svasdssvasds

จีนเผย ทยอยลดการใช้สารทำลายโอโซนโลกไปแล้ว 5 แสนตัน

จีนเผย ทยอยลดการใช้สารทำลายโอโซนโลกไปแล้ว 5 แสนตัน

จีนประกาศ 35 ปีผ่านมา สามารถทยอยลดการใช้สารทำลายโอโซนโลกลงไปได้แล้วกว่า 5 แสนตัน และจะเดินหน้าแก้กฎหมายให้รัดกุมยิ่งขึ้น สารใดก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนบ้าง?

นับตั้งแต่จีนได้เข้าร่วมพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ตอนนี้ทางการจีนได้เปิดเผยว่า จีนสามารถทยอยเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้แล้วรวม 504,000 ตัน

สำนักข่าวซินหัวรายงาน จ้าวอิงหมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน ได้จัดประชุมเนื่องในวันพิทักษ์ขั้นโอโซนสากล (International Day for the Preservation of the Ozone Layer) ผ่านทางออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ก.ย. 2022 ในช่วงต้นของการประชุม เขาได้ระบุว่า จีนได้ทยอยเลิกใช้สารที่มีส่วนในการทำลายชั้นโอโซนของโลกแล้วมากกว่าร้อยละ 99 ตลอดช่วง 35 ปีที่ผ่านมา

ซึ่งจีนได้เคยลงนามในพิธีสารดังกล่าวเมื่อปี 1991 และพิธีสารฉบับแก้ไขคิกาลี (Kigali Amendment) ที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2021 โดยจีนจะเดินหน้าปรับปรุงระบบทางกฎหมายและนโยบาย มุ่งมั่นดำเนินตามพันธสัญญาและกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อมีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตบนโลก

จีนเผย ทยอยลดการใช้สารทำลายโอโซนโลกไปแล้ว 5 แสนตัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สารใดบ้างที่ทำลายชั้นโอโซนของโลก (Ozone Depleting Substances หรือ ODS) ที่เมื่อสะสมในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์มาก ๆ จะทำให้ชั้นโอโซนของเรานั้นอ่อนแอ เบาบาง และขาดได้ง่าย สารทำลายชั้นโอโซนมีอะไรบ้าง?

  • คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon, CFCs)
  • ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbon, HCFCs)
  • ฮาลอน (Halons)
  • ไฮโดรโบรโมฟลูออโรคาร์บอน (Hydrobromofluorocarbon, HBFCs)
  • โบรโมคลอโรมีเทน (Bromochloromethane)
  • เมทิลคลอโรฟอร์ม (Methyl Chloroform)
  • คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride)
  • เมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide)

 

สารเหล่านี้มาจากไหนได้บ้าง

ส่วนใหญ่จะมาจาก สารที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สารกำจัดศัตรูพืช เครื่องทำความเย็นบรรจุภัณฑ์ในตู้เย็นและแอร์คอนดิชันเนอร์ เครื่องดับเพลิงฉนวน สเปย์จากกระป๋องพ่นสี ท่อไอเสียรถยนต์ และอื่น ๆ

เราสามารถช่วยลดการใช้สารทำลายโอโซนลงได้ ด้วยการขับขี่น้อย ๆ ลดการปล่อยควันที่เป็นพิาสู่ชั้นบรรยากาศโลก ลดการใช้แอร์ในช่วงที่ไม่จำเป็น และอีกหลากหลายวิธีที่เราสามารถช่วยโลกได้ ไม่เพียงแค่ชั้นโอโซน

ที่มาข้อมูล

https://www.xinhuathai.com/china/308499_20220918

https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/mjaw/mdm4/~edisp/webportal16200038348.pdf

 

related