svasdssvasds

ค้นพบ "ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์" ครั้งแรกในไทย ที่ มุกดาหาร อายุเกือบ 400 ล้านปี

ค้นพบ "ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์" ครั้งแรกในไทย ที่ มุกดาหาร อายุเกือบ 400 ล้านปี

มีการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ที่บ้านคำพอก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร อายุครีเทเชียสตอนต้น หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้วและยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รายงานว่า ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ที่บ้านคำพอก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ในหมวดหินภูกระดึงตอนบน อายุครีเทเชียสตอนต้น เป็นกระดูกขากรรไกรส่วนล่าง รหัสตัวอย่าง PRC 160 โดยการค้นพบครั้งนี้ เป็นการทำงานระหว่าง นักวิจัยจากศูนย์ฯ ร่วมกับคณะนักวิจัยชาวต่างชาติ

ทั้งนี้ ซากดึกดำบรรพ์ที่พบนั้น เป็นปลาซีลาแคนธ์ในกลุ่มมอว์โซนิด แต่ด้วยข้อจำกัดของกระดูกที่พบเพียงชิ้นเดียว จึงยังไม่สามารถระบุรายละเอียดได้มากกว่านี้ 


แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนท์ ครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นการค้นพบครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ปลา ซีลาแคนธ์ (Coelacanth) คือปลาอะไร ? 

สำหรับ ปลาซีลาแคนธ์ (Coelacanth) เป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้ว และยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน 

ปลากลุ่ม ซีลาแคนธ์ (Coelacanth) นี้มีลักษณะเด่นคือครีบที่มีลักษณะเป็นพู่เนื้อขนาดใหญ่ 4 ครีบ

หากจะลองขยายความเพิ่มขึ้นนั้น ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) นับได้ว่า เป็นปลาดึกดำบรรพ์ ที่พบฟอสซิลอยู่ในยุคดีโวเนียน (ประมาณ 400 ล้านปีก่อน) และเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงปลายยุคครีเทเชียส (ประมาณ 65 ล้านปีก่อน) ซึ่งเป็นยุคที่สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ สูญพันธุ์ไปถึง 94% 

 

ค้นพบ ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์ ครั้งแรกในไทย ที่มุกดาหาร อายุเกือบ 400 ล้านปี Credit ภาพ Getty Image

จนกระทั่ง ปี 1938 จึงได้มีการบันทึกการค้นพบปลาซีลาแคนท์ตัวแรก ชนิดแรก แบบมีชีวิต ที่แอฟริกาใต้ (Latimeria chalumnae, West Indian Ocean coelacanth) และค้นพบชนิดที่สองที่เกาะซูลาเวซี อินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1999 (Latimeria menadoensis, Indonesian coelacanth) พบอาศัยอยู่ในน้ำลึกตั้งแต่ 100-500 เมตร 

ซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิดเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดในช่วงตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ในยุคไทรแอสซิกประมาณ 251-201 ล้านปีที่แล้ว ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายประมาณ 163-145 ล้านปีก่อน พบว่าปลากลุ่มนี้เปลี่ยนแหล่งอาศัยไปอยู่ในทะเล และมีการเปลี่ยนแหล่งอาศัยกลับมาอยู่ในแหล่งน้ำจืดเมื่อเข้าสู่ยุคครีเทเชียสราว 145-66 ล้านปีที่แล้ว


มีรายงานว่า ทีมสำรวจกลุ่มนี้ ยังพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่มเมเทรียแคนโธซอริดอีกด้วย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมดหินภูกระดึงของไทย และเพิ่มข้อมูลด้านการกระจายทางบรรพชีวภูมิศาสตร์ของปลาโบราณกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น

เมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์คิดว่าปลาซีลาแคนธ์ได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว แต่กลับมีผู้พบเห็นมันอีกครั้งเมื่อปี 1938 หลังปลาชนิดนี้ติดเข้ามาในอวนของชาวประมงที่นอกชายฝั่งประเทศแอฟริกาใต้

โดยปลาซีลาแคนท์ที่โตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่ถึง 1.8 เมตร และหนักกว่า 90 กิโลกรัม ปัจจุบันมีแหล่งที่อยู่ของปลาซีลาแคนธ์เพียงสองแห่งในโลก คือที่บริเวณชายฝั่งเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย และตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประชากรปลาซีลาแคนท์กลุ่มหลังนี้อาจเหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยตัว

 

related