svasdssvasds

สภาวิศวกรชี้ ไทยจบปัญหาขยะได้ เริ่มที่ วินัย พร้อมเปิดอาคารใหม่ ใส่ใจต่อโลก

สภาวิศวกรชี้ ไทยจบปัญหาขยะได้ เริ่มที่ วินัย พร้อมเปิดอาคารใหม่ ใส่ใจต่อโลก

สภาวิศวกรรับเทรนด์ "ปลอดคาร์บอน" เผยแนวคิดอาคารใหม่ ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 30% ย้ำแนวคิด ระบบจัดการขยะไทยยังไม่ดี แต่สามารถแก้ได้ เริ่มที่ มายเซ็ท

ประเทศไทย ต้องยอมรับว่าระบบการกำจัดขยะยังไม่ได้ดีมากพอจนสามารถจำกัดขยะให้หมดไปได้ ส่วนหนึ่งมาจากวินัยการทิ้งขยะตั้งแต่ต้นทาง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 สภาวิศวกรร่อนจดหมาย รับเทรนด์ “ปลอดคาร์บอน” ด้วยการเปิดตัวการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ

เบื้องต้น ผู้เชี่ยวชาญได้เผยว่า ปัญหาการจัดการขยะในไทยยังเรื้อรัง ระบบขาดมาตรฐาน โรงงานแปลงขยะเพื่อเป็นพลังงานก็ยังมีน้อยมาก ดังนั้นจึงอยากเน้นย้ำว่า การแยกขยะที่ดีจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งจะสามารถช่วยให้ขยะสามารถวนกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง

การแยกขยะจะดีขึ้น เริ่มได้ที่ต้นทางคือ ผู้บริโภค กระบวนการทางวิศวกรรมเองก็มีส่วนช่วยในการจัดการขยะรีไซเคิล ช่วยลดวัตถุดิบต้นทาง ลดปริมาณขยะปลายทาง ลดภาระการกำจัด ลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกำจัดขยะ นอกจากนี้ สภาวิศวกรยังย้ำอีกด้วยว่า กฎหมายไทยยังไม่มีการเจาะจงคัดแยกขยะมีเพียงแนวทางและการขอความร่วมมือกับชุมชนเท่านั้น ทำให้ประชาชนขาดความตระหนักรู้และความเข้าใจการปฏิบัติตาม

รศ. ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สภาวิศวกร กล่าวว่า ปัญหาขยะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดการขยะในประเทศไทย เป็นปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน ระบบการคัดแยกขยะชุมชนยังไม่มีระบบที่เป็นมาตรฐานแน่นอน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของแต่ละพื้นที่

รศ. ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สภาวิศวกร

ดังนั้น เพื่อการจัดการขยะให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ประเทศไทยจึงควรมีการร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงานเพื่อจัดการขยะให้เป็นสัดส่วน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข ภาครัฐควรมีการอัปเดทข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและสถานการณ์ของขยะในปัจจุบัน และนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการในปัจจุบัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าที่ผ่านมารัฐขอความร่วมมือประชาชนมาตลอด ดังนั้นในภาคส่วนของประชาชนก็ควรให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ปรับพฤติกรรมการทิ้ง การใช้ผลิตภัณฑ์ และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม”

แต่ในส่วนของสถาบันการศึกษา ก็ควรจะมีหน้าที่ในการป้อนความรู้ ความเข้าใจและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการขยะเพื่อสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถในการร่วมมือช่วยกันเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้สามารถจัดการปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

รูปแบบการจัดการขยะชุมชนส่วนมากจะเริ่มกระบวนการตั้งแต่ ขยะออกจากแหล่งกำเนิดหรือจุดรวบรวม ขยะหลังการบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ บ้าน  ตลาด ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ที่พักต่าง ๆ จะถูกรวบรวมขนส่งไปยังสถานีขนถ่ายและสถานที่กำจัดหรือหลุมฝังกลบปลายทาง โดยการคัดแยกขยะจะเกิดขึ้นระหว่างทาง ตั้งแต่ต้นทางแหล่งกำเนิดขยะ บนรถเก็บขน โรงงานรีไซเคิลและกำจัด จนถึงสถานที่ฝังกลบ โดยส่วนใหญ่

