svasdssvasds

วิกฤตหอยแมลงภู่! วิจัยพบ หอยแมลงภู่เริ่มมีขนาดเล็กลง เพราะมลพิษในท้องทะเล

วิกฤตหอยแมลงภู่! วิจัยพบ หอยแมลงภู่เริ่มมีขนาดเล็กลง เพราะมลพิษในท้องทะเล

คนชอบกินหอยแมลงภู่เตรียมใจหน่อยไหม? นักวิทย์พบ หอยแมลงภู่กำลังมีขนาดเล็กลงและประชากรลดน้อยลง ผลพวงจากไมโครพลาสติกในท้องทะเล ส่งผลให้ทะเลเป็นพิษต่อพวกมัน

เพราะขยะที่เราทิ้ง อาจส่งผลกระทบต่ออาหารทะเลของเราในอนาคต ลูกหลานจะมีหอยแมลงภู่กินไหมนี่จึงเป็นหน้าที่เราที่จะต้องปกป้องและรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศไว้

การศึกษาชิ้นใหม่เผยว่า มลพิษขยะพลาสติกกำลังเป็นภัยคุกคามต่อหอยแมลงภู่ เราทราบกันดีว่าท้องทะเลของเราปนเปื้อนไปด้วยขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก ขวดน้ำ โฟม และอีกสารพัดขยะ ที่เกลื่ออยู่ในทะเลและชายหาด ซึ่งเราก็ได้ทราบกันอีกว่ามันสามารถกลายเป็นไมโครพลาสติก หรือพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ใต้ทะเล

หอยแมลงภู่ได้รับไมโครพลาสติกเต็ม ๆ สดใหม่จากท้องทะเลทุกวัน Cr. Pixarbay ไมโครไฟเบอร์เป็นไมโครพลาสติกประเภทหนึ่ง ที่เราพบได้มากที่สุด โดยคิดเป็น 91% ของไมโครพลาสติกทั้งหมดที่ล่องลอยในทะเล หากถามว่าไมโครไฟเบอร์เหล่านี้มาจากขยะประเภทไหน ก็บอกได้เลยว่ามาจากเส้นใยของผ้าที่มาจากการซักเสื้อผ้าของเรา ๆ กันนี่แหละ รวมไปถึงอาจมาจากการที่เราใส่เสื้อผ้าแล้วลงเล่นน้ำและจากสภาพดินฟ้าอากาศและการเสียดสีของอุปกรณ์เดินเรือด้วย

สัตว์ทะเลได้รับไมโครไฟเบอร์เหล่านี้เข้าไปเต็ม ๆ โดยเฉพาะหอย ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินอาหารโดยการกรองอนุภาคอินทรีย์ออกจากน้ำ และในการศึกษาชิ้นนี้ก็บ่งชี้ว่า หอยกินไมโครพลาสติกที่มีความเข้มข้นสูงกว่าสัตว์ทะเลส่วนใหญ่มาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษา

จากการศึกษาพบว่า หอยแมลงภู่สีน้ำเงิน (มีความยาวเพียง 1 ซม.) หรือมีอายุในช่วง 3 เดือนแรก แน่นอนว่าสัตว์ที่มีอายุน้อยจะอ่อนแอกว่าตัวเต็มวัยในช่วงของการเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อม และผลกระทบที่มันต้องเจอในช่วงนี้คือการกินไมโครพลาสติกเข้าไปจำนวนมาก

