ยุโรปกำลังเผชิญหน้ากับ "วิกฤตช็อกโกแลต" ผลิตช็อกโกแลตได้น้อย วัตถุดิบราคาแพงขึ้น ผลมาจาก สินค้าที่ใช้ผลิตช็อกโกแลตนำเข้ามาจากประเทศที่กำลังเจอโลกร้อนรุนแรง
แม้วิกฤตนี้จะยังไม่ถึงมือของผู้บริโภคแบบเรา ๆ แต่เกษตรกรในยุโรปยืนยัน ตอนนี้มันวิกฤตแล้วจริง ๆ
รายงานจาก Net zero trade เผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียสัตว์ป่าในธรรมชาติ กำลังทำให้ “วิกฤตช็อกโกแลต” ของสหภาพยุโรปจากเดิมที่รุนแรงอยู่แล้ว รุนแรงขึ้นไปอีก
โดยมากกว่า 2 ใน 3 ของ 6 สินค้าสำคัญที่ใช้ผลิตช็อกโกแลต อาทิ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด มักมาจากประเทศที่ไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเลวร้ายลง ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ก็ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรผู้ปลูกพืชผลสำหรับผลิตช็อกโกแลตได้ยากขึ้น อาทิ สภาพยุโรปนำเข้าข้าวโพดกว่า 90% มาจากประเทศที่รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในระดับต่ำถึงปานกลาง และ 67% มาจากประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพได้ระดับปานกลางหรือต่ำกว่า
รายงานระบุว่า โกโก้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับอุตสากรรมช็อกโกแลตในยุโรป ยุโรปไม่ได้ปลูกเอง ส่วนใหญ่ล้วนนำเข้ามาจากประเทศที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยากจะรับมือได้ เช่นประเทศในแอฟริกาตะวันตกที่ก็เจอทั้งสภาพอากาศที่แย่และความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดฮวบ
ขณะนี้ อุตสาหกรรมกำลังดิ้นรนกับราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นด้วย และก็เช่นเดิม ผลมาจากสภาพอากาศที่เลวร้าย นอกจากนี้ รายงานยังแนะนำว่า ผู้ผลิตช็อกโกแลตรายใหญ่ควรลงทุนในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศผู้ปลูกโกโก้
ที่มาข้อมูล