svasdssvasds

ทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร ? อ.เจษฎา เตือน ห้ามจับ-เข้าใกล้เด็ดขาด

ทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร ? อ.เจษฎา เตือน ห้ามจับ-เข้าใกล้เด็ดขาด

มาทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร ? หลังจากที่ สารตัวนี้ ที่ใช้กับเครื่องเลเซอร์ เพื่อใช้จับฝุ่นขี้เถ้า ในโรงงานผลิตไฟฟ้าไอน้ำ พื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ได้หายไปจากพื้นที่

ทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร ? หลังจากที่ สารตัวนี้ ที่ใช้กับเครื่องเลเซอร์ เพื่อใช้จับฝุ่นขี้เถ้า ในโรงงานผลิตไฟฟ้าไอน้ำ พื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี หายไปจากพื้นที่ และหวั่นเกรงกันว่า จะ มีชาวบ้านหรือคนเก็บของเก่ามาเจอคิดว่าเป็นเศษเหล็กจึงเก็บเอาไปขาย โดยไม่ทราบว่าวัตถุดังกล่าวเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพ 

• ทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร  ?  

ซีเซียม Casium หรือ Cesium (Cs-137) เป็นธาตุหมายเลข 55 มีสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cs พบในธรรมชาติ มีลักษณะเป็นโลหะ ในด้านประโยชน์การใช้งาน จะมีประโยชน์อย่างมากในทางอุตสาหกรรม เนื่องจากมีแรงรังสีสูง นอกจากนี้ ซีเซียม 137 ยังพบในฝุ่นกัมมันตรังสี เป็นการปนเปื้อนตัวหนึ่งในสิ่งแวดล้อม 

• ซีเซียม 137 มาจากไหน ? 

ซีเซียมที่ไม่เป็นสารกัมมันตรังสรมีปรากฏอยู่เพียงไอโซโทปเดียว คือ ซีเซียม -133 ตามธรรมชาติ พบรวมอยู่เพียงปริมาณเล็กน้อยในแร่ชนิดต่างๆ น้ำทะเล ห้วย ลำธาร และในร่างกายมนุษย์

ทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร ? อ.เจษฎา เตือน ห้ามจับ-เข้าใกล้เด็ดขาด
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ซีเชียม 137 ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ซีเซียม-137 นับเป็นไอโซโทปรังสีที่นิยมนำ มาใช้ทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดตัวหนึ่ง มีเครื่อง มือนับพันชนิดที่ใช้ซีเชียม-137 เช่น เครื่องวัดความชื้นและความหนาแน่น ที่ มีใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง 

- เครื่องวัดระดับ ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวัดการไหลของของเหลวในท่อและแท็งก์ 

- เครื่องวัดความหนา สำหรับวัดความหนาของแผ่นโลหะ กระดาษ ฟิล์ม และผลิตภัณฑ์อื่น อีกมาก
เครื่องหยั่งธรณี (well-logging) ใน อุตสาหกรรมการขุดเจาะ เพื่อช่วยบอกลักษณะ เฉพาะของชั้นดินและหินต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้ซีเชียม-137 ในทางการแพทย์ โดยใช้บำบัดมะเร็งใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา มาตรฐานสำหรับการปรับเทียบระบบการวัดรังสี แกมมาในห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี

• ซีเชียม-137 มีผลต่อสุขภาพของคนได้อย่างไร?

ซีเขียม-137 ก็เหมือนกับสารกัมมันตรังสีตัว อื่นๆ การได้รับรังสีที่แผ่มาจากซีเชียม-137 มีผลทำให้อัตราการเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ทุกๆคนจะได้รับรังสีจากซีเชียม-137ที่มาจากในดินและน้ำ อันเนื่องมาจากฝุ่นกัมมันตรังสี แต่ได้รับ ในปริมาณที่น้อยมาก การได้รับรังสีที่มาจากกาก กัมมันตรังสีในบริเวณที่เปรอะเปื้อนหรือจากอุบัติเหตุ

