svasdssvasds

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

ตอนนี้ได้มีการยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ เพิ่มเป็น El Niño Advisory ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุ 90% ส่งผลลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 2567 สัญญาณชัด ต.ค. ลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 2567 ส่งผลไทยอากาศร้อนและแล้งกว่าปกติ

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Witsanu Attavanich เกี่ยวกับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งตอนนี้ได้ยกระดับเป็น El Niño Advisory แล้ว

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

"มีการยกระดับเตือนภัยเอลนีโญเพิ่มเป็น El Niño Advisory!! ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุ 90% ลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 67 ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญในระดับรุนแรงเพิ่มขึ้นจากการพยากรณ์เดือนที่ผ่านมา โดย 2 ดัชนี (ONI index และ IOD) ชี้สอดคล้องกันว่าเอลนีโญจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน เตรียมรับมือสภาพอากาศที่มีแนวโน้มร้อนและแล้งกว่าปกติซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยสัญญาณจะเริ่มชัดเจนตั้งแต่ ต.ค. 66 เป็นต้นไป"

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

 

ทางด้าน International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ว่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเทียบกับผลพยากรณ์ช่วง พ.ค. 66 ทะลุ 90% ลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 67

และงานวิจัยจาก CPC (NOAA) คาดว่ากำลังของเอลนีโญระดับปานกลางขึ้นไป (>1.0 °C) มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น 72-84% ตั้งแต่ช่วง ส.ค.66-มี.ค.67 (ภาพที่ 2 ขวาแท่งสีม่วง) และกำลังของเอลนีโญระดับรุนแรง (>1.5 °C) มีความน่าจะเป็นสูงสุดเท่ากับ 56% ช่วง พ.ย.66 - ม.ค.67 (ภาพขวาที่ 2 แท่งสีแดงเข้ม)

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

ภาพที่ 3 บ่งชี้ว่า 2 ดัชนี (ONI index และ IOD) จากแบบจำลองทั่วโลก พยากรณ์ตรงกันว่าเอลนีโญจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอนและจะเร่งตัวเพิ่มขึ้นจากนี้ไปสู่ระดับรุนแรงในเดือน ส.ค. 66 (1.7°C) และเพิ่มเป็น 2.0°C ใน ต.ค. 66 ภาพที่ 4 บ่งชี้ว่า จากการรวบรวมสถิติในอดีต สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร (Met Office)

พบว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มทำให้ประเทศไทยแล้งกว่าปกติช่วง มี.ค.-ก.ค.และร้อนกว่าปกติช่วง ต.ค.-มิ.ย. ขณะที่ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) พบว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มทำให้ภาคใต้ของไทยอากาศร้อนและแล้งกว่าปกติช่วง ธ.ค.-ก.พ. ขณะที่ภูมิภาคอื่นจะร้อนกว่าปกติช่วง ธ.ค.-ก.พ.

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ / FB Witsanu Attavanich