svasdssvasds

พายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร ? วิธีรับมือพายุ ควรทำไงบ้าง !

พายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร ? วิธีรับมือพายุ ควรทำไงบ้าง !

ช่วงนี้เข้าหน้าร้อนแบบเต็มตัว หลายพื้นที่อากาศร้อนมาก ที่สำคัญยังมีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนอีกด้วย แต่บางคนยังไม่รู้ว่าพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร ? และวิธีรับมือพายุ ควรทำไงบ้าง วันนี้จะพามาทำความรู้จัก และหาทางรับมือเตรียมความพร้อมก่อนเกิดอันตราย

เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเต็มสูบ หน้าคนโอดครวญว่าช่วงนี้ทำไมอากาศร้อนจัง แต่หลายคนก็เลือกที่จะหาวิธีที่จะดับร้อนกัน แต่หน้าร้อนก็มีมักจะมีพายุฤดูร้อนตามมา ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับพี่น้องประชาชนได้ในช่วงนี้ โดยที่ผ่านมาหลายปีก่อนก็มีพายุฤดูร้อนได้พัดทำลายบ้านเรือน และพื้นที่ทำการเกษตรไปจำนวนมาก

วันนี้จะพาไปรู้จักกับพายุฤดูร้อนอีกครั้งว่าพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร ?  โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดในระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ซึ่งพายุฤดูร้อนนั้นจะทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนอย่างรวดเร็ว คือสาเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ลมพายุพัดอย่างแรง อีกทั้งจะมีฟ้าแลบ ฟ้าร้องฟ้าผ่าเกิด  บางพื้นที่อาจมีลูกเห็บตกลงมา ฝนจะตกจะตกไม่นานประมาณ 2 ชั่วโมงในพื้นที่แคบ ๆ ประมาณ 10-20 ตารางกิโลเมตร จากนั้นหากฝนหยุดตกแล้วอากาศจะเย็นลงทำให้ท้องฟ้าจะเปิดอีกครั้ง

พายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร ? วิธีรับมือพายุ ควรทำไงบ้าง !

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

โดยสาเหตุของการเกิดพายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวันแล้วมีมวลอากาศเย็น ความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อนมากระทบกันส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น ซึ่งในไทยพายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน

ทั้งนี้ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่องพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 9 (99/2566) โดยจะ มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 8 - 9 เมษายน 2566 วันนี้เตรียมรับมือ 45 จังหวัด ฝนหนัก ลมกระโชก กทม. และปริมณฑล ไม่รอด หนีไปไหนก็ไม่พ้น  พร้อมกันนี้ยังระบุอีกว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทย และทะเลจีนใต้แล้ว ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

พายุฤดูร้อน คือภัยธรรมชาติที่เราไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้ ดังนั้นเราต้องหาวิธีป้องกัน  โดยกรมอุตุฯ  แนะนำ วิธีรับมือพายุฤดูร้อน เตรียมความพร้อมก่อนเกิดอันตรายดังนี้

1.อาคารสูงควรติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า  เพื่อลดอันตรายจากการฟ้าฝ่า

2.ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้า มักจะมีโลหะที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า เสี่ยงทำให้เกิดอันตราย เสี่ยงต่อฟ้าฝ่าแล้ว ยังอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น เสียหายได้

3.ติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อลดอันตรายต่าง ๆ ได้แม้จะเป็นในยามปกติด้วย

4.ไม่ติดตั้งเสาอากาศวิทยุ-โทรทัศน์ใกล้สายไฟฟ้า การติดตั้งที่ปลอดภัยจะต้องไม่อยู่ในจุดที่ใกล้กับสายไฟฟ้า เพราะมีโอกาสที่เกิดอันตรายและเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า

5.ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้าน โครงสร้าง ส่วนต่อเติม​ หากพบว่ามีส่วนใดชำรุด หรือไม่แข็งแรงเพียงพอ จะต้องรีบดำเนินการ

6.สำรวจต้นไม้รอบบ้าน ตัดแต่งกิ่งไม้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการหักโคนลงมาทำอันตรายต่อตัวบ้าน หรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

7.จัดเก็บสิ่งของรอบบ้านที่อาจเสียหาย

8.ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุวิทยา เเละควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานอย่างเคร่งครัด

9.จัดเตรียมอุปกรณ์หรือของจำเป็นไว้ใช้ยามฉุกเฉินกรณีสุดวิสัยเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น อาหารแห่ง น้ำดื่ม ยารักษาโรคพื้นฐาน และยาประจำที่ต้องกินสำหรับคนมีโรคประจำตัว ไฟฉาย เครื่องให้ความอบอุ่นของร่างกาย และของจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต

10.ไม่ควรอยู่ในที่แจ้ง กรณีที่ต้องอยู่กลางแจ้ง ให้รีบเข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากลมแรงและฟ้าผ่า ไม่หลบพายุในพื้นที่เสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง

11.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า อยู่ให้ห่างจากวัตถุที่เป็นโลหะหรือสื่อนำไฟฟ้า อาทิ รางรถไฟ เพิงสังกะสี รั้วลวดหนาม ประตูโลหะ งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เเละไม่พกพาหรือสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า อาทิ เงิน ทอง นาก ทองแดง และร่มที่มียอดเป็นโลหะ

related