svasdssvasds

โอกาสทอง! ธุรกิจสถานีชาร์จ EV โตไม่ทันรถ EV ที่ออกมาสู่ตลาด

โอกาสทอง! ธุรกิจสถานีชาร์จ EV โตไม่ทันรถ EV ที่ออกมาสู่ตลาด

ถอดบทเรียน! ปีใหม่’67 สถานีชาร์จ EV มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้รถ EV โดยมีกระแสดราม่าขึ้นบนออนไลน์ ว่าปีใหม่ขับรถกลับบ้านต่างจังหวัด แต่ผู้ใช้รถ EV ต้องลุ้นตลอดทาง เพราะสถานีชาร์จ EV มีไม่เพียงพอ

ไทยยังคงเดินหน้าผลักดันการใช้พลังงานสะอาด ต่อเนื่องโดยเฉพาะเรื่องการรณรงค์ให้คนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV มากขึ้นเพื่อโลกที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนระยะที่ 2 (EV 3.5) ระยะเวลา 4 ปี (2567-70) วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เสนอ

 

โดยเป็นมาตรการที่จะสนับสนุนการใช้รถ EV ในประเทศไทยต่อเนื่องจากมาตรการ EV 3.0 ที่หมดอายุไปแล้วเมื่อรวันที่ 31 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาส ให้เกิดการลงทุนผลิต EV ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทั้งนี้มาตรการ EV -3.5 จะเริ่มเริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 2567 ไปจนถึง 31 ธ.ค.2570

 

สำหรับมาตรการ EV 3.5 จะมีผลใช้บังคับในช่วงปี 2567 - 2570 โดยครอบคลุมทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยสิทธิประโยชน์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เงินอุดหนุน การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยเงินอุดหนุนจะเป็นไปตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ดังนี้

  • กรณีรถยนต์ฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kVh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คันในปีที่ 1 75,000 บาท/คัน ในปีที่ 2 และ 50,000 บาท/คัน ในปีที่ 3 - 4 สำหรับรถที่มีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 50,000 บาพ/คัน ในปีที่ 1 35,000 บาพ/คัน ในปีที่ 2 และ 25,000 บาท/คัน ในปีที่ 34
  • กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ
  • กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 KWh จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาท/คัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ

พร้อมกันนี้ภายใต้มาตรการ EV 3.5 จะมีการลดอากรขาเข้าไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า สำเร็จรูป (CBU) ที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ. 2567 - 2568) และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจาก ร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยได้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับ

ทั้งนี้เมื่อเร็วๆนี้ มีการสรุปยอดจดทะเบียนรถไฟฟ้า100% ในไทย ปี 2023 รวม 76,314 คัน เพิ่มขึ้น +684.4% จากปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่ายอดใช้รถ EV พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แน่นอนว่าจะส่ง ธุรกิจ EV Charger หรือสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แต่…เมื่อช่วงปีใหม่2567 ที่ผ่านมามีกระแสดราม่าว่า EV Charger  ไม่พอเพียง และในแต่ละจังหวัดมีจุดบริหารที่ห่างกันออกไป ทำให้คนใช้รถ EV ต้องลุ้นกันตัวโก่ง

จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นแน่นอนว่ามัน คือ โอกาสทองของธุรกิจ EV Charger ในอนาคต โดยสถานีชาร์จรถไฟฟ้าEV คือ ธุรกิจในรูปแบบให้บริการทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge

การที่ EV Charger  ไม่เพียงพอ คือ ความกังวลใจของผู้ใช้รถ EV แต่… เป็นโอกาสทองของธุรกิจนี้ เพราะบทเรียนปีใหม่ 2567 บอกทิศทางมาแล้ว !

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related