svasdssvasds

สร้างฝายอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ไม่เป็นโทษกับธรรมชาติ

สร้างฝายอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ไม่เป็นโทษกับธรรมชาติ

ก่อนหน้านี้มีดราม่าเกี่ยวกับการสร้างฝายชะลอน้ำที่มีการสร้างกับแบบผิดๆ โดยขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง ซึ่งการสร้างฝายควรเป็นฝายชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในหน้าแล้ง และควรรื้อออกในฤดูน้ำหลาก จะเป็นประโยชน์และไม่ทิ้งภาระให้กับสิ่งแวดล้อม

ปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งการสร้างฝายมีประโยชน์ช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และยังช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า ลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย อีกทั้งยังช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 

สร้างฝายอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ไม่เป็นโทษกับธรรมชาติ โครงการสร้างฝาย เป็นหนึ่งในโครงการเพื่อสังคมที่ครองใจบริษัททั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่สำหรับมุมมองของนักนิเวศ การสร้างฝายโดยเฉพาะฝายที่ขวางลำน้ำตามธรรมชาติ ไม่ต่างจากการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำลายระบบนิเวศ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

การสร้างฝายที่ขวางกั้นลำน้ำจะทำให้น้ำหน้าฝายยกตัวสูงขึ้น กระแสน้ำไหลช้าลง ส่งผลให้คุณภาพน้ำย่ำแย่ พื้นลำธารตื้นเขิน และฝายยังขัดขวางการอพยพตามธรรมชาติของสัตว์ในลำธารอีกด้วย ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศลำธารลดลง

สร้างฝายอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ไม่เป็นโทษกับธรรมชาติ

หากต้องการให้การสร้างฝายเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ มีแนวทางดังนี้  คือ ควรเลือกสร้างฝายชั่วคราวจากวัสดุธรรมชาติเฉพาะในฤดูแล้งเท่านั้น แล้วรื้อฝายออกในฤดูน้ำหลาก ส่วนฝายถาวรเป็นสิ่งที่ไม่ควรสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝายที่ทำจากกระสอบพลาสติก ยางรถยนต์ หรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ เพราะจะทำให้เกิดมลภาวะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งการสร้างฝายควรสร้างในป่าที่มีผู้คนอาศัย ส่วนป่าธรรมชาติที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ ไม่ควรสร้างฝายเพราะจะมีแต่ผลเสียกับระบบนิเวศ

 

ที่มา : FB ป่าสาละ