svasdssvasds

ปี’66 ไทยเสี่ยงเจอเอลนีโญ เปิด 3 วิธีกักเก็บน้ำฝนอย่างยั่งยืน

ปี’66 ไทยเสี่ยงเจอเอลนีโญ เปิด 3 วิธีกักเก็บน้ำฝนอย่างยั่งยืน

หลายหน่วยงานออกมาแจ้งเตือนประชาชน ว่าปี2566 ประเทศไทยเสี่ยงเจอเอลนีโญ ซึ่งจะทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำในการเกษตร แต่ช่วงนี้ใกล้เข้าหน้าฝนแล้ว จะพามาเปิด 3 วิธีกักเก็บน้ำฝนอย่างยั่งยืน รับมือภัยแล้ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกมาประเมินว่า ปี2566 ไทยมีโอกาสเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงครึ่งหลังของปี2566 ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผลผลิตข้าวนาปีอาจได้รับความเสียหายมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากในช่วงหลังการเพาะปลูกในเดือนพ.ค.ไปแล้วจะเป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการน้ำมากขึ้น เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตก่อนที่จะพร้อมเก็บเกี่ยว จึงต้องติดตามปริมาณน้ำฝน และภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปี2566 จะน้อยกว่าปีก่อนและน้อยกว่าค่าเฉลี่ยราว5%

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้มองว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนที่สะสมมาในช่วงปลายปี 2566 ให้ลดลง ซึ่งเป็นน้ำเพื่อใช้สำหรับปลูกข้าวนาปรังในปี 2567 ประกอบกับการคาดการณ์ว่าเอลนีโญน่าจะกินระยะเวลานาน จึงมีความเสี่ยงที่ทั้งผลผลิตข้าวนาปรัง และนาปีของไทยในปี 2567 คงจะลดลงสำหรับแนวทางการรับมือ และคงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน

ปี2566 ไทยเสี่ยงภัยแล้ง

ที่กล่าวมา คือ การวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาครัฐ คงต้องเตรียมตัวรับมือกับการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งจัดหาแหล่งน้ำสำรอง เครื่องมือ-เครื่องจักร ในการสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูก เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถบรรทุกน้ำ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายต่อผลผลิตสินค้าเกษตร และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของไทยในอนาคต

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ล่าสุดที่ประชุมครม.เห็นชอบ10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของ ปชช. จากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ โดย 10 มาตรการ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านน้ำต้นทุน ด้านความต้องการใช้น้ำ และด้านการบริหารจัดการสำหรับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพฯ มีระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เช่น ปรับปรุง/ซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์ ก่อสร้าง/ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาล - ระบบประปา เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหรือพื้นที่ใกล้เคียง

ในส่วนของการรับมือภาคประชาชนก็ต้องรู้จักวิธีเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล แนะนำ 3 วิธีกักเก็บน้ำฝนอย่างยั่งยืน ตามรายละเอียดดังนี้

1.เก็บน้ำฝนใส่โอ่งซีเมนต์

สำหรับบ้านใครโอ่งซีเมนต์จำนวนมาก เวลาฝนตกมาให้เรียกเก็บน้ำฝนไว้ในโอ่ง ซึ่งเป็นวิธีทำง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก

2. ขุดสระเก็บน้ำฝน

บ้านใครพอมีงบประมาณ และพอมีพื้นที่ก็สามารถลงทุนขุดสระเก็บน้ำฝนไว้ใช้ได้รอย่างสบายๆ วิธีนี้เก็บไว้ใช้ได้นานด้วย โดยการขุดสระน้ำให้มีความลาดเอียง 45 องศา อัตรา 1:1 และให้มีตะพักน้ำเพื่อป้องกันตลิ่งทรุดในช่วงน้ำน้อย พร้อมเปิดทางให้น้ำหลากไหลลงสระ บริเวณรอบสระน้ำให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝก เพื่อที่จะช่วยยึดตลิ่ง

3.ขุดบ่อเก็บน้ำฝนใต้ดิน หรือ การเติมน้ำใต้ดิน

การเติมน้ำใต้ดิน เป็นอีกวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง และสามารถกักเก็บน้ำหลากในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ ซึ่งหลักการของการเติมน้ำใต้ดิน คือ การเพิ่มเติมปริมาณน้ำโดยการนำน้ำที่เหลือใช้หรือในช่วงที่น้ำท่วมหลากเติมลงสู่ใต้ดิน ในพื้นที่ที่เหมาะสมหรือต้องการเพื่อเก็บสะสมน้ำไว้ใช้โดยฝากไว้ในดิน

เรียกได้ว่าหน้าแล้งปี2566 น่าจับตามอย่างยิ่งเพราะหลายฝ่ายต่างจับตามอง และเฝ้าระวังว่าไทยจะแล้งหนักในรอบหลายปีอย่างที่มีการคาดการณ์หรือไม่ ดังนั้นรู้ 3 วิธีกักเก็บน้ำฝนอย่างยั่งยืน จะทำให้บ้านเรามีน้ำกิน น้ำใช้ ในหน้าแล้งที่จะถึงนี้ !!

related