนที่เหลือมากกว่า 95 เปอร์เซนต์นั้นคือ บรรจุด้วยขวดพลาสติก และนั่นหมายความ ขยะพลาสติก จะมีมากมาย ปริมาณมากขึ้นตามมาเป็นเงาตามตัว
มีการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับ ขวดน้ำพลาสติก ที่น่าเป็นกังวล เพราะในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว มีการซื้อขวดน้ำพลาสติกเป็นจำนวนถึง 50,000 ล้านขวดทุกปี และจากการสำรวจพบว่า ปัจจุบันมีขวดพลาสติกที่ขายทั่วโลกเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล ในอุตสาหกรรมปัจจุบัน นับได้ว่าขวดที่ทำจากโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต polyethylene terephthalat หรือ ขวด PET สามารถรีไซเคิลได้ 100%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จะเห็นได้ว่า แค่สหรัฐฯ ประเทศเดียวก็เห็นภาพของ ขยะพลาสติก มหาศาล แต่อย่างไรก็ตาม ภาคส่วนตัวเลขธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วโลกยังคงเติบโตต่อเนื่องแบบไม่พัก และยังคาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีรายได้ถึง 324,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 และตัวเลขดังกล่าวคาดว่าจะพุ่งไปที่ 419,900 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2029 การเติบโตนี้นำขบวนโดยน้ำอัดลมซึ่งยอดขายเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
ในแง่ของการรรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้ , ผู้คนต่างเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องหันมาร่วมมือกันอย่างจริงจังในการลดการผลิตพลาสติก ไม่ว่าจะผ่านนวัตกรรม หรือการออกแบบสินค้าต่างๆ รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเร่งปรับปรุงวิธีการจัดการขยะและเพิ่มการรีไซเคิล รวมถึงมาตรการจูงใจภาคเอกชนให้ครอบคลุม แม้ที่ผ่านมาจะมีข้อห้ามและมาตรการทางภาษีเกี่ยวกับพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในกว่า 120 ประเทศแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เพียงพอที่จะลดมลพิษโดยรวมจากขยะพลาสติก และกระบวนการผลิตพลาสติกที่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่การเก็บภาษีฝังกลบและการเผาขยะเพื่อจูงใจให้รีไซเคิลมากขึ้นมีบังคับใช้ในบางประเทศเท่านั้น.
ที่มา BBC