svasdssvasds

ความต้องการ ‘หนังลา’ ในจีน กำลังกระทบวิถีชีวิต คนยากจนในแอฟริกัน!

ความต้องการ ‘หนังลา’ ในจีน กำลังกระทบวิถีชีวิต คนยากจนในแอฟริกัน!

"ลา" ถูกใช้เป็นสัตว์แรงงาน ให้มนุษย์มาเกือบ 5,000 ปี แต่หลายหมื่นตัวถูกพรากออกจากชุมชนแอฟริกาทุกปี เพื่อเอาไปทำยาแพทย์แผนโบราณในจีน

SHORT CUT

  • หนังลา มีคุณสมบัติที่สามารถทำยา “อาเจียว (E Jiao)” หรือ อากา ในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นยาแพทย์แผนโบราณที่สามารถบำรุงเลือด
  • แอฟริกามีประชากรลามากที่สุดในโลก จึงกลายเป็นแหล่งส่งหนังลาที่สำคัญของจีน ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย
  • แอฟริกาอาจถอยหลังลงคลอง ซึ่งขัดกับความตั้งใจในการพัฒนาภูมิภาคนี้ของนานาชาติ และปลายทางที่รออยู่คือชาวแอฟริกาจะหวนคืนสู่ความยากจน 

"ลา" ถูกใช้เป็นสัตว์แรงงาน ให้มนุษย์มาเกือบ 5,000 ปี แต่หลายหมื่นตัวถูกพรากออกจากชุมชนแอฟริกาทุกปี เพื่อเอาไปทำยาแพทย์แผนโบราณในจีน

“ลา” ถูกใช้เป็นสัตว์แรงงาน ให้มนุษย์มาเกือบ 5,000 ปี โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา เพราะในดินแดนแห่งนี้ ลาถือเป็นสัตว์พาหนะหลัก สำหรับแบกของหนักไปตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของใช้และ ที่จำเป็นในครัวเรือน ทำให้การมีลาไว้ใช้งานจึงช่วยให้ผู้หญิงและเด็กไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

อย่างไรก็ตาม ลาหลายหมื่นตัวถูกพรากออกจากชุมชนในแอฟริกาทุกปี ไม่ว่าจะเพื่อทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย หรือถูกขโมยเมื่อมีความต้องการหนังสัตว์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ เทรนด์การบริโภคของตลาดจีน ที่ต้องการหนังลาไปทำ ยาบำรุงสุขภาพ มากขึ้น ก็กำลังกระตุ้นให้มีการฆ่าลาหลายร้านตัวทุกปี

ลาในแอฟริกา กำลังถูกส่งออกไปจีน PHOTO : REUTERS

เพราะหนังลา มีคุณสมบัติที่สามารถทำยา “อาเจียว (E Jiao)” หรือ อากา ในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นยาแพทย์แผนโบราณที่สามารถบำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ โดยคนส่วนใหญ่เชื่อว่าจะช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณด้านความงามต่อผู้หญิงอีกด้วย

เมื่อก่อน อาเจียว ถือเป็น สินค้าฟุ่มเฟือย ที่ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูงสมัยราชวงศ์ชิง ปกครองจีนตั้งแต่ปี 1644 ถึง 1912 แต่ความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อ ซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง 'Empress in the Palace' หรือชื่อไทย “เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน” ได้ออกฉายในปี 2011 และได้มีการพูดถึงยาชนิดนี้ บวกับการเติบโตของชนชั้นกลางและประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในจีน จึงทำให้เกิดความต้องการมากขึ้น

ราคาของอาเจียว พุ่งขึ้น 30 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจาก 100 หยวนต่อ 500 กรัม เป็น 2,986 หยวน (420 ดอลลาร์) ตามรายงานของสื่อทางการจีน และปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้ ต้องการ หนังลาประมาณ 5.9 ล้านชิ้นต่อปี แต่ประชากรลาของจีนจึงลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับในอดีต โดยตอนนี้เหลือไม่ถึง 2 ล้านตัว จาก 11 ล้านตัวในปี 1992 ส่งผลให้อุตสาหกรรม ของจีนต้องจัดหาหนังลาจากต่างประเทศ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อประชากรทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ลาขนของ PHOTO : South African Tourism

ลาที่หายไป กำลังกระทบชีวิตคนแอฟริกา

เนื่องจากแอฟริกามีประชากรลามากที่สุดในโลก จึงกลายเป็นแหล่งส่งหนังลาที่สำคัญของจีน และนำไปสู่การแปรรูปลาให้เป็นสินค้าเพื่อส่งไปยังจีน