หากต้นทางจัดการขยะได้ดี ปลายทางก็จัดการได้สะดวกขึ้น สะอาดและปลอดภัยขึ้น

การคัดแยกขยะชุมชนมีการแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ขยะที่ยังสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ หรือที่ยังมีมูลค่า อาทิ พลาสติก โลหะ ขวดแก้ว กระดาษ ฯลฯ โดยขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีผู้รวบรวมและนำไปขายให้ผู้รับซื้อไม่ว่าจะเป็น ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า หรือโรงงานรีไซเคิล เพื่อนำไปรีไซเคิล ทำเป็นเชื้อเพลง หรือแม้แต่การนำกลับมาทำเป็นเรซิ่น
  2. ขยะอันตราย อาทิ หลอดไฟ สารเคมี ถ่านไฟฉาย โดยขยะอันตรายจะถูกแยกทิ้ง และแยกการเก็บเพื่อขนส่ง และนำไปโรงงานกำจัดของเสียอันตราย
  3. ขยะที่ยากต่อการนำไปใช้ประโยชน์หรือไม่มีมูลค่า เช่น ขยะเปียก ขยะอินทรีย์ เศษอาหาร โดยส่วนใหญ่จะถูกเก็บขนโดยไม่มีการคัดแยก และถูกนำไปกำจัดยังสถานที่ฝังกลบ ขยะบางส่วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้หากมีการคัดแยกจากต้นทางที่ดี เช่น นำไปทำอาหารสัตว์ ปุ๋ย หรือวัสดุดินปรับปรุงดิน

แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากการสนับสนุนทางวิศวกรรมด้วย เพื่อให้การจัดการขยะเป็นไปได้อย่างง่ายและสะดวก กระบวนการทางวิศวกรรม จะเป็นซึ่งแนวทางการแก้ปัญหา ด้วยการหาข้อมูลแนวคิดที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างวิธีการ หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

แต่สำหรับปัญหาขยะในไทย ก็วิธีการจัดการที่เหมาะสมกับบริบทบางเศรษฐกิจและสังคมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากขยะ ทั้งจากขยะพลาสติก ขยะติดเชื้อทางการแพทย์ สิ่งเหลือใช้จากกิจกรรมในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม

ขยะแต่ละชนิดสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดมูลค่าได้ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนด้วย ปัจจุบันพลังงานจากขยะถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูง สามารถลดปัญหาได้หลากหลายมิติ เช่น ลดการสะสมของเชื้อโรค ลดปริมาณขยะที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุก ๆ วัน รวมถึงลดปัญหาแหล่งทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตพลังงานที่มีแนวโน้มลดลง

นอกจากนี้ยังมีการฝังกลบเชิงวิศวกรรมด้วย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องมีการติดตั้งระบบกันซึม ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง อาทิ การสร้างถนนจากขยะพลาสติก ที่เป็นการนำขยะมาบดย่อยผสมยางมะตอยและหิน ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ลดการซึมของน้ำและยืดอายุการใช้งานของถนนได้

ทั้งนี้ "ขยะ" ยังสามารถนำไปทำเป็นวัสดุก่อสร้างได้ด้วย เช่น อิฐบล็อก กระเบื้องปูพื้นสนาม ที่มีน้ำหนักเบา ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับงานก่อสร้าง โดยเฉพาะประเภทตึกและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เน้นความยั่งยืน แบบนี้ก็จะเป็นการลดการใช้ทรัพยากรตั้งแต่ต้นทาง และหากตึกหรืออาคารนั้น ๆ ใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยก็จะประหยัดการใช้พลังงานไปอีก

ทางด้าน รศ.ดร. ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สภาวิศวกรเล็งเห็นถึงความสำคัญของการกำจัดขยะ และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อาคารสภาวิศวกรแห่งใหม่จึงมีเป้าหมายในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากการก่อสร้างและการดำเนินงาน มีการบริหารจัดการอาคารที่มีคุณภาพ เลือกใช้วัสดุที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าการก่อสร้างทั้งหมด รวมถึงมีการบริหารจัดการขยะที่เกิดจากการก่อสร้าง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

รศ.ดร. ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 โดยในอาคารสำนักงานของสภาวิศวกรได้มีถังขยะสำหรับแยกขยะ รีไซเคิล ทั่วไป อันตราย และเศษอาหาร ไว้ตามอาคาร ส่วนกระดาษต่างๆ สภาวิศวกรได้รณรงค์ให้ใช้ในปริมาณน้อยและให้หันไปใช้เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน อาทิ เอกสารสำหรับเสนองาน จัดประชุม จัดสัมมนา หนังสือส่งไปหน่วยงานภายนอก เป็นต้น

related