svasdssvasds

อุณหภูมิโลกเพิ่มเป็น 1.15 องศาเซลเซียสแล้ว อุตุฯโลกเผย 8 ปีที่ผ่านมา ร้อนสุด

อุณหภูมิโลกเพิ่มเป็น 1.15 องศาเซลเซียสแล้ว อุตุฯโลกเผย 8 ปีที่ผ่านมา ร้อนสุด

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO เผยบนเวที COP27 ว่าอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1.15 องศาเซลเซียสแล้ว 8 ปีที่ผ่านมา โลกร้อนสุดเป็นประวัติการณ์

ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งยุโรปละลายทำลายสถิติ สภาพอากาศสุดขั้ว ทำให้หายนะมาเยือนแก่โลกและมวลมนุษย์

เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2565 ที่ผ่านมา ณ ชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ (WMO) หรือ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก นำโดย นาย Petteri Taalas เลขาธิการขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้กล่าวบนเวทีเปิด COP27 โดยเผยว่า 8 ปีที่ผ่านมา เป็นเส้นทางของระยะเวลาที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นและความร้อนสะสม คลื่นความร้อนที่รุนแรง ความแห้งแล้ง และอุทกภัยที่รุนแรง

ศาสตราจารย์ Petteri Taalas เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ในงาน COP27 ปรากฎการณ์ที่แปรปรวนดังกล่าว ทให้ผู้คนหลายพันล้านคนในปีนี้ ประสบปัญหาความทุกข์ยากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตามรายงานสภาวะอากาศโลกประจำปี 2565 ขององค์การอุตุนิยมวิทยา

การเปลี่ยนแปลงกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตั้งแต่ปี 1993 โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 10 มม. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 สู่ระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ในปีนี้ หรือหากคิดเป็นเพียง 2 ผีครึ่งที่ผ่านมา ก็คิดเป็น 10% ของระดับน้ำทะเลโดยรวมที่เพิ่งขึ้น นับตั้งแต่มีการตรวจวัดเมื่อราว ๆ 30 ปีก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในปีนี้เราได้เห็นแล้วว่า เราได้รับความเสียหายอย่างหนักจากธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ของยุโรป ที่ละลายมากสุดเป็นประวัติการณ์ แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ก็สูญเสียมวลเป็นปีที่ 26 ติดต่อกันแถมฝนยังตกซ้ำเติมการชะล้างของน้ำแข็งเรื่อย ๆ แทนที่จะมีหิมะ แต่ฝนดันตกแทนเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1.15 องศาเซลเซียสแล้ว ความร้อนทั่วโลกยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  จนปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.15 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยยุคก่อนอุตสาหกรรมแล้ว  อีกทั้งปรากฎการณ์ลานีญา ทำให้เกิดความเย็น 3 ชั้นซึ่งหาได้ยากด้วย

“ยิ่งภาวะโลกร้อนมากเท่าไร ผลกระทบก็จะยิ่งแย่ลง ขณะนี้เรามีคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงจนอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสของข้อตกลงปารีสอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม” ศาสตราจารย์ Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าว

“มันสายเกินไปแล้วสำหรับธารน้ำแข็งหลายแห่ง และการละลายจะดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยหรือหลายพันปี โดยมีผลกระทบสำคัญต่อความมั่นคงทางน้ำ อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าเราจะยังคงวัดเป็นมิลลิเมตรต่อปี แต่ก็เพิ่มขึ้นถึงครึ่งถึงหนึ่งเมตรต่อศตวรรษ และนั่นเป็นภัยคุกคามระยะยาวและสำคัญต่อผู้อยู่อาศัยชายฝั่งหลายล้านคนและรัฐที่อยู่ต่ำ”

“บ่อยครั้งมากที่ผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานมากที่สุด ดังที่เราได้เห็นจากอุทกภัยครั้งใหญ่ในปากีสถาน และความแห้งแล้งที่ร้ายแรงถึงตายในเขาแอฟริกา แต่แม้กระทั่งสังคมที่เตรียมพร้อมมาอย่างดีในปีนี้ก็ยังถูกทำลายล้างด้วยความสุดโต่ง ดังที่เห็นได้จากคลื่นความร้อนที่ยืดเยื้อและความแห้งแล้งในพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปและตอนใต้ของจีน” เขากล่าว

โดยสรุปแล้ว ปีนี้เราเจอภัยอะไรบ้าง?

  • ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ตอนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.15 องศาเซลเซียส
  • ธารน้ำแข็งละลายหลายแห่ง ทำให้ความหนาแน่นของน้ำแข็งหายไป และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ไม่มีหิมะอยู่ได้นานกว่าฤดูร้อน
  • ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4 ± 0.3 มม. ต่อปีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
  • สภาพอากาศสุดขั้ว: ในแอฟริกาตะวันออก ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในฤดูฝนสี่ฤดูติดต่อกัน ยาวนานที่สุดในรอบ 40 ปี
  • ฝนทำลายสถิติในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,700 รายและประชาชนได้รับผลกระทบ 33 ล้านคน
  • พื้นที่ขนาดใหญ่ของยุโรปอบอ้าวด้วยความร้อนจัดซ้ำแล้วซ้ำเล่า สหราชอาณาจักรสร้างสถิติใหม่ระดับประเทศเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 40°C เป็นครั้งแรก

ที่มาข้อมูล

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก 

related