svasdssvasds

เปิด“แหล่งลิเทียม”ภาคใต้คุณภาพสูง แหล่งผลิตแบตเตอรี่ EV แห่งใหม่ในอนาคต

เปิด“แหล่งลิเทียม”ภาคใต้คุณภาพสูง แหล่งผลิตแบตเตอรี่ EV แห่งใหม่ในอนาคต

พามาทำความรู้จักแหล่ง “ลิเทียมภาคใต้”ของไทย ผู้เชี่ยวชาญจุฬาฯยืนยัน คุณภาพสูงเทียบเท่าแหล่งสำคัญของโลก มีโอกาสเป็นแหล่งผลิตแบตเตอรี่ EV แห่งใหม่ ! รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

หลังจากที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. ได้มีการเร่งสำรวจเตรียม “ลิเทียม” เพื่อผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งล่าสุดมีการพบแหล่งเรืองเกียรติ จ.พังงา ซึ่งมีปริมาณสำรอง 14.8 ล้านตัน เกรดลิเทียมออกไซด์เฉลี่ย 0.45% เพียงพอรองรับอีวี 1 ล้านคัน พร้อมทั้งได้เร่งสำรวจแหล่งบางอีตุ้ม จ.พังงา อีกด้วย ล่าสุด มีผลงานวิจัยออกมา ยืนยันจาก “ ผศ.ดร.อลงกต ฝั้นกา” หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยแร่และศิลาวิทยาประยุกต์ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันแหล่งทรัพยากรลิเทียมในภาคใต้ของไทยคุณภาพสูงคุณภาพสูงเทียบเท่าแหล่งต่างๆ ทั่วโลก

โดยผลงานวิจัยด้านลักษณะเฉพาะและศักยภาพของแหล่งลิเทียมในจังหวัดพังงา ภาคใต้ของไทย พบเป็นแหล่งลิเทียมที่อยู่ในแร่เลพิโดไลต์ (lepidolite) มีลักษณะเป็นแร่แผ่นสีม่วงอมชมพูที่พบในหินเพกมาไทต์ (pegmatite) ซึ่งเป็นหินอัคนีเนื้อผลึกหยาบและสัมพันธ์กับแหล่งแร่ดีบุกของไทยอย่างชัดเจนอีกด้วย โดยพบว่าแหล่งลิเทียมในภาคใต้ของไทยนี้มีความสมบูรณ์ของลิเทียมสูงเฉลี่ยประมาณ 0.4 % ถือเป็นแหล่งลิเทียมที่มีความสมบูรณ์สูงกว่าแหล่งลิเทียมหลายแห่งทั่วโลก

แหล่งลิเทียม” ภาคใต้คุณภาพสูง

โดยผลการวิจัยสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าแหล่งลิเทียมในแร่เลพิโดไลต์ที่พบอยู่ในหินเพกมาไทต์ในภาคใต้ของไทยนี้เกิดจากการตกผลึกของแมกมาที่ความสัมพันธ์กับหินแกรนิตที่กระจายตัวในพื้นที่ภาคใต้และต่อเนื่องมายังพื้นที่อื่นๆ ของไทย ซึ่งผลการวิจัยแหล่งลิเทียมในภาคใต้นี้สามารถเป็นแนวทางสู่การสำรวจแหล่งลิเทียมในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศเพื่อเพิ่มขอบเขตแหล่งศักยภาพลิเทียมได้เป็นอย่างดี

แหล่งลิเทียมภาคใต้คุณภาพสูง

อีกทั้งยังพบว่า แหล่งลิเทียมดังกล่าวเกิดมีความสัมพันธ์กับแหล่งแร่ประเภทอื่นๆ อย่างชัดเจนด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดีบุกและธาตุหายาก ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญในด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่สามารถขยายผลสู่การสำรวจและพัฒนาทรัพยากรเพื่อกระตุ้นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้

“ ผศ.ดร.อลงกต ฝั้นกา” หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยแร่และศิลาวิทยาประยุกต์ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้สามารถอ่านรายละเอียดบทความวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/feart.2023.1221485/full

แน่นอนว่า “แหล่งลิเทียม” ภาคใต้ ที่มีคุณภาพสูงเทียบชั้นแหล่งสำคัญๆของโลก ในอนาคตจะเป็นแหล่งผลิตแบตเตอรี่ EV แห่งใหม่ของไทย รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้ ! 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related