svasdssvasds

นิวยอร์กซิตี้กำลังจมน้ำ เพราะมีตึกมากเกินไป เสี่ยงน้ำท่วมใหญ่ จากโลกร้อน

นิวยอร์กซิตี้กำลังจมน้ำ เพราะมีตึกมากเกินไป เสี่ยงน้ำท่วมใหญ่ จากโลกร้อน

มหานครนิวยอร์กกำลังเสี่ยงจมน้ำทะเล หลังงานวิจัยเผยว่า ดินมีอัตราถูกบีบอัดจนลดลงราว 1-2 มิลลิลิตรต่อปี เพราะมีตึกมากเกินไป และในอนาคตจะเกิดน้ำท่วมใหญ่จากภาวะโลกร้อน

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Earth’s Future เผยว่า แผ่นดินใต้มหานครนิวยอร์กกำลังลดลงเฉลี่ยประมาณ 1-2 มิลลิเมตรต่อปี โดยบางพื้นที่ของมหานครนิวยอร์กจมดิ่งลงในอัตราสองเท่าด้วยซ้ำ เนื่องจากแผ่นดินเริ่มรับน้ำหนักตึกและอาคารสูงจำนวนมากไม่ไหว ที่ยังคงมีอัตราการเพิ่มของตึกมากขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่เพียงแค่น้ำหนักตึกเท่านั้นที่อาจทำให้มหานครนี้จมน้ำ ผลกระทบของการเพิ่มระดับน้ำทะเลก็ยังรุนแรงขึ้น เนื่องจากธารน้ำแข็งของโลกละลายทำให้น้ำทะเลขยายตัวต่อเนื่องจากความร้อนของโลกที่เพิ่มขึ้นด้วย

มหานครนิวยอร์ก Cr. Pixarbay โดยระดับน้ำรอบข้างของมหานครนิวยอร์กสูงขึ้นประมาณ 9 นิ้ว ตั้งแต่ปี 1950 และมีการคาดการณ์เพิ่มเติมอีกด้วยว่า อาจเกิดน้ำท่วมใหญ่จากพายุที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าปัจจุบันถึง 4 เท่าภายในสิ้นศตวรรษนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลต่อการทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและอันตราการเกิดพายุเฮอริเคนถี่ขึ้น และในท้ายที่สุด ประชากรที่อาศัยอยู่ในนิวยอร์ก 8.4 ล้านคนจะต้องเผชิญหน้ากับน้ำท่วมในระดับต่าง ๆ ภายในศตวรรษนี้

นักวิจัยคำนวณว่า โครงสร้างของเมือง ซึ่งรวมถึงตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire State Building) และตึกไครสเลอร์ (Chrysler Building) ชื่อดัง แค่สองตึกนี้ก็มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 1.68 ตันแล้ว ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักของช้าง 140 ล้านตัวโดยประมาณ และแนวโน้มของการก่อสร้างตึกลักษณะนี้ก็ยังมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

Empire State Building Cr. Pixarbay

Tom Parsons นักธรณีฟิสิกส์จาก US Geological Survey ซึ่งเป็นหัวหน้าการวิจัยกล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตระหนกในทันที แต่มีกระบวนการต่อเนื่องที่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมจากน้ำท่วม”

“ยิ่งดินอ่อนลงมากเท่าไร ก็ยิ่งมีแรงอัดจากอาคารมากเท่านั้น ไม่ใช่ความผิดพลาดที่จะสร้างอาคารขนาดใหญ่เช่นนี้ในนิวยอร์ก แต่เราต้องระลึกไว้เสมอว่าทุกครั้งที่คุณสร้างบางสิ่งที่นั่น คุณต้องลงแรงลงดินมากขึ้นอีกนิด”

ในปี 2012 นิวยอร์กถูกพายุเฮอริเคนแซนดี้พัดถล่ม ซึ่งน้ำท่วมบางส่วนของสถานีรถไฟใต้ดินและสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง รวมถึงไฟดับ จากนั้นในปี 2564 พายุเฮอริเคนไอดาได้พัดถล่มพื้นที่ต่างๆ ของเมือง ทำให้ผู้คนจมน้ำตายหลายคน นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเหตุการณ์ทั้งสองเลวร้ายลงเนื่องจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน

ดังนั้น เมืองจึงต้องวางแผนสำหรับเรื่องนี้ให้ดี โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม และไม่ใช่แค่นิวยอร์กซิตี้เท่านั้น ที่ได้รับการคาดการณ์แบบนี้ แต่ยังมีเมืองชายฝั่งทั่วโลกอีกหลายแห่งที่ถูกคาดการณ์ว่าจะจมน้ำจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกรุงทเพฯ เมืองหลวงของไทยก็อยู่ในลิสต์นั้นด้วย

ที่มาข้อมูล

The Guardian

related