ในทวีปนี้ ลาถูกใช้เป็นสัตว์แรงงานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการขนส่ง ซึ่งช่วยบรรเทาความยากจน แบ่งเบาภาระของผู้หญิงและเด็กจำนวนมากให้ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ซึ่งบทบาทที่สำคัญต่อชุมชนของพวกมัน กำลังขัดแย้งกับความต้องการหนังลาในจีนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากสวัสดิภาพของลาจะถูกคุกคามแล้ว ผลที่ตามมาคือ คนยากจนในแอฟริกาจะดำเนินชีวิตอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กผู้หญิง ซึ่งเป็นเรื่องน่าสะเทือนใจและทำให้เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทวีปที่ขาดโอกาสแห่งนี้ ดูริบหรี่ขึ้นไปอีก 

หลายประเทศห้ามแล้ว แต่ยังมีการลักลอบอยู่

ในไนจีเรียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกา ที่มีการฆ่าลาหลายหมื่นตัวต่อปี แม้ทางการไนจีเรียจะประกาศห้ามส่งออกลา แต่ไม่ได้ ห้ามฆ่าจึงทำให้มีลาหลายหมื่นตัวถูกส่งมาจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น ไนเจอร์ หรือประเทศอื่นๆ ที่ห้ามฆ่าลา โดยพวกมันจะถูกขนข้ามพรมแดนมาทางตอนเหนือ และถูกลักลอบขนส่งด้วยรถบรรทุก หรือไม่ก็บังคับพวกมันให้เดินลงมายังตอนใต้ของไนจีเรีย ซึ่งจะถูกฆ่าเอาหนังที่นั่น ก่อนส่งต่อไปยังจีน

ทั้งนี้ “สหภาพแอฟริกา African Union” ซึ่งเป็นกลุ่มระดับภูมิภาค 55 ประเทศ ระบุว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้สั่งห้ามการฆ่าลาเพื่อเอาหนังพวกมันทั่วทั้งทวีป ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือการสร้างนโยบายระดับภูมิภาคเพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาต่อไป

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการยกย่องจากกลุ่มสวัสดิภาพสัตว์และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก ว่าเป็นก้าวสำคัญในการปกป้องลาของแอฟริกา อย่างไรก็ตาม หลายคนกล่าวว่าการดำเนินการในเชิงปฏิบัตินั้น จะเป็นเรื่องที่ท้าทายและมีความเสี่ยงอย่างมาก และการค้าที่ผิดกฎหมายจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป

อย่างไรก็ตาม จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของแอฟริกามาตั้งแต่ปี 2009 และมีการลงทุนอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นสร้างทางรถไฟ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงงาน ฯลฯ เพราะจีนมองเห็นโอกาสมากมายในทวีปนี้ แต่การพรากลาออกจากสังคมชนบทของแอฟริกา กำลังกลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง

เนื่องจากการกระทำดั่งกล่าว จะทำให้ทวีปแอฟริกาถอยหลังลงคลอง ซึ่งขัดกับความตั้งใจในการพัฒนาภูมิภาคนี้ของนานาชาติ รวมถึงของจีนด้วย และปลายทางที่รออยู่คือชาวแอฟริกาจะหวนคืนสู่ความยากจน โดยเฉพาะเด็กกับผู้หญิงและเด็ก

จำนวนลาทั่วโลก

จำนวนประชากรลา ทั่วโลก สำรวจปี 2565

ทวีปแอฟริกา

เอธิโอเปีย 9.93 ล้านตัว

ซูดาน 7.65 ล้านตัว

ซาด 3.71 ล้านตัว 

ไนเจอร์ 2.02 ล้านตัว

บูร์กินาฟาโซ 1.99 ล้านตัว

ประเทศแอฟริกาอื่นๆ 7.37 ล้านตัว

ส่วนอื่นของโลก

ปากีสถาน 5.72 ล้านตัว

เม็กซิโก 3.29 ล้านตัว

จีน 1.74 ล้านตัว

ส่วนที่เหลือของโลก 8.25 ล้านตัว

* ลาต่างจากหมูและวัวตรงที่สืบพันธุ์ได้ช้ามาก และตัวเมีย มักจะให้กำเนิดลูกเพียง 1 ตัวเท่านั้น

ที่มา : Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related