svasdssvasds

ภาวะ "โลกร้อน" ส่งผลกระทบให้ "เครื่องบินตกหลุมอากาศ" บ่อยและรุนแรงกว่าเดิม

ภาวะ "โลกร้อน" ส่งผลกระทบให้ "เครื่องบินตกหลุมอากาศ" บ่อยและรุนแรงกว่าเดิม

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศ (Flight turbulence) บ่อยและรุนแรงมากขึ้น

SHORT CUT

  • การเดินทางด้วยเครื่องบินได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยมากที่สุด แต่ปัจจุบันกลับพบปัญหา “เครื่องบินตกหลุมอากาศ” มากขึ้นเรื่อยๆ
  • ภาวะ “โลกร้อน” เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญ ที่ทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น เพราะยิ่งโลกร้อนขึ้นเท่าไร สภาพอาการก็ยิ่งแปรปรวนมากขึ้นเท่านั้น
  • นักวิจัยชี้วอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในปี 2050 และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้น 40%

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศ (Flight turbulence) บ่อยและรุนแรงมากขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกมากขึ้นเรื่อยๆ อีกหนึ่งปัญหาซึ่งเป็นผลพวงจากภาวะโลกร้อน ก็คือเครื่องบินตกหลุมอากาศ (Flight turbulence) ที่เกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเส้นทางการบินที่มีการจราจรทางอากาศที่คับคั่ง

“เครื่องบินตกหลุมอากาศ” ปัญหาใหญ่ด้านความปลอดภัยผู้โดยสาร

หากการเดินทางด้วยเครื่องบินของต้องพบเจอกับสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น มีเมฆมาก เกิดพายุฝนตกหนัก หรือ มีลูกเห็บตก อาจต้องเผื่อใจไว้เลยว่าจะต้องเจอกับ “หลุมอากาศ” ระหว่างเดินทางได้ หรือแม้แต่ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส และปลอดโปร่ง ก็สามารถพบเจอกับหลุมอากาศได้เช่นเดียวกัน ใครหลายคนอาจไม่ได้เตรียมใจไว้ และไม่ทันระวังตัวจนเกิดอาการเวียนหัวหรือบาดเจ็บได้

โดยปกติแล้วเวลาเครื่องบินแล่นจากพื้นเพื่อขึ้นไปบินอยู่บนอากาศนั้น ต้องอาศัยแรงยกจากอากาศที่เคลื่อนที่ผ่านปีกเครื่องบิน ซึ่งมวลอากาศดังกล่าวจะมีความหนาแน่นเท่ากัน และเคลื่อนที่ไปอย่างสม่ำเสมอพร้อมกัน

แต่ถ้าเครื่องบินต้องบินผ่านบริเวณที่มีความหนาแน่นของอากาศแตกต่างกันมาก เช่น จากความหนาแน่นอากาศมากไปหาความหนาแน่นอากาศน้อย จะส่งผลให้อากาศบริเวณดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลื่น และทำให้เกิดแรงยกแบบผิดปกติตามมา

ส่งผลให้เครื่องบินสั่นในระดับเล็กน้อย ไปจนถึงสั่นระดับรุนแรง และยิ่งถ้าอากาศบริเวณนั้นมีความเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศมากขึ้น ก็จะทำให้ผู้โดยสารรู้สึกคล้ายกับว่าเครื่องบินร่วงหล่นลงมาด้วยความเร็วสูง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “เครื่องบินตกหลุมอากาศ” และบางครั้งเราก็ไม่สามารถสังเกตความแปรปรวนของสภาพอากาศได้ด้วยตาเปล่า

 

ด้าน ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ประเด็น โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น โดยระบุว่า

โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไร?

"ภาวะโลกร้อน" ส่งผลกระทบให้ "เครื่องบินตกหลุมอากาศ"

  1. เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตกหรือบินจากโลกตะวันตกมายังซึกโลกตะวันออกมีโอกาสที่จะตกหลุมออากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นทำให้ลมกรดหรือJet stream ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน
  2. Jet Streams หรือลมกรดเป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูงประมาณ7.0 ถึง16กม.เหนือจากพื้นโลกมีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม.เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบินบินจากซึกตะวันตกมาทางซีกตะวันออกก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet streamจะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วยประ หยัดพลังงานและลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออกมาทางตะวันตกก็ควรบินหลบJet streamให้มากที่สุดเพราะจะสวนกระแสลมทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น

"ภาวะโลกร้อน" ส่งผลกระทบให้ "เครื่องบินตกหลุมอากาศ"

   3. อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นเนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นทำให้ลมกรดหรือ Jet streamลดความ เร็วลงในบางช่วง มีงานวิจัยระบุว่าอุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้นในแถบทวีปอาร์กติกซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกกำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรงพัดอยู่บนชั้นบรรยา กาศในบางช่วงมีความเร็วลดลงทำให้เกิดอากาศแปรปรวน(Clear Air Turbulance) มากขึ้น(ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ)

"ภาวะโลกร้อน" ส่งผลกระทบให้ "เครื่องบินตกหลุมอากาศ"

 

เนื่องจากช่วงที่ความเร็วของลมกรดลดลงจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในบริเวณดังกล่าวบางลงซึ่งทำให้เกิด "หลุมอากาศ" ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกระทันหันทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อยอยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ

"ภาวะโลกร้อน" ส่งผลกระทบให้ "เครื่องบินตกหลุมอากาศ"

   4. นักวิจัยชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี 2050 และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง 40%

ที่มา : Sonthi Kotchawat

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related