การสัมผัสไมโครไฟเบอร์โพลีเอสเตอร์เป็นเวลานานส่งผลให้หอยแมลงภู่มีขนาดเล็กลงและเติบโตช้าลง จากการทดลองนำหอยแมลงภู่ไปสัมผัสกับไมโครไฟเบอร์ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า หอยที่สัมผัสมีอัตราการเติบโตต่ำกว่าโดยเฉลี่ย 36% เมื่อเทียบกับหอยแมลงภู่ที่ไม่ได้สัมผัวกับไมโครไฟเบอร์ใด ๆ ผลลัพธ์นี้พบได้เฉพาะในหอยแมลงภู่ที่สัมผัสไมโครไฟเบอร์โพลีเอสเตอร์ที่มีความเข้มข้นสูงสุดเท่านั้น การสัมผัสไมโครไฟเบอร์จากฝ้ายไม่ได้ทำให้อัตราการเติบโตของหอยแมลงภู่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ขนาดพวกมันจะเล็กลงเรื่อย ๆ หากไมโครพลาสติกยังล่องลอยมหาศาลในท้องทะเล Cr. Pixarbay การศึกษาความเป็นพิษแสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกสามารถสร้างความเสียหายในระดับโมเลกุลและเซลล์ในหอยแมลงภู่ที่โตเต็มวัย งานวิจัยชิ้นหนึ่งบันทึกการตอบสนองการอักเสบอย่างรุนแรงในเซลล์หอยแมลงภู่หลังจากสัมผัสกับอนุภาคไมโครพลาสติกโพลิเอธิลีนเป็นเวลาหกชั่วโมง

อัตราการเติบโตของหอยแมลงภู่ที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในวงกว้าง

หอยแมลงภู่อายุน้อยจะเติบโตอย่างรวดเร็วถึงขนาดที่ออกสู่ท้องตลาดภายใน 12 ถึง 24 เดือน แต่พวกมันต้องแย่งชิงพื้นที่และอาหารกันเองและกับสายพันธุ์อื่นๆ หอยแมลงภู่ที่อายุน้อยกว่าที่ไม่สามารถเติบโตได้เร็วอาจถูกสายพันธุ์อื่นแซงหน้าและอาจถูกปล้นสะดมสูงกว่า

หอยแมลงภู่ตัวเล็กก็มีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าเช่นกัน ผู้ล่า เช่น ปู หอยแมลงภู่ ปลาดาว และนกหลายชนิด อาจพบว่าตัวเองต้องกินหอยแมลงภู่ขนาดเล็กเหล่านี้ให้มากขึ้น สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบต่อประชากรของหอยแมลงภู่และผู้ล่าของมัน

มนุษย์จะได้รับผลกระทบอย่างไร?

มนุษย์ในฐานะผู้บริโภคอาหารทะเลก็จะได้รับผลกระทบจากหอยแมลงภู่ที่มีขนาดเล็กลงเช่นกัน หอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยเชลล์เพียง แค่ทั้งหมดนี้ก็สามารถเป็นอาหารให้แก่ประชากรโลกมากกว่า 8 ล้านตันในแต่ละปี แต่อัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าหมายความว่าหอยแมลงภู่จะใช้เวลานานกว่าจะโตได้ขนาดที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ สัตว์ขนาดเล็กลงและระยะเวลาออกสู่ตลาดนานขึ้นอาจลดความสามารถในการทำกำไรของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสองฝาในอนาคต

อาหารหอยแมลงภู่จะลดน้อยลง หากไม่ได้มาจากฟาร์มหอย Cr. Pixarbay นอกจากนี้ หอยยังเป็นสัตว์ที่สามารถบ่งชี้คุณภาพของน้ำในระบบนิเวศนั้น ๆ ได้ หากระบบนิเวศแย่เราจะพบเจอพวกมันได้น้อยลง ไมโครพลาสติกเป็นผลทำให้คุณภาพน้ำเป็นพิษต่อหอย แม้พวกมันจะปรับตัวได้ แต่ความเป็นพิษและผลกระทบที่ว่าขนาดตัวของพวกมันจะเล็กลง ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สภาพแวดล้อมทางทะเลถูกคุกคามจากการทำประมงเกินขนาดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดังนั้น ในอนาคตหอยจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษมากขึ้น หากเราไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญามลพิษในท้องทะเลเช่นนี้ได้ เราต้องเร่งแก้ปัญหาตั้งแต่ตอนนี้ การศึกษาไม่ได้มีไว้ให้เรียนรู้ข้อมูลหรือแค่การรับรู้เท่านั้น แต่มีขึ้นเพื่อทราบปัญหาและเร่งหาทางแก้ไขได้ทัน นี่คือเป้าหมายสูงสุดของงานวิจัยทุกชิ้น

ที่มาข้อมูล

The Conversation

related