ทางนิวเคลียร์ สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าการได้รับรังสีที่มาจากสิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป คณะกรรมการป้องกันอันตรายจากรังสีแห่งชาติ ของอังกฤษทำนายว่า จะมีประชาชนในแถบยุโรปตะวันตกของกลุ่มที่ได้รับฝุ่นกัมมันตรังสีจากอุบัติเหตุ

ทางนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นที่เซอร์โนบิล เป็นโรคมะเร็ง อันเนื่องมาจาก ซีเชียม-137 เพิ่มมากขึ้นถึง 1,000 คน ในช่วงเวลาอีก 70 ปีต่อจากนี้ไป

บุคคลใดถ้าได้รับปริมาณรังสีสูงมากๆ จะทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนังอย่างรุนแรง ซึ่งอาจมี ผลทำให้เสียชีวิตได้ แต่โอกาสแบบนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก  ตัวอย่างหนึ่งของเหตุการณ์ที่ประชาชนอาจได้รับรังสีเป็นปริมาณสูงมากๆ ได้แก่ การหยิบจับต้น กำเนิดรังสีซีเซียม-137 ชนิดใช้ใ อุตสาหกรรมที่มีความแรงรังสีสูงมาก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขนาดความรุนแรงและอันตรายที่จะเกิดต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับสภาระชองการได้รับรังสีตามปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 

- ความแรงของต้นกำเนิด
- เวลาในการได้รับรังสี
- ระยะทางจากต้นกำเนิดรังสี
- เครื่องกำบังรังสีระหว่างตัวบุคคลกับต้นกำเนิดรังสี

ขณะที่  ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์  ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว keep the World ของ SPRiNG ในประเด็น ซีเซียม-137 ที่หายไปนั้น โดยได้เตือนประชาชนอย่าเข้าไปใกล้ ไปสัมผัส เพราะอาจเกิดการรั่วไหลของสารรังสี และ อาจซ้ำรอยเหมือนกรณีที่ คนเก็บของเก่า เอา โคบอลต์-60 ซึ่งเป็นสารอันตรายมาผ่า ในอดีต เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว 

ในประเทศไทย นั้นยังไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้น สารตัวนี้ ซีเซียม-137 ไม่ใช่สารที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่เป็น สารที่ใช้ในโรงไฟฟ้าไอน้ำ โดยสารตัวนี้ มาใช้ในลักษณะการเอ็กซเรย์ โดยตัวสารนี้ สามารถเอามาใช้ในลักษะการฉายแสง และ ใช้ตรวจสอบ ท่อไอน้ำต่างๆ รั่วหรือไม่ 

ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

ส่วนประเด็นของการหายไปนั้น ยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัด แต่ผู้ใดที่สัมผัสใกล้ชิดก็อาจจะมีอันตราย คล้ายๆลักษณะการถูกสารรังสีเอ็กซเรย์   โดยในสมัยก่อนเคยมีข่าวในลักษณะนี้ เช่นกัน นั่นคือ โคบอลต์-60 ที่เคยเคยหายไป แล้วมี ซาเล้ง ไปเก็บขาย แล้วสุดท้าย มีสารรังสีออกมา ทำให้ผู้ที่ใกล้ชิด มีความผิดปกติที่เนื้อเยื่อ มีความผิดปกติใน DNA  , อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไป ต้องสังเกต สัญลักษณ์ และให้ระวัง หากเจอต้อง แจ้งเจ้าหน้าที่ อย่าไปสัมผัส 

(Note : ปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์  2543  มีส่วนหัวของเครื่องฉายรังสีทางการแพทย์ หรือ เครื่องฉายรังสี โคบอลต์-60 ที่ไม่ใช้แล้วถูกแยกชิ้นส่วนออกมา และบางส่วนถูกนำออกมาจากสถานที่เก็บที่ไม่มีการควบคุมดูแล นำไปเก็บไว้ในที่จอดรถร้างในซอยอ่อนนุช ตั้งแต่ปี 2542 ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนเก็บของเก่า จัดการแยกชิ้นส่วนเพื่อจะนำไปขายเป็นเศษโลหะ ที่ร้านรับซื้อของเก่า ทำให้รังสีแพร่ออกมา ผู้ที่โดนรังสีเข้าไปต่างมีอาการเจ็บป่วยไปตามๆ กัน ) 

ที่มา oap.go.